Friday, November 20, 2009

โปรแกรมที่อยู่ในความดูแลของ BSA

http://www.netgamecr.com/forum/index.php?topic=286.0

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1.http://web.sut.ac.th/ccs/index.php?option=com_content&task=view&id=134
2.http://web.sut.ac.th/ccs/index.phpoption=com_content§ionid=3&id=7&Itemid=25&limit=5&limitstart=15
http://global.bsa.org/thailand/about/Management-Bios.cfm

สมาชิก BSA

http://global.bsa.org/thailand/about/BSA-Members.cfm

หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับลิขสิทธ์ BSA

1.http://global.bsa.org/thailand/about/Management-Bios.cfm
2.http://www.computers.co.th/blog/?p=aduedjhw&paged=11

3.http://www.osdev.co.th/tags/bsa
4.http://songkhlatoday.com/paper/44378
5.http://www.stop.in.th/

URL การใช้งาน Ubuntu

URLอ้างอิงคู่มือการใช้ Ubuntu

คู่มือการใช้งาน Ubuntu สำหรับผู้ใช้มือใหม่
http://www.reo09.go.th/reo09/admin/news/file/6.pdf


Ubuntu คู่มือเดสก์ท็อป
http://gotoknow.org/blog/opensource-freeware/218868

Ubuntu:Hardy th –
http://ubuntuguide.org/wiki/Ubuntu:Hardy_th

การติตั้ง Ubuntu
http://www.ubuntuclub.com/node/1397
http://ubuntuguide.org/wiki/Ubuntu:Karmic

http://www.ubuntuclub.com/node/951

รวบรวมการใช้งาน Ubuntu ตั้งแต่เริ่มต้น
http://www.itpsu47.info/index.php?topic=387.0

รายงานการใช้งาน Ubuntu 9.10 Alpha 2
http://www.pexperiences.com/2009/06/24/karmic-a2-memo-ubuntu-9-10-alpha-2/


การติดตั้ง ubuntu 9.04 ตอนที่3 การใช้งาน ubuntu เบื้องต้น
http://megaubuntu.wordpress.com/2009/05/31/ubuntu-howto-first-use/

คู่มือการใช้งาน ubuntu desktop
http://www.hospital-os.com/th/phpbb/viewtopic.php?f=8&t=1429#p8422

คำสั่ง linux command พื้นฐาน


- Linux command Line หรือคำสั่ง linu
x พื้นฐานๆที่ใช้บ่อย

uname การแสดงรายละเอียดของเครื่อง
pwd แสดงตำแหน่งปัจจุบัน
ls แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเร็คทอรี่ ในรูปแบบต่างๆ
cd คือการ access เข้าไปยังไดเร็คทอรี่
cd .. การถอยออกจากไดเร็คทอรี่ที่อยู่ปัจจุบัน หนึ่งไดเร็คทอรี่
tty การแสดงหน้าจอที่กำลังใช้งานอยู่
whoami แสดงว่าตัวเองเป็น user อะไร
cp การสำเนาไฟล์
mv การย้ายไฟล์
mkdir การสร้างไดเร็คทอรี่
touch การสร้างไฟล์
rm การลบไฟล์
rmdir การลบไดเร็คทอรี่
history การแสดงคำสั่งที่เราได้ใช้ไปแล้ว
man เป็นการขอตัวช่วยหรือเป็นการดูเอกสารของคำสั่งนั้นๆ
reboot การ restart เครื่อง
init 0 การปิดเครื่อง
date การแสดงวัน
cal การแสดงปฏิทิน
finger การแสดงรายชื่อ user ที่กำลังอยู่ในระบบขณะนี้
exit การออกจาก shell ปัจจุบัน
fdisk การจัดการเกี่ยวกับ partition
cat เป็นการดูเนื้อหาของไฟล์ที่ต้องการเช่น cat /etc/passwd
find เป็นการค้นหาไฟล์
grep เป็นคำสั่งในการหาข้อความในบรรทัด
gzip เป็นการลดขนาดไฟล์
gunzip เป็นการยกเลิกการลดขนาดไฟล์
chmod เป็นการกำหนดค่าที่เซตใน Owner-Group-Other
chown เป็นการเปลี่ยนมือเจ้าของ
chgrp เป็นการเปลี่ยนกลุ่ม
mount เป็นคำสั่งที่เมาท์อุปกรณ์ หรือพาร์ติชั่น โดยมีรูปแบบดังนี้ mount options device directory
umount เป็นการยกเลิกการเมาท์
fsck เป็นการตรวจสอบไฟล์ หรือย่อจาก File System Checking
df เป็นคำสั่งที่ดูเนื้อที่ว่างบนระบบไฟล์ที่เมาท์
du เป็นการดูเนื้อที่ว่างบนไดเรคทรอรี่ที่ใช้อยู่
ps แสดงงานที่เปิดอยู่ หรือกระบวนการที่ทำงาน
kill เป็นคำสั่งที่ยกเลิกการทำงานของกระบวนการ
logout เป็นคำสั่งที่ออกจากระบบ ใช้ได้ต่อเมื่ออยู่ใน Shell
free เป็นการแสดงสถานะของเมมโมรี่ และเนื้อที่ว่างบนเมมโมรี่ ทั้งกายภาพ ที่ใช้ ใน swap, และบัฟเฟอร์
mke2fs เป็นคำสั่งฟอร์แมตดิสก์พร้อมใส่ระบบไฟล์ไปด้วย
lpr เป็นการส่งงานพิมพ์จากเครื่องลูกข่าย
top เป็นคำสั่ง Monitor System

ที่มา : 1.http://www.taxze.com/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87-linux-command-%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99.htm
2. http://www.ensthai.com/tip_trick/page/unix_command_p1.php

Thursday, October 29, 2009

ข้อสอบปรนัย 30 ข้อ เรื่อง IPv6


1. ข้อใดเป็นลักษณะเฉพาะของ IP Address ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง

ก. ตัวเลขสามารถซ้ำกันได้ทุกตัว
ข. สามารถใช้เครื่องหมาย “;” คั่นระหว่างเลขแต่ละหลักได้
ค. ตัวเลขทุกตัวจะต้องไม่ซ้ำกัน
ง. แต่ละประเทศมีข้อกำหนดที่ต่างกัน

2. IP Address มีชื่อเต็มว่า
ก. Internet Protocall Address
ข. Internet Protocol Address
ค. Internat Protocall Address
ง. Internets Protocol Address

3. Internet Protocol version ใดที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน
ก. IPv1
ข. IPv2
ค. IPv3
ง. IPv4

4. เหตุใดจึงมีการคิดค้น Internet Protocol version ใหม่ขึ้น
ก. เพราะ IP Address ที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้
ข. เพราะต้องมีการคิดค้นเวอร์ชันใหม่ทุกๆ 3 ปี
ค. เป็นการลงมติเห็นชอบจากเวทีโลก
ง. ไม่มีข้อใดถูก

5. IPv4 และ IPv6 แตกต่างกันอย่างไร
ก. IPv4 มี 128 บิต IPv6 มี 64 บิต
ข. IPv4 มี 128 บิต IPv6 มี 32 บิต
ค. IPv4 มี 32 บิต IPv6 มี 128 บิต
ง. IPv4 มี 32 บิต IPv6 มี 64 บิต

6. ข้อใดผิด
ก. IPv6 ผู้บริหารมีส่วนในการบริหารจัดการงานมากขึ้น
ข. IPv6 ระบบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ค. IPv6 เครือข่ายมีการทำงานแบบ Real Time Processi
ง. IPv6 มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ (Mobile IP)

7. เหตุใดประเทศในแถบอเมริกาเหนือจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ IPv6
ก. เพราะสังคมเป็นแบบประชาธิปไตย
ข. เพราะมี IP Address ที่กำหนดขึ้นใช้เองเฉพาะชาวอเมริกัน
ค. เพราะมีรากฐานเศรษฐกิจที่มั่นคง
ง. เพราะได้รับการจัดสรร IP Address ไปถึง 70% ของ IP Address ที่ใช้ทั่วโลก

8. แนวโน้มการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ IP Address อย่างไร
ก. ทำให้ IP Address มีปริมาณเกินความต้องการ
ข. มีการนำเอา IP Address มาใช้กับเทคโนโลยี ทำให้ต้องการใช้ IP Address มากขึ้น
ค. เทคโนโลยีด้านอื่นจะเข้ามาแทนการใช้ IP Address
ง. การใช้ IP Address ควบคู่กับเทคโนโลยีจะถูกจำกัดในวงแคบ

9. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของการมี IP Address ที่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
ก. สามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในการสื่อสาร
ข. เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้เหมือนคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่ต้องผ่านระบบใดๆ
ค. ทำให้ระบบภายในของอุปกรณ์นั้นๆ เกิดผลเสีย
ง. ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

10. เหตุใดเราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่อง IPv6
ก. เพราะหาก IPv4 ถูกใช้หมดไป IPv6 เป็นสิ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้
ข. เพื่อเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต
ค. เพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจและโอกาสในหลายๆ ด้าน
ง. ถูกต้องทุกข้อ

11.การขอหมายเลข IP Address จะต้องไปจดทะเบียนกับผู้รับจดทะเบียนอินเทอร์เน็ตระดับภูมิภาค หรือเรียกอีกอย่างว่า
ก. PIT
ข. RIR
ค. LPG
ง. PLI

12.ความจำเป็นในการใช้ IPv6 นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการใช้อะไร
ก. mont
ข. IP Address
ค. toryt
ง. fopbfor

13. IPv4 นี้มีที่มาจากเลขฐานสองขนาดกี่บิต
ก. 36 บิต
ข. 32 บิต
ค. 45 บิต
ง. 40 บิต

14.จุดเด่นของ IPv6 ที่พัฒนาเพิ่มขึ้นมากจาก IPv4 คืออะไร
ก.ขยายขนาด Address ขึ้นเป็น 128 บิต สามารถรองรับการใช้งาน IP Address ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้
ข.เพิ่มขีดความสามารถในการเลือกเส้นทางและสนับสนุน Mobile Host
ค.สนับสนุนการทำงานแบบเวลาจริง (real-time service)
ง.ถูกทุกข้อ

15. IP v6 ได้กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็นกี่ประเภท
ก. 1 ประเภท ค. 3 ประเภท
ข. 2 ประเภท ง. 4 ประเภท

16. IPv6 มีขนาดของ address กี่ไบท์
ก. 10 ไบท์
ข. 11 ไบท์
ค. 13 ไบท์
ง. 16 ไบท์

17. การเคลื่อน IPv6 packet จาก segment หนึ่งไปอีก segment หนึ่งมีความง่ายขึ้นด้วยโครงสร้างการค้นหาเส้นทางแบบใด
ก. แบบลำดับชั้น
ข. แบบผสม
ค. แบบต่อเนื่อง
ง. แบบล่าง

18. RIR ที่ได้จัดสรรหมายเลข IPv6 มากที่สุด คือ
ก. RIPL MCC
ข. RIPE NCC
ค. RIPT ACC
ง. RIPG TCC

19. Pv6 สนับสนุนการปรับแต่งระบบแบบแบบใด
ก. แบบอัตโนมัติ
ข. แบบถาวร
ค. แบบชั่วคราว
ง. แบบต่อเนื่อง

20. IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน ใด
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5

21.หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรร IP Address เหล่านี้คือ
ก.หน่ายงานจากต่างประเทศ
ข.หน่วยงานภายในประเทศไทย
ค.องค์การระหว่างประเทศที่ชื่อว่า Network Information Center - NIC
ง.ถูกทุกข้อ

22.เฮดเดอร์ของ IPV 6 เทียบกับของ IPV 4 จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างอะไรบ้าง
ก.ตำแหน่งที่ตัดออก
ข.ตำแหน่งที่ปรับเปลี่ยน
ค.ตำแหน่งที่เพิ่ม
ง.ถูกทุกข้อ

23. RIR ย่อมาจาก
ก.(Regional Internet Registrey)
ข.(Regional Internet Registreey)
ค.(Regional Internet Registessy)
ง.(Regional Internet Registry)

24.เทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก.1
ข.2
ค.3
ง.4

25.ข้อใดคือชื่อ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น IPV4
ก.IP Address
ข.IPV1
ค.IPV2
ง.IPV3

26. การใช้งาน IPv4 และ IPv6 ควบคู่กันหรือที่เรียกว่าอะไร
ก. Fual stack
ข. Bual stack
ค. Eual stack
ง. Dual stack

27.IPV6 ถูกเริ่มใช้ที่ไหนก่อน
ก. ทวีปเอเชียและยุโรป
ข. ทวีปอเมริกาเหนือ
ค. ทวีปอเมริกาใต้
ง. ไม่มีข้อถูก

28. IPV6 จะประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวนเท่าไร
ก. 128 bit
ข.127 bit
ค.126 bit
ง.125bit

29. ใน IPv6 header อนุญาตให้อะไรทำการระบุและดูแลแพ็ตเก็ตที่ไหล
ก.Router
ข.Routerse
ค.Routeredse
ง.Routeree

30. IPv6 เพิ่มอะไร เพื่อที่จะบังคับขนาดของแพ็ตเก็ต IPv6 เท่านั้น
ก. molder
ข. Sracrer
ค. Hear
ง. Headers



เฉลย
1. ค 10. ง 19. ก 28. ก
2. ข 11. ข 20. ค 29. ก
3. ง 12. ข 21. ค 30. ง
4. ก 13. ข 22. ง
5. ค 14. ง 23. ง
6. ก 15. ค 24. ค
7. ง 16. ง 25. ก
8. ข 17. ก 26. ง
9. ค 18. ข 27. ก

IP Header ของ IPv4 และ IPv6


IPv6 Packet Format
- สิ่งที่ควรจะรู้เกี่ยวกับ IPv6 เป็นอย่างแรกก็คือ packet format ของ IPv6 ครับ.. เพราะ packet format ก็คือ data structure ที่บอกว่า IPv6 สามารถทำอะไรได้บ้าง.. IPv6 packet ประกอบด้วย header, extended header, แล้วก็ payload ครับ .. Header ของ IPv6 ออกแบบมาให้มีขนาดคงที่และมีรูปแบบที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดย header จะประกอบด้วย field จำเป็นต้องใช้ในการ process packet ที่ทุกๆ router เท่านั้น พวก options ต่างๆ ที่อาจจะ process เฉพาะที่ต้น/ปลายทาง หรือ ที่ router บางตัวจะแยกออกมาไว้ที่ extended header แทน .. รายละเอียดของ extended header เดี๋ยวว่ากันในหัวข้อ extended header ละกันนะครับ.. ตอนนี้เรามาดูที่ header ของ IPv6 กันก่อน..

- จากรูปของ packet format จะเห็นว่า header ของ IPv6 ดู simple มากเมื่อเทียบกับ header ของ IPv4 เหตุผลก็เป็นไปตามนี้:

> Version ยังคงต้องมีเหมือนเดิม เพื่อใช้บอกว่า packet นี้เป็น IP version ไหน.. กรณีของ IPv6 ค่าของ version ก็จะเป็น 6
> Header length ถูกตัดออกไป เพราะขนาดของมันจะเป็น 40 octets เสมอ การกำหนดให้เป็น fixed length header ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของการประมวลผล packet ดีขึ้น
> Type of Service ของ IPv4 ถูกแทนที่ด้วย Traffic Class ซึ่งใช้ระบุว่า packet นี้อยู่ใน class ไหนและมีระดับความสำคัญเท่าไหร่ เพื่อที่ router จะได้จัด schedule ในการส่ง packet ให้เหมาะสม
> Flow label ใช้ระบุ end-to-end traffic flow ระหว่างต้นทางกับปลายทาง ใน application นึงสามารถสร้าง flow ได้หลายๆ อัน อย่างเช่น video conference เราสามารถแยก flow ของภาพและเสียงออกจากกันได้ แม้ว่าจะเปิด socket ในการทำงานเพียง socket เดียว
> Total Length แทนที่ด้วย Payload length เพื่อระบุขนาดของ payload ในหน่วย octet (byte) ดังนั้นขนาดของ payload สูงสุดจะเป็น 65535 octets
> Identification, Flag, Segmentation, Protocol, Options, และ Padding ถูกย้ายไปอยู่ในส่วนของ extended header เพราะถือว่าเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นต้อง process ในทุก router
> Hop Limit ถูกใช้แทน Time-To-Live ของ IPv4 ... ตาม IPv4 specification TTL จะเก็บเป็นเวลาจริงๆ หน่วยเป็นวินาที โดยระบุว่าแต่ละ router ต้องลด TTL ลงอย่างน้อย 1 วินาที แม้ว่าจะใช้เวลาประมวลผล packet น้อยกว่านั้น.. ในความเป็นจริงการประมวลผล packet เร็วมากครับ เพียงแค่ไม่กี่ usec เท่านั้น.. router ใหม่ๆ อาจจะทำได้น้อยกว่า 1 usec เสียอีก..router จึงลด TTL ครั้งละ 1 เสมอ .. TTL ก็เลยกลายเป็น hop count แทนที่จะเป็นเวลาจริงๆ ซึ่งก็เหมาะสมและง่ายต่อการประมวลผล... ใน IPv6 จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า Hop limit เพื่อให้ตรงกับความหมายจริงๆ ของมัน
> Next Header ซึ่งใช้เป็นตัวบอกว่า extended header ตัวถัดไปเป็น header ประเภทไหน
> Header Checksum ถูกตัดออกเพราะว่ามันซ้ำซ้อนกับ function ของ protocol บน layer ที่อยู่สูงกว่า IP อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผล packet ด้วย เพราะ checksum ต้องคำนวณใหม่ที่ router เสมอ หากตัดออกก็จะลดภาระงานที่ router ได้ ..


Extended Headers

- มาถึง extended header กันบ้าง .. จากเหตุผลข้างบนที่ย้ายหลายๆ field มาเป็น extended header ทำให้ IPv6 มี extended header หลายๆ แบบเลยครับ แต่ละแบบก็เอาไว้ใช้ทำงานเฉพาะอย่างเพียงงานเดียว ..ใน 1 packet เราสามารถใช้ extended header ได้มากกว่า 1 อัน ดังนั้น เราจึงขอ service จาก IPv6 ได้มากกว่า 1 อย่าง .. IPv6 specification ล่าสุดกำหนดให้มี extended header อยู่ 6 แบบ ทุกแบบจะขึ้นต้นด้วย field "Next Header" เสมอ เพื่อระบุว่า extended header อันถัดเป็นชนิดไหน..

> Hop-by-Hop Options: เป็น option ที่ระบุให้ทุก router ที่อยู่ในเส้นทางระหว่างต้น/ปลายทางจะต้องทำตาม ตอนนี้ใน IPv6 specification มี option อยู่เพียงสองอัน คือ Jumbogram options สำหรับให้ IPv6 packet มีขนาดใหญ่กว่า 65535 octets ได้ ขนาดของ jumbogram สูงสุดคือ 2^32 octets (4,294,967,295 octets) เชียวล่ะครับ..อีก option นึงเอาไว้ทำ padding
> Routing: ใช้สำหรับทำ source routing ครับ.. คือต้นทางสามารถระบุเส้นทางที่ packet ต้องผ่านได้ โดย list เป็น router ที่ต้องส่ง packet ผ่านไปจนถึงปลายทาง.. Source routing ของ IPv6 สามารถระบุแต่ละ router ใน list ได้เลยว่าเป็น strict source routing หรือ loose source routing (หมายความว่าเราระบุ ทั้ง strict และ loose source routing ผสมกันได้) ซึ่งยืดหยุ่นมากกว่า source routing ของ IPv4 ที่จะบังคับว่า router ใน list ต้องเป็น strict หรือไม่ก็เป็น loose source routing ทั้งหมด
> Fragment: ใช้สำหรับทำ fragmentation เหมือนของ IPv4 แต่ที่ต่างกันก็คือ IPv6 จะมี function สำหรับหา path MTU ไว้อยู่แล้วเพื่อจะได้รู้ว่าขนาด Maximum Transfer Unit ที่เหมาะสมของ path นั้นๆ มีค่าเป็นเท่าไหร่ ดังนั้นการทำ fragmentation จึงทำที่ source node เท่านั้น (IPv4 จะทำ fragmentation ทั้งที่ source node และ router)
> Destination Options: ใช้งานคล้ายๆ กับ Hop-by-Hop option ครับ แต่จะเป็น option สำหรับปลายทางเท่านั้น.. ตอนนี้มีเพียง option เดียว คือเอาไว้ทำ padding
> Authentication: อันนี้ชื่อก็บอกอยู่แล้ว..ใช้สำหรับทำ authentication รายละเอียดจะอยู่ในเรื่อง IP Security (IPSEC) เอาไว้ว่างๆ จะเขียนมาให้อ่านครับ ถ้าเอามารวมกับ IPv6 เดี๋ยวจะยาวเกินไป
> Encapsulated Security Payload: ใช้สำหรับทำ encryption และ cryptography อื่นๆ รายละเอียดก็จะอยู่ใน IP Security เหมือนกัน..

- Extended header มีอย่างมากไม่เกินแบบละ 1 อัน ยกเว้น destination option header ซึ่งอาจจะมีได้ 2 อัน..อืมม..ทีนี้พอมี extended header หลายๆ แบบอย่างนี้ก็ต้องมีลำดับการเรียง extended header ให้ถูกต้องด้วย...ถ้าใส่กันเต็มๆ ก็จะเรียงลำดับตามนี้:

1. IPv6 header
2. Hop-by-Hop Options header
3. Destination Options header
4. Routing header
5. Fragment header
6. Authentication header
7. Encapsulating Security Payload header
8. Destination Options header
9. Upper-layer header (e.g., TCP, UDP)

- IPv6 header ได้ถูกออกแบบให้มีขนาด Header ลดน้อยลง โดยทำการย้ายฟิลด์ที่ไม่จำเป็น หรือที่เพิ่มออก โดยวางไว้หลัง IPv6 header และใช้การแจ้งเป็น Streamline header ซึ่งมีประสิทธิภาพในการดำเนินการติดต่อกับ Router ทันทีทันใด
- IPv4 header กับ IPv6 header ไม่สามารถใช้ง่ายร่วมกันได้ ซึ่งในการวางระบบทั้ง Ipv4 และ IPv6 ต้องทำทั้งคู่เพื่อให้รู้จักรูปแบบของ Header ซึ่ง Header ของ IPv6 ใหญ่กว่าของ IPv4 สองเท่า และตำแหน่งที่อยู่ใหญ่กว่าถึง 4 เท่า

รูปที่ 1 IP Header

- เฮดเดอร์ของ IP โดยปกติจะมีขนาด 20 bytes ยกเว้นในกรณีที่มีการเพิ่ม option บางอย่าง ฟิลด์ของเฮดเดอร์ IP จะมีความหมายดังนี้
Version : หมายเลขเวอร์ชันของโปรโตคอล ที่ใช้งานในปัจจุบันคือ เวอร์ชัน 4 (IPv4) และเวอร์ชัน 6 (IPv6)
Header Length : ความยาวของเฮดเดอร์ โดยทั่วไปถ้าไม่มีส่วน option จะมีค่าเป็น 5 (5*32 bit)
Type of Service (TOS) : ใช้เป็นข้อมูลสำหรับเราเตอร์ในการตัดสินใจเลือกการเราต์ข้อมูลในแต่ละดาต้าแกรม แต่ในปัจจุบันไม่ได้มีการนำไปใช้งานแล้ว
Length : ความยาวทั้งหมดเป็นจำนวนไบต์ของดาต้าแกรม ซึ่งด้วยขนาด 16 บิตของฟิลด์ จะหมายถึงความยาวสูงสุดของดาต้าแกรม คือ 65535 byte (64k) แต่ในการส่งข้อมูลจริง ข้อมูลจะถูกแยกเป็นส่วนๆตามขนาดของ MTU ที่กำหนดในลิงค์เลเยอร์ และนำมารวมกันอีกครั้งเมื่อส่งถึงปลายทาง แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะมีขนาดของดาต้าแกรมไม่เกิน 512 byte
Identification : เป็นหมายเลขของดาต้าแกรมในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรมเมื่อข้อมูลส่งถึงปลายทางจะนำข้อมูลที่มี identification เดียวกันมารวมกัน
Flag : ใช้ในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรม
Fragment offset : ใช้ในการกำหนดตำแหน่งข้อมูลในดาต้าแกรมที่มีการแยกส่วน เพื่อให้สามารถนำกลับมาเรียงต่อกันได้อย่างถูกต้อง
Time to live (TTL) : กำหนดจำนวนครั้งที่มากที่สุดที่ดาต้าแกรมจะถูกส่งระหว่าง hop (การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเน็ตเวิร์ค) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งข้อมูลโดยไม่สิ้นสุด โดยเมื่อข้อมูลถูกส่งไป 1 hop จะทำการลดค่า TTL ลง 1 เมื่อค่าของ TTL เป็น 0 และข้อมูลยังไม่ถึงปลายทาง ข้อมูลนั้นจะถูกยกเลิก และเราเตอร์สุดท้ายจะส่งข้อมูล ICMP แจ้งกลับมายังต้นทางว่าเกิด time out ในระหว่างการส่งข้อมูล
Protocol : ระบุโปรโตคอลที่ส่งในดาต้าแกรม เช่น TCP ,UDP หรือ ICMP
Header checksum : ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเฮดเดอร์
Source IP address : หมายเลข IP ของผู้ส่งข้อมูล
Destination IP address : หมายเลข IP ของผู้รับข้อมูล
Data : ข้อมูลจากโปรโตคอลระดับบน


การใช้งานระหว่าง IPv4 และ IPv6
- การปรับเปลี่ยนเครือข่ายจาก IPv4 ไปสู่ IPv6 สามารถทำได้ 3 แนวทางคือ การทำ Dual Stacks , การใช้ Tunneling และการทำ Header Translation

1. การใช้สแต็กคู่ ( Dual Stacks ) คือ การทำให้โฮสต์สามารถใช้งานได้กับ IP address ทั้ง 2 version โดยจะพิจารณาว่าจะส่งข้อมูลไปโดยใช้ IP address version ไหนจากการส่ง packet ไปสอบถาม DNS ก่อนแล้ว จึงส่งข้อมูลตาม version ที่ DNS ตอบกลับมา ถ้า DNS ส่ง packet กลับมาเป็น IPv6 แสดงว่าโฮสต์ต้นทางจะต้องส่ง Packet เป็น IPv6 ข้อมูลจะสามารถส่งถึงโฮสต์ปลายทางได้

2.การใช้อุโมงค์เครือข่าย ( Tunneling) คือ วิธีการที่โฮสต์ต้นทางและโฮสต์ปลายทางใช้ IPv6 ทั้งคู่ แต่การสื่อสารระหว่าง 2 โฮสต์นี้ต้องกระทำผ่าน เครือข่าย IPv4 ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการ encapsulate IPv6 ให้เป็น IPv4 จึงจะสามารถส่งผ่านข้อมูลผ่านเครือข่าย IPv4 ได้ หลังจากนั้นโฮสต์ปลายทางจึงจะทำการดีแคปซูเลต IPv4 ให้เป็น IPv6 ตามเดิม


3.การแปลงเฮดเดอร์ (Header Translation) คือ วิธีการนี้ใช้เมื่ออินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนเป็น IPv6 แล้วแต่ยังมีบางเครือข่ายที่ยังเป็น IPv4 อยู่จึงจำเป็นที่จะต้องทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ Header ทั้งหมด โดยใช้ตัวแปลงเฮดเดอร์ ซึ่งแปลงเฮดเดอร์ IPv6 ให้เป็น IPv4



รูป : แสดงการใช้งาน Header Translation เมื่อเครือข่ายส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็น IPv6 แล้ว


รูป : แสดงขั้นตอนการทำงานของ Header Translation

• เทคนิคการทำ Translation เป็นวิธีที่ใช้กับการสื่อสารข้ามเครือข่าย เช่น โหนดจากเครือข่าย IPv4 ต้องการคุยกับเซิร์ฟเวอร์ ในเครือข่าย IPv6 หรือ โหนดที่เป็น IPv6 ต้องการคุยกับเซิร์ฟเวอร์ ที่เป็น IPv4
• หรือการทำ Translation คือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปมาระหว่างข้อมูลในรูปแบบของ IPv4 และ IPv6
• เป็นกรณีที่ต่างไปจากการใช้งาน Dual stacks และ Tunnel
• การแปลงข้อมูลนี้สามารถทำได้หลายระดับ เช่น Network layer, Transport layer, หรือ Application layer
• ไม่ว่าจะทำการแปลงข้อมูลที่ระดับไหน องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นคือส่วนที่ทำหน้าที่แปลงหมายเลข IP address หรือ Address translation ซึ่งการแปลงหมายเลขสามารถทำได้โดยการจัดเก็บคู่หมายเลข IPv4 และ IPv6 address ทุกคู่ในเครือข่าย เราเรียกวิธีนี้ว่า Stateful address translation หรือจะทำการแปลงแบบอัตโนมัติ ที่เรียกว่า Stateless address translator ก็ได้


จุดเด่นของ IPv6 ที่เหนือกว่า IPv4
1. รูปแบบ Header ใหม่ IPv6 header ได้ถูกออกแบบให้มีขนาด Header ลดน้อยลง โดยทำการย้ายฟิลด์ที่ไม่จำเป็น หรือที่เพิ่มออก โดยวางไว้หลัง IPv6 Header และใช้การแจ้ง เป็น Streamline Header ซึ่งมีประสิทธิภาพในการดำเนินการติดต่อกับ Router ทันทีทันใด IPv4 Header กับ IPv6 Header ไม่สามารถใช้ง่ายร่วมกันได้ ซึ่งในการวางระบบทั้ง IPv4 และ IPv6 ต้องทำทั้งคู่เพื่อให้รู้จักรูปแบบของ Header ซึ่ง Header ของ IPv6 ใหญ่กว่าของ IPv4 สองเท่า และตำแหน่งที่อยู่ใหญ่กว่าถึง 4 เท่า
2. มีขนาด Address มากขึ้น IPv6 มีการกำหนดตำแหน่งที่อยู่ผู้ติดต่อ และผู้รับการ ติดต่อเป็น 128 บิต ซึ่งมีจำนวนที่อยู่ถึง 3.4x1038 ทำให้มีการออกแบบเป็นหลายลำดับชั้น และ จองที่อยู่สำหรับ Internet Backbone เพื่อแยกจากเครือข่ายในองค์กรซึ่งเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ ใช้สำหรับตำแหน่งโฮสต์ และมีที่อยู่จำนวนมาที่ใช้ในอนาคต ทำให้อ้างจะไม่จำเป็นที่ต้องใช้ NATs ในเครือข่ายอนาคตก็ได้
3. มีการกำหนดที่อยู่เป็นลำดับชั้น และกำหนดโครงสร้างการหาเส้นทางได้IPv6 Global Addresses ใช้บน IPv6 สามารถที่สร้างและกำหนดลำดับชั้นได้อย่างมีประสิทธิสำหรับการหา เส้นทาง และสิ่งที่เกิดขึ้นหลายลำดับในผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต บน IPv6 Internet, Backbone Routers ทำให้ขนาดข้อมูลใน Routing Table เล็กลง
4. ไม่จำเป็นที่ต้องแจ้งที่อยู่ก่อน หรือกำหนดที่อยู่ไว้ก่อนได้เป็นการกำหนดค่าโฮสต์ ซึ่ง IPv6 รองรับทั้งกำหนดค่าที่แจ้งไว้ก่อน เช่นการใช้ DHCP Server และการกำหนดค่าที่อยู่โดย ไม่แจ้งไว้ก่อนได้ (Stateless) ในกรณีที่ไม่มี DHCP Server อยู่ เครื่องโฮสต์บนลิงค์นี้จะ กำหนดค่าอัตโนมัติในตัวเองด้วย IPv6 addresses สำหรับลิงค์ (Link-Local Addresses) และ การกำหนดค่าที่อยู่โดยนำมาจากค่าประกาศด้านหน้าของ Routers แม้ว่าไม่มี Router โฮสต์ก็ สามารถที่ลิงค์ได้โดยกำหนดค่าที่อยู่ในลิงค์ท้องถิ่นเอง ด้วย Link-Local Addresses และการ สื่อสารโดยไม่ต้องกำหนดค่าที่อยู่ด้วยมือ
5. ฝังความปลอดภัยไว้ภายในรองรับ IPSec บนลำดับชั้นของ IPv6 ซึ่งรองรับเป็นทาง แก้ปัญหามาตรฐาน ซึ่งทำให้การสื่อสารระหว่างเครื่องมีความปลอดภัย
6. รองรับบริการ Quality of Service (QoS) มีฟิลด์ใหม่ใน IPv6 Header ที่กำหนด สำหรับรองรับการระบุ ซึ่งระบุการจราจร โดยใช้ฟิลด์ Flow Label ใน IPv6 Header อนุญาตให้ Router ทำการระบุและดูแลแพ็ตเก็ตที่ไหล การไหลที่เป็นชุดของแพ็ตเก็ตระหว่างต้นทาง ไปยัง ปลายทาง โดยรองรับ QoS ทำให้ง่ายต่อการติดต่อให้บรรลุเป้าหมายเมื่อมี Packet Payload ถูกเข้ารหัสด้วย IPSec
7. มีการติดตั้งกับเครื่องข้างเคียง Neighbor Discovery Protocol สำหรับ IPv6 เป็นชุด Internet Control Message Protocol สำหรับ IPv6 (ICMPv6) ซึ่งจัดการโหนดเพื่อนบ้าน

* IPv6 ใช้ 128 bits ในการระบุหมายเลข IP ในขณะที่ IPv4 มีพื้นที่ให้ระบุเพียง 32 Bits ทำให้ IPv6 สามารถรองรับจำนวนหมายเลข IP ได้มากกว่า
* IPv6 มีการกำหนดขนาดของส่วน Header เอาไว้ตายตัว ทำให้ความเร็วในการประมวลผลและการส่องต่อมีประสิทธิภาพขึ้น
* IPv6 มีการออกแบบ Header มาเพื่อช่วยให้การค้นหาเส้นทางมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
* IPv6 ตัดส่วนที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลออกไป เพราะหน้าที่สามารถให้ layer ข้างบนทำได้ เป็นการลดภาระงานของ Router ด้วย
* IPv6 สามารถรองรับต่อขนาดของข้อความ (payload) ได้ถึง 4 GiB. ซึ่ง IPv4 รองรับได้แค่ 64 KiB
* ส่วน OS ที่รองรับ ก็มี Linux , Windows XP/ Vista, Mac OS X

ที่มา : 1. http://www.thaicert.nectec.or.th/paper/basic/tcp-ip.php
2. http://74.125.153.132/search?q=cache:aS_ouR6ZgfQJ:ccsmail.sut.ac.th/e-ru/teacher/file/file172.doc+ip+header+%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+IPV4&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th&lr=lang_th
3. http://eng.sut.ac.th/tce/Photos/couseonline/Gr14.pdf
4. http://kitty.in.th/index.php?room=article&id=83
5. http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=11256713b4c94964
6. http://kom.homelinux.org/node/288
7. http://www.specialist.co.th/se/web/news_detail.php?id=70

Tuesday, August 4, 2009

โปรโตคอลเลือกเส้นทาง (Routing Protocol)

- หัวใจสำคัญในการทำงานของ Router ได้แก่ การเลือกเส้นทาง และวิธีการเลือกเส้นทาง ก็อาศัยการคำนวณโดยใช้ค่าที่ได้มาจากการสำรวจ รวมทั้งตัวแปรมาตรฐานที่มีอยู่ นำมาใช้เพื่อการคำนวณ เส้นทาง ที่ดีที่สุดที่จะนำพา Packet ไปที่ปลายทาง สำหรับ Router ที่เชื่อมต่อกันแบบ Point To Point หรือแบบที่มีเพียงเส้นทางเดียวในการเชื่อมต่อระหว่างกัน ไม่ต้องใช้ โปรโตคอลเลือกเส้นทาง เพราะจะทำให้เกิด Delay และปัญหาความล่าช้าอื่นๆมากมาย ควรใช้การวิธีการที่เรียกว่า Static Route จะดีกว่า โดยกำหนดเส้นทางในการนำส่ง Packet ที่ตายตัวให้กับ Router ซึ่งจะได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็ว ปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล และอื่นๆ
ความตั้งใจของผู้เขียนในฉบับนี้ จะขอกล่าวถึง การติดตั้ง Router ให้ทำงานบนโปรโตคอลเลือกเส้นทางเท่านั้น ดังนั้นต่อนี้ไปจะได้กล่าวถึง โปรโตคอลเลือกเส้นทางต่างๆ

โปรโตคอลเลือกเส้นทางคืออะไร ?
- เมื่อหัวใจหลักของ Router คือการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด ดังนั้นผู้ที่มอบประสิทธิภาพนี้ให้แก่ Router ก็คือ โปรโตคอลเลือกเส้นทาง อันเป็นวิถีทางในการคำนวณและจัดหาเส้นทาง ที่ดีที่สุด ที่เร็วที่สุด ไปสู่ปลายทางในรูปแบบของ Software ที่ฝังตัวอยู่ใน Router สำหรับ Router จาก Cisco ตัวโปรโตคอลนี้มาจากระบบปฏิบัติการ I/O ของ Cisco หรือ IOS ภายใต้ IOS Version ต่างๆ Router จะมีความสามารถในการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางที่แตกต่างกันออกไป โดยโปรโตคอลเลือกเส้นทาง จะสั่งการให้ Router ทำกิจกรรมเบื้องต้น ในทันทีที่ Router เริ่มทำงาน และโปรโตคอลเลือกเส้นทางได้รับการจัดตั้งขึ้นเรียบร้อย กิจกรรมเบื้องต้นในที่นี้ได้แก่ การส่งข้อมูลข่าวสารชิ้นเล็กๆ ออกไปที่ Router เพื่อนบ้าน ในลักษณะ ทักทายกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลมา อย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่
- ความมีตัวตนในขณะนั้นของ Router เพื่อนบ้าน โดยจะได้รับการตอบรับหาก มีตัวตน
- ระยะทางความห่าง ในรูปแบบของ Delay หรือ จำนวนครั้งที่จะโดดข้าม
- Port ที่สามารถเข้าถึง Router เพื่อนบ้าน เป็นพอร์ตใดบ้าง

หลังจากที่ได้ข้อมูลมาแล้ว Router จะทำการ ปรับแต่ง หรือจัดสร้างตารางเลือกเส้นทางหรือ Routing Table ขึ้น จากนั้น จะนำข้อมูลนี้ ส่งออกไปให้ Router เพื่อนบ้าน เพื่อให้ Router เพื่อนบ้านนี้ นำไปปรับปรุงตารางเส้นทางของตนเองต่อไป กิจกรรมแบบนี้ จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นห้วงเวลาที่แน่นอน ซึ่ง Router ที่เชื่อมต่อกันโดยตรง จะใช้กิจกรรมในลักษณะนี้ ต่อกัน ตามการชี้นำของโปรโตคอลเลือกเส้นทาง
อย่างไรก็ดี โปรโตคอลเลือกเส้นทาง สามารถแบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class) ใหญ่ ได้ 2 แบบ ดังนี้

- ระดับขั้น Interior Domain หรือ Intra-Domain Routing Protocol
- ระดับขั้น Exterior หรือ Inter Domain Gateway Routing Protocol

Interior Domain Routing Protocol
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- Distance Vector ซึ่งเป็น Routing Protocol ที่อาศัยหลักเกณฑ์ในเรื่องระยะทางเป็นตัวกำหนด
- Link State ซึ่งอาศัยสถานะ การเชื่อมต่อเป็นตัวกำหนด

Distance Vector Routing Protocol
- เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่อาศัย ระยะทางเป็นตัวกำหนด โดยระยะทางในที่นี้ หมายถึง ปัจจัย ดังต่อนี้
- จำนวนของ Hop : Router จะเลือกเส้นทางที่ใช้เพื่อการเดินทางไปสู่ที่สั้นที่สุด โดยมีจำนวนครั้งการก้าวกระโดด น้อยที่สุด เช่น หากท่านเป็น Router ท่านคงไม่เลือกเส้นทางที่จะไปสู่ปลายทาง ที่ห่างออกไป 5 ป้ายรถเมล์ ขณะที่ท่านสามารถเลือกเส้นทางที่ห่างออกไปเพียง 2 ป้ายรถเมล์ (ความแตกต่างในเชิงเปรียบเทียบป้ายรถเมล์ในที่นี้ หมายถึง หากมีป้ายรถเมล์มาก จำนวนครั้งของการจอดก็ยิ่งมาก และแน่นอน ค่า Delay ก็ต้องเพิ่มมากขึ้น เช่นกัน)
- ค่า Bandwidth : Router จะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด โดยถือว่า เส้นทางใดที่มีค่า Bandwidth ซึ่งในที่นี้ คือความเร็วของช่องสัญญาณ เช่น Router จะเลือกเส้นทาง ที่มี Bandwidth 128K มากกว่าที่จะเลือกเส้นทางขนาด 64K อย่างแน่นอน
- ค่า Delay : Router จะทราบว่า ค่า Delay ของเส้นทางแต่ละเส้น ที่เชื่อมต่อกันมีมากน้อยสักเพียงใด โดยอาศัย การส่งข่าวสารไปทักทายกัน แล้วรอคอยคำตอบ ระยะเวลาของการรอคอย ก็คือค่า Delay ที่เกิดขึ้น ที่ Router รับรู้ แล้วนำค่านี้มาทำการคำนวณ ต่อไป
- ค่า Load : ค่า Load ในที่นี้หมายถึง น้ำหนักของกระแสข้อมูลข่าวสารที่ไหลอยู่บนเส้นนี้ ในแต่ละวินาทีที่ผ่านไป หากเปรียบเทียบกับความเป็นจริงในปัจจุบันแล้ว ท่านคงไม่เลือกขับรถไปในเส้นทางที่มีการจราจร ติดขัด หรือจอแจอย่างแน่นอน ถึงแม้จะอยู่ใกล้กว่าก็ตาม
- ค่าความน่าเชื่อถือ (Reliability) ค่าความน่าเชื่อถือนี้ หมายถึงค่าที่แสดง จำนวนครั้งที่เอาแน่นอนไม่ได้กับเส้นทาง โดยเฉพาะเส้นทางที่มีประวัติล่มบ่อยๆ
- ค่า MTU : เป็นค่าที่แสดงขนาดของ Packet ที่ใช้เดินทางบนเส้นทางนั้น ค่าสูงสุดคือไม่เกิน 1500 ไบต์ หากเปรียบเทียบกับชีวิตจริง ก็เปรียบได้กับ เส้นทางที่ถูกกำหนดว่า สามารถบรรทุกของได้หนักประมาณกี่ตัน แน่นอน หากท่านเป็นผู้ขนส่งสินค้า ท่านคงไม่เลือกขับบนเส้นทางที่กำหนดให้สามารถบรรทุกน้ำหนักที่ต่ำ

- ที่กล่าวมานี้ เป็นส่วนหนึ่งที่โปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบต่างๆ สั่งให้ Router ทำ โดยโปรโตคอลเลือกเส้นทางบางตัวอาจใช้ จำนวนของ Hop เป็นหลักเกณฑ์ ขณะที่บางตัวอาศัย Bandwidth หรือค่า Delay และ Load อย่างใดอย่างหนึ่ง ขณะที่โปรโตคอลเลือกเส้นทางบางตัวอาจใช้ ทั้ง Bandwidth และค่า Delay แบบผสมผสานกัน ในการคำนวณ ทำให้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น ทำงานเร็วและแม่นยำขึ้น

- ข้อเสียของ Distance Vector ได้แก่ การที่ Router จะต้องมีการส่งข่าวสารเพื่อหยั่งดู ความมีตัวตนของ Router เพื่อนบ้าน รวมทั้งการปรับปรุงตารางเส้นทางของตนเอง และให้แก่เพื่อนบ้าน อย่างสม่ำเสมอตรงเวลานี่เอง ที่ทำให้ Router ที่ใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางต้องทำงานหนักกว่า Router ที่ถูกกำหนดให้ทำงานแบบ Static Route อีกทั้งยังทำให้ Bandwidth ส่วนหนึ่งของช่องสัญญาณถูกเจียดออกไปใช้งานที่ไม่ใช่เพื่อการส่งข้อมูลจริง

- ตัวอย่างของ โปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Distance Vector ได้แก่ RIP Version 1 และ 2 IGRP และ EIGRP ของ Cisco เป็นต้น


โปรโตคอลแบบ Link State
- โปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Link State อาศัยสถานะ การเชื่อมต่อระหว่าง Router เป็นหลักเกณฑ์ ในการตัดสินใจเลือกเส้นทาง โดย จะมีการส่งข่าวสารในลักษณะทักทายกันออกไป เพื่อตรวจสอบหรือหยั่งดูความมีตัวตนของ Router เพื่อนบ้าน เมื่อใดที่ไม่ปรากฏการตอบรับของ Router เพื่อนบ้าน มันจะรีบปรับปรุงตารางเลือกเส้นทางของตนเอง จากนั้นจะรีบประกาศให้ Router ทุกตัวบนเครือข่าย หรือกลุ่มของ Router ตัวแทนที่เชื่อมต่อระหว่างกันทราบ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย Router ทุกตัวจะได้รับข่าวสาร ที่ทันเหตุการณ์
- โปรโตคอลแบบ Link State มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่า Distance Vector ตรงที่ การปรับปรุง ตารางเส้นทางของ Router แต่ละตัวจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เท่านั้น และหากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริง การปรับปรุงตารางเส้นทางก็เป็นเพียงบางส่วนที่เปลี่ยนแปลงจริงเท่านั้น เปรียบเทียบกับ Distance Vector ที่มีการปรับปรุงเป็นห้วงเวลาที่แน่นอน อีกทั้งการปรับปรุงที่เกิดขึ้น เป็นการปรับปรุงใหม่หมดทั้งตาราง ในลักษณะทำสำเนาทับทั้งตาราง ซึ่งทำให้ การปรับปรุงแต่ละครั้ง มีการใช้ Bandwidth ของเส้นทางค่อนข้างมาก


Inter-Domain Gateway Routing Protocol
- เป็น โปรโตคอลเลือกเส้นทาง ที่นำมาใช้เพื่อเชื่อมกลุ่มของ Router จำนวนมากหลายๆกลุ่มเข้าด้วยกัน โดยมี Router อยู่ หนึ่งตัว หรือ มากกว่านั้น ที่เป็นตัวแทนของ Router ทั้งกลุ่ม เพื่อเชื่อมต่อกับ Router อีกกลุ่มหรือหลายๆกลุ่มเข้าด้วยกัน โดย Router ตัวแทนจะใช้ โปรโตคอลเลือกเส้นทาง ที่มีวิธีการเลือกเส้นทางที่แตกต่างออกไปจากที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด ตัวอย่างของ โปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบนี้ ได้แก่ BGP ซึ่งบรรดา ISP ทั้งหลาย ต่างก็นำมาใช้เพื่อเชื่อมเครือข่ายเข้ากับ อินเตอรเนต หรือระหว่างกัน รายละเอียดการทำงานของ BGP จะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป

รู้จักกับ Routing Information Protocol (RIP)
- Routing Information Protocol หรือ RIP เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Distance Vector ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายขนาด เล็กไปจนถึงขนาดกลาง เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางมาตรฐานที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรายใด โดยมี RIP Version 1 ที่ได้รับมาตรฐาน RFC 1058
RIP เป็นโปรโตคอลที่เรียบง่าย อีกทั้งยังง่ายต่อการจัดตั้ง แต่ความเรียบง่ายของมัน กลับซ่อนปัญหาที่น่ากลัวไว้อยู่เบื้องหลัง


คุณลักษณะการทำงานของ RIP
- คุณลักษณะของ RIP มีดังต่อไปนี้
> RIP อาศัย ค่าของจำนวน Hop เป็นหลัก เพื่อการเลือกเส้นทาง โดยจำกัดที่ไม่เกิน 15 Hop
> RIP จะส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทางออกไปทุก 30 วินาที
> การส่งข้อมูลเกี่ยวกับการปรับปรุงตารางเส้นทาง เป็นการส่งออกไปทั้งหมดของตารางทั้งที่เป็นของเก่าและของใหม่
> การส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทาง จะเกิดขึ้นกับ Router ที่เชื่อมต่อกันโดยตรงเท่านั้น

การทำงานขั้นพื้นฐานของ RIP Version 1
- การทำงานขั้นพื้นฐานของ RIP ค่อนข้างเรียบง่าย ภายใต้กฎกติกา ดังนี้
> เมื่อใดที่ มีการ Boot Router ขึ้น เส้นทางที่ Router จะต้องให้ความสนใจเป็นลำดับแรกได้แก่ เส้นทางที่เชื่อมต่อกับ เครือข่ายปลายทางโดยตรง
> ภายใต้ RIP Version 1 ตัว Router จะทำการ แพร่กระจายข่าวสารเกี่ยวกับเครือข่ายที่มันรู้จักไปทั่วเครือข่ายทุกเครือข่าย ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง
> Router ที่ทำงานภายใต้ RIP จะรับฟังการแพร่ข่าวสารนี้ โดยข่าวสารที่ใช้แพร่กระจายไปทั่ว (Broadcast) นี้ เป็นข่าวสารเพื่อการปรับปรุงเส้นทาง รวมทั้งการแสดงตัวตนของ Router
> การรับฟังการแพร่ข่าวสารไปทั่วของ Router เพื่อนบ้าน จะทำให้ Router ที่กำลังรับฟังอยู่ สามารถล่วงรู้เส้นทาง ไปสู่เครือข่าย อื่นๆ ที่ตนเองไม่รู้มาก่อน
> RIP ใช้ค่า Metric ประเภท Hop โดยอาศัยค่าที่แสดงจำนวน Hop เป็นหลักเกณฑ์ เพื่อเลือกเส้นทาง โดยมีค่าของ Hop จำกัดอยู่ที่ 15 หมายความว่า จำนวนของ Hop ที่ Router นับได้ต้องไม่เกิน 15 (15 Router ตลอดเส้นทางที่จะเดินทางผ่าน) ส่วน Hop ที่ 16 จะไม่สามารถเดินทางไปถึง
> หาก Router ตัวหนึ่ง เช่น Router A มีการส่งข้อมูลเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทาง ไปที่ Router B และ Router B จะสมมติว่า Hop ต่อไปของ ของเครือข่าย ที่ Router จะปรับปรุง ได้แก่ Router A พูดง่ายๆก็คือ Router ที่เชื่อมต่อระหว่างกัน จะถือว่า ต่างก็เป็น Hop หนึ่งในตารางเส้นทางของตนเอง
> การส่งข้อมูลเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทางระหว่าง Router จะกระทำเป็นห้วงเวลาที่แน่นอน



รูปที่ 12 แสดงการใช้ค่า Metric ของ RIP


รูปที่ 13 แสดงการนับจำนวน Hop ของ RIP


- จากรูปที่ 12 จะเห็นว่า Router C เชื่อมต่อโดยตรงกับ Network C เมื่อใดที่ Router C ประกาศเส้นทางไปที่ Router B ค่า Metric ของมันจะเพิ่มขึ้น 1 ค่า เช่นเดียวกันที่ Router B จะเพิ่มค่า Metric เป็น 2 และประกาศเส้นทางไปที่ Router A จากมุมมองของ Router C Router A และ B จะถูกมองเป็น 2 Hop
- จำนวนของ Hop ที่ใช้เดินทางไปสู่ปลายทาง หมายถึง จำนวนของ Router ที่ Packet จะต้องเดินทางผ่าน ไปสู่เครือข่ายปลายทาง อย่างไรก็ดี การนับจำนวน Hop เป็นหลักเพื่อเลือกเส้นทางเดินที่ดีที่สุด ไม่ได้หมายความว่า Router จะได้เส้นทางที่ดีที่สุด เสมอไป ตัวอย่าง เช่น เพื่อให้ Router A เดินทางไปสู่ Router B ตัว RIP จะเลือกเส้นทางการเชื่อมต่อความเร็ว 56K แทนที่จะเลือก เส้นทางความเร็วสูงกว่า อย่าง เช่น 1.5 Mbps เนื่องจากว่า Router A เห็นว่า การเดินทางไปสู่ B โดยผ่าน Router C เป็นการใช้ 2 Hop โดยไม่สนใจว่า การเดินทางอ้อมผ่านทาง Router C จะมีความรวดเร็วกว่า



รูปที่ 14 แสดงการเกิดปัญหา Routing Loop


การเกิดปัญหา Routing Loop
- RIP เป็นตัวอย่างของปัญหาที่เกิดขึ้นบน โปรโตคอลเลือกเส้นทางอย่าง Distance Vector ปัญหาของ Router ที่ทำงานภายใต้ RIP คือการที่ Router ไม่สามารถมองเห็นหรือเข้าใจภาพรวมของเครือข่ายทั้งหมด แต่จะอาศัยข้อมูลข่าวสารที่ได้ รับจาก Router เพื่อนบ้าน ว่า มี Router อยู่กี่ตัว และเชื่อมต่อที่ใดบ้าง ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบนเครือข่าย Router จะไม่ได้รับการปรับปรุงข่าวสารนี้ ได้พร้อมกันทุกตัว ทำให้ได้รับข้อมูลข่าวสารล่าช้า ทำให้ Router บางตัว หรือส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงบนเครือข่ายยังไม่เกิดขึ้น ทั้งที่ มีบางเครือข่าย ได้ล่มไปก่อนหน้านี้แล้ว Router เหล่านี้ ก็ยังปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางเก่า ให้แก่กัน ทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า Routing Loop โดย Routing Loop เป็นเรื่องของ Packet ที่วิ่งกลับไปกลับมาระหว่าง Router 2 ตัวหรือมากกว่า โดยไม่สามารถหลุดออกไปจากวงจรสะท้อนกลับไปกลับมานี้ได้ บางครั้งฝรั่งเรียกลักษณะนี้ว่า Count to Infinity
- เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ RIP จะใช้กลไกการทำงานหลายประการ ดังนี้
> Count To Infinity
> Split Horizon
> Poison Reverse Update
> Hold Down Counter
> Triggered Updates


ปัญหา Count To Infinity
- RIP จะยอมให้มีจำนวนของ Hop ทั้งหมดบนเส้นทางไม่เกิน 15 Hop เครือข่ายใดที่อยู่บนเส้นทางที่มีจำนวน Hop มากกว่า 15 Hop จะไม่สามารถไปถึงได้ ต่อนี้ เรามาดูว่า Count To Infinity ทำงานอย่างไร จากภาพตัวอย่าง 13 ดังต่อไปนี้
1. สมมติว่า Router A สูญเสียการติดต่อกับเครือข่าย A ทำให้มีการสร้าง Triggered Update ขึ้น (Triggered Update หมายถึงการปรับปรุงตารางเส้นทางทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงคิวหรือถึงเวลาการปรับปรุงเสียก่อน) Router A จะส่งการปรับปรุงนี้ ให้แก่ Router B และ Router C โดยภายใน Triggered Update ในครั้งนี้ เป็นการบอกให้ Router B และ C ได้รับรู้ข้อเท็จจริงว่า Router สูญเสียการติดต่อกับเครือข่าย A ไปแล้ว แต่ ข้อมูลที่ปรับปรุงนี้ จะมี Delay เกิดขึ้นระหว่างที่เดินทางไปสู่ Router B (อาจเกิดจาก CPU ของ Router กำลังยุ่ง หรือการจราจรบนเส้นทางการเชื่อมต่อกำลังติดขัด) แต่ ขณะเดียวกัน ข่าวสารที่ปรับปรุงนี้ อาจไปถึง Router C ก่อน (เนื่องจากเส้นทางโล่ง) เมื่อ Router C ได้รับข้อมูลการปรับปรุงเส้นทางแล้ว ก็รีบแก้ไขตารางเส้นทางทันที โดยเคลียร์ค่า เกี่ยวกับ เส้นทางที่จะเดินทางไปที่ เครือข่าย A ออกไปจากตาราง
2. ขณะที่ Router B ยังไม่ได้รับข่าวสารการปรับปรุงเส้นทางนี้ จาก Router A มันจะส่ง ข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทาง อันเป็นของเก่า ออกไปที่ แสดงว่า เครือข่าย A ยังมีตัวตน ออกไป ด้วยจำนวน Hop ที่นับได้คือ 2 และเมื่อ Router C ได้รับการปรับปรุงเส้นทาง Router B อันเป็นของเก่าแล้ว ก็จะเข้าใจว่า นี่เป็นเส้นทางใหม่ที่จะเดินทางไปสู่เครือข่าย (ซึ่งบัดนี้ ยังป่วยอยู่)
3. Router C เมื่อได้รับการปรับปรุงด้วยข้อมูลข่าวสารจาก Router B แล้ว Router C จะส่งข้อมูลที่ปรับปรุงนี้ ออกไปที่ เครือข่าย A ด้วยค่า Hop ที่นับได้คือ 3
4. เมื่อ Router A ได้รับข่าวสารอันเป็นเท็จนี้แล้ว ก็จะส่งข่าวสารที่ปรับปรุงแล้วนี้ ออกไปที่ Router B เพื่อบอกว่า มันสามารถเข้าถึง เครือข่าย A ด้วยจำนวน Hop มีค่าเป็น 4
5. การวนไปมาของข่าวสารที่ใช้ปรับปรุงตารางเส้นทางนี้ จะเกิดขึ้นอย่างไม่จบสิ้นง่ายๆ จนกว่าจะไปถึงค่า Hop 16 ซึ่งเราเรียกว่า Infinity หรืออนันต์ มันจะประกาศว่า Hop สุดท้ายเป็นอันถูกยกเลิก และเพิกถอนออกจากตาราง เส้นทาง


ปัญหา Split-Horizon
- กฎของ Split Horizon ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า Router จะต้องไม่ประกาศเส้นทาง กลับไปยัง Router ที่ส่งตารางปรับปรุงมาให้ หมายความว่า Router จะต้องไม่เอาข้อมูลที่ได้รับจาก Router ต้นทาง ส่งกลับไปให้ Router ต้นทาง เช่นกัน ตัวอย่าง เช่น Router A ได้รับการปรับปรุงข้อมูลจาก Router B และ Router A นำข้อมูลปรับปรุงนี้ ส่งต่อไปให้กับ Router C หากมีการใช้ Split Horizon แล้ว Router C จะไม่มีวันที่จะเอาข้อมูลปรับปรุง ส่งไปให้กับ Router B อันเป็นต้นทาง ในกรณีที่มีการเชื่อมต่อกันเป็น Loop แบบรูปที่ 14
- Cisco Router ได้ถูกกำหนดให้ใช้ Split Horizon โดยปริยาย แต่ในบางกรณี ท่านอาจต้อง ยกเลิกการใช้ Split Horizon เนื่องจาก หากมีการเชื่อมต่อ เครือข่ายในรูปแบบ Hub and Spoke อีกทั้ง เป็นการสื่อสารแบบ Non-Broadcast Multiple Access (NBMA) อย่างเช่น การเชื่อมต่อผ่าน Frame Relay เป็นต้น

รูปที่ 15 แสดงการใช้งาน Split Horizon


- จากรูปที่ 15 จะเห็นว่า Router B เชื่อมต่อกับ Router A ผ่านทาง Frame Relay และเส้นทางทั้งสองที่เรียกว่า PVC (Permanent Virtual Circuit) มีจุดสิ้นสุดที่ปลายทั้งสองด้าน ของ Serial Port ของ Router B
- ถ้าหากว่า ไม่มีการเพิกถอนการใช้งาน Split Horizon บน Serial Port ของ Router B แล้ว ตัว Router C จะไม่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทางจาก Router A อย่างแน่นอน


ปัญหา Poison Reverse
- Poison Reverse มีการทำงานที่คล้ายคลึงกับ Split Horizon โดยอาจทำงานร่วมกัน โดยมีชื่อเรียกว่า Split Horizon With Poison Reverse โดยการทำงานร่วมกันนี้ จะทำให้มีตารางเส้นทางที่เหมือนกัน แต่จะตั้งค่า Metric ให้เป็นค่า Infinity หรือ 16
- การตั้งค่าเป็น Infinity และประกาศค่าของเส้นทางปรับปรุงแบบย้อนกลับอย่างรวดเร็ว อาจทำให้กระบวนการของ Loop ถูกตัดขาด มิเช่นนั้นกลับทำให้ ค่าของเส้นทางที่ไม่ถูกต้อง ถุกจัดเก็บไว้ในตารางเส้นทางจนกว่า จะถึงเวลาขจัดมันออกไป
- จุดด้อยของการใช้ Poison Reverse คือทำให้ตารางเส้นทางมีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น


ปัญหา Hold Downs
- RIP มีตัวตั้งเวลาอยู่ตัวหนึ่ง เรียกว่า Hold Down Timer เป็นตัวตั้งเวลาที่ มีไว้เพื่อป้องกันมิให้ Router ทำการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางในช่วงเวลาสั้นๆ หลังจากที่เพิ่งได้เคลียร์เส้นทางที่เปลี่ยนแปลงแล้วออกจากตาราง แนวคิดการใช้ Hold Down คือการทำให้แน่ใจว่า Router ทุกตัวได้รับข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทาง ให้เรียบร้อย เสียก่อน อย่าเพิ่งทำการส่งข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางที่ไม่ถูกต้องออกมา
- จากรูปที่ 14 จะเห็นว่า Router B ได้ประกาศข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางที่ปรับปรุงออกมา ซึ่งเป็นข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง ไปยัง Router C โดยมีสาเหตุมาจาก ความล่าช้าในการปรับปรุงตารางเส้นทางแก่ Router C แต่ด้วยการใช้ Hold Down Timer เหตุการณ์นี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจาก Router C จะยังไม่ยอมรับข้อมูลตารางเส้นทางที่เกี่ยวกับ เครือข่าย A ประมาณ 180 วินาที

ปัญหา Hold Downs
- RIP มีตัวตั้งเวลาอยู่ตัวหนึ่ง เรียกว่า Hold Down Timer เป็นตัวตั้งเวลาที่ มีไว้เพื่อป้องกันมิให้ Router ทำการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางในช่วงเวลาสั้นๆ หลังจากที่เพิ่งได้เคลียร์เส้นทางที่เปลี่ยนแปลงแล้วออกจากตาราง แนวคิดการใช้ Hold Down คือการทำให้แน่ใจว่า Router ทุกตัวได้รับข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทาง ให้เรียบร้อย เสียก่อน อย่าเพิ่งทำการส่งข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางที่ไม่ถูกต้องออกมา
- จากรูปที่ 14 จะเห็นว่า Router B ได้ประกาศข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางที่ปรับปรุงออกมา ซึ่งเป็นข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง ไปยัง Router C โดยมีสาเหตุมาจาก ความล่าช้าในการปรับปรุงตารางเส้นทางแก่ Router C แต่ด้วยการใช้ Hold Down Timer เหตุการณ์นี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจาก Router C จะยังไม่ยอมรับข้อมูลตารางเส้นทางที่เกี่ยวกับ เครือข่าย A ประมาณ 180 วินาที0000


ที่มา : http://webserv.kmitl.ac.th/~s6066504/ciscoroutingprotocol1/ciscoroutingprotocol1.html

Thursday, June 25, 2009

Router

แบบทดสอบ

1. ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่หลักของ Router ได้ถูกต้อง
ก. การหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด
ข. การอ้างอิงไอพีแอดเดรสระหว่างเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย
ค. เป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น
ง. ถูกทุกข้อ

เฉลย ง. ถูกทุกข้อ
หน้าที่หลักของ Router ได้แก่ การอ้างอิงไอพีแอดเดรสระหว่างเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย รวมทั้งการเลือกและจัดเส้นทางที่ดีที่สุด เพื่อนำข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบของแพ็กเกจจากเครื่องลูกข่ายต้นทางบนเครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย
หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น

ที่มา : http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?mode=quote&comment=4&index=3&table_id=1&cate_id=20&post_id=3493 หัวข้อการทำงานของ Router บรรทัดที่ 7

2. รูปแบบลักษณะการเชื่อมต่อของ Router ผ่าน WAN มีอยู่กี่รูปแบบ
ก. 3
ข. 5
ค. 7
ง. 9

เฉลย ค. 7
รูปแบบลักษณะการเชื่อมต่อของ Router ผ่าน WAN มีอยู่หลายรูปแบบ ดังนี้
1. แบบ Point To Point หรือระหว่างจุด
2. แบบ Hub and Spoke (รูปแบบ Star)
3. แบบ Serial Bus
4. แบบ Loop ปิด
5. แบบ Mesh ซึ่งประกอบด้วย Semi หรือ Partial Mesh และ Fully Mesh
6. แบบผสม หรือ Hybrid
7. แบบ ระดับขั้น (Hierarchical)

3. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบใดที่เรียบง่ายที่สุด
ก. แบบ Hub and Spoke
ข. แบบ Loop ปิด
ค. แบบ Serial Bus
ง. แบบ Point To Point หรือระหว่างจุด

เฉลย ง. แบบ Point To Point หรือระหว่างจุด
แบบ Point To Point
เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายที่เรียบง่ายที่สุด โดยท่านอาจมี 2 เครือข่าย เช่น เครือข่ายบริษัทแม่ และสาขา มาเชื่อมต่อกัน เป็นต้น

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อ แบบ Point To Point บรรทัดที่ 1


4. การเชื่อมต่อแบบ Loop ปิด มีลักษณะอย่างไร
ก. เป็นการเชื่อมต่อที่มีด้านปลายด้านใดด้านหนึ่งเชื่อมต่อกับปลายของอีกด้านหนึ่ง
ข. เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่เน้นจำนวนของช่องสัญญาณการเชื่อมต่อระหว่างกันหลายช่องทาง
ค. เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง Router ที่อยู่ห่างไกลกันมาก
ง. เหมาะสำหรับท่านที่มีเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่ายขึ้นไป

เฉลย ก. เป็นการเชื่อมต่อที่มีด้านปลายด้านใดด้านหนึ่งเชื่อมต่อกับปลายของอีกด้านหนึ่ง
การเชื่อมต่อแบบ Loop ปิด
- เป็นการเชื่อมต่อที่มีด้านปลายด้านใดด้านหนึ่งเชื่อมต่อกับปลายของอีกด้านหนึ่ง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบนี้อยู่ที่การมี Redundant หากเส้นทางการเชื่อมต่อจุดใดจุดหนึ่งเกิดขาดก็ยังสามารถเชื่อมต่ออันได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ท่านยังสามารถเลือกใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางอีกด้วย อย่างไรก็ดีการใช้ โปรโตคอลที่มีประสิทธิภาพด้อย อาจทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า Routing Loop

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อ การเชื่อมต่อแบบ Loop ปิด บรรทัดที่ 1


5. Interior Domain Routing Protocol สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ก. 2
ข. 4
ค. 6
ง. 8
เฉลย ก. 2
Interior Domain Routing Protocol
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- Distance Vector ซึ่งเป็น Routing Protocol ที่อาศัยหลักเกณฑ์ในเรื่องระยะทางเป็นตัวกำหนด
- Link State ซึ่งอาศัยสถานะ การเชื่อมต่อเป็นตัวกำหนด

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อโปรโตคอลเลือกเส้นทางคืออะไร ? ย่อหน้าที่ 4 บรรทัดที่ 1


6. โปรโตคอลเลือกเส้นทางสามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ระดับชั้น (Class) ใหญ่
ก. 2
ข. 5
ค. 7
ง. 9

เฉลย ก. 2
โปรโตคอลเลือกเส้นทาง สามารถแบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class) ใหญ่ ได้ 2 แบบ ดังนี้
- ระดับขั้น Interior Domain หรือ Intra-Domain Routing Protocol
- ระดับขั้น Exterior หรือ Inter Domain Gateway Routing Protocol
7. Core Router มีลักษณะที่โดดเด่นกว่า Router ในระดับอื่นๆ อย่างไร
ก. สามารถเชื่อมต่อกับ Core Router อื่นๆ ผ่านทาง ATM ก็ได้
ข. มีบัฟเฟอร์เป็นจำนวนมากเพื่อใช้เก็บตารางเส้นทาง (Routing Table) ขนาด
ค. เป็น Router แบบ Multi-Layer Multi-protocol
ง. ข้อ ก และ ค กล่าวถูกต้อง

เฉลย ง. ข้อ ก และ ค กล่าวถูกต้อง
ระดับชั้น Core
- Core Router มีลักษณะที่โดดเด่นกว่า Router ในระดับอื่นๆ ตรงที่ เป็น Router แบบ Multi-Layer Multi-protocol ที่สามารถสนับสนุน การเชื่อมต่อรูปแบบต่างๆ ได้มากมาย สามารถเชื่อมต่อกับ Core Router อื่นๆ ผ่านทาง ATM ก็ได้ Router ระดับ Core นี้บางครั้งถูกเรียกว่า Back Bone Router เป็น Router ที่เชื่อมต่อกับกลุ่มของ Distributed Router จำนวนหนึ่ง

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อการเชื่อมต่อแบบลำดับขั้น (Hierarchical) ย่อหน้าที่ 4 บรรทัดที่ 1


8. ระดับชั้น Distributor ซึ่ง Router ในระดับนี้มักเป็น Router ขนาดใด
ก. ขนาดเล็ก
ข. ขนาดกลาง
ค. ขนาดใหญ่
ง. ขนาดใหญ่ที่สุด
เฉลย ข. ขนาดกลาง
ระดับชั้น Distributor
- Router ในระดับนี้ มักเป็น Router ขนาดกลาง ที่อาจมีพอร์ตที่เชื่อมต่อกับ Router ในระดับ Access มากกว่า 4 พอร์ตขึ้นไป Router ในระดับนี้ บางรุ่น อาจมี Port เชื่อมต่อกับ WAN มากถึง 16 พอร์ต หรืออาจมีมากกว่านั้น ที่สำคัญ Router จะต้องมีซีพียูความเร็วสูง โดยอาจมีความเร็วเกินกว่า 120 MHz ขึ้นไป รวมทั้งมีบัฟเฟอร์เป็นจำนวนมากเพื่อใช้เก็บตารางเส้นทาง (Routing Table) ขนาด

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อการเชื่อมต่อแบบลำดับขั้น (Hierarchical) ย่อหน้าที่ 3 บรรทัดที่ 1


9. ถ้าหากว่าเราใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์และใช้การ์ดแลนแบบ 100Base-FX ซึ่งใช้สาย Fiber Optic แบบ 2 Core (2 Strand) ขนาด 62.5/125 ความยาวคลื่นขนาด 850 nm เราจะสามารถเชื่อมต่อได้ระยะทางกี่เมตรและต่อกี่ด้าน
ก. 402 เมตร ต่อ 1 ด้าน
ข. 412 เมตร ต่อ 1 ด้าน
ค. 422 เมตร ต่อ 2 ด้าน
ง. 432 เมตร ต่อ 2 ด้าน

เฉลย ข. 412 เมตร ต่อ 1 ด้าน
- ในกรณีที่ท่านใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์และใช้การ์ดแลนแบบ 100Base-FX ซึ่งใช้สาย Fiber Optic แบบ 2 Core (2 Strand) ขนาด 62.5/125 ความยาวคลื่นขนาด 850 nm ท่านสามารถเชื่อมต่อได้ระยะทาง 412 เมตร ต่อ 1 ด้าน

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อประเภทของสื่อสัญญาณที่ใช้ บรรทัดที่ 1


10. Router ที่ทำจาก Server เหมาะสำหรับ ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกินกี่ % เท่านั้นและโดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งหมดกี่ % เป็นของภายในเครือข่าย
ก. ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 20% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 80% เป็นของภายในเครือข่าย
ข. ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 20% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 90% เป็นของภายในเครือข่าย
ค. ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 30% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 80% เป็นของภายในเครือข่าย
ง. ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 30% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 90% เป็นของภายในเครือข่าย

เฉลย ก. ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 20% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 80% เป็นของภายในเครือข่าย
- ข้อแตกต่างประการหนึ่งระหว่าง Layer 3 Switches กับ Router ที่ทำจาก Server ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ Router ที่ทำจาก Server เหมาะสำหรับ ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 20% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 80% เป็นของภายในเครือข่าย แต่สำหรับ Switches แบบ Layer 3 เหมาะสำหรับ การสื่อสารข้อมูลที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย 80% อีก 20% เป็นการสื่อสารภายใน รวมทั้ง สนับสนุนการสื่อสารแบบ 80% เป็นภายในเครือข่าย และ 20% แบบออกนอกเครือข่าย เช่นเดียวกับ Router ที่ทำจาก Server ได้อีกด้วย

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อปริมาณและขนาดความซับซ้อนของเครือข่าย *หมายเหตุ : ตารางสีฟ้า

แบบทดสอบระบบการสื่อสารข้อมูล 60 ข้อ

1. ข้อใดคือ 11001010.00011101.00111001.00000010
ก. 202.50.5.3
ข. 202.53.3.2
ค. 202.29.57.2
ง. 202.29.5.2

2. ข้อใดคือ 01111101.00011000.10011011.01000010
ก. 125.20.155.66
ข. 125.24.155.66
ค. 125.50.15.66
ง. 120.25.55.58

3. 42.58.5.29 คือ IP Class อะไร
ก. A
ข. B
ค. C
ง. D

4. IP Class A รองรับได้กี่ Host
ก. Host
ข. Host
ค. Host
ง. Host

5. IP Private Class C รองรับได้กี่ Host
ก. Host
ข. Host
ค. Host
ง. Host

6. คลาสของ Network ข้อใดคือ class A
ก. N.N.N.H
ข. N.H.H.H
ค. N.H.N.H
ง. H.H.H.N

7. คลาสของ Network ข้อใดคือ class C
ก. N.N.N.H
ข. N.H.H.H
ค. N.H.N.H
ง. H.H.H.N

8. Private IP Addresses Class B คือ
ก. 192.168.0.0 through 192.168.255.255
ข. 172.16.0.0 through 172.16.255.255
ค. 10.0.0.0 through 10.255.255.255
ง. 172.16.0.0 through 172.31.255.255

9. Broadcast Address ของ Class C คือ
ก. 255.255.255.254
ข. 255.255.255.256
ค. 255.255.255.255
ง. 255.255.255.0

10. ข้อใดคือ Private IP Address
ก. 12.0.0.1
ข. 172.20.14.36
ค. 168.172.19.39
ง. 172.33.194.30

Thursday, June 11, 2009

Ethernet

- อีเธอร์เน็ต ( Ethernet) เป็นชื่อเรียกวิธีการสื่อสารในระดับล่างหรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ของระบบ LAN ชนิดหนึ่งคะ พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่คือบริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปี ค.ศ. 1976 ตามมาตรฐาน IEEE 802.3
- การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10 Base-T คะ โดยปกติสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub แต่ถ้าเป็นการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps จะเรียกว่า Fast Ethernet หากความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000Mbps หรือ 1Gbps จะเรียกว่า Gigabit Ethernet
- ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ
- Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ
- คำว่าอีเทอร์เน็ต (Ethernet) หมายถึง ความหมายที่มีอยู่ทั่วไปของอีเทอร์เน็ตซึ่งมีหลากหลายมาตรฐาน อีเทอร์เน็ตพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Xerox (โดยได้แนวคิดมาจากโครงการสื่อสารผ่านดาวเทียม Aloha ที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัย Hawaii) เพื่อเป็นมาตรฐานสำคัญของเครือข่าย LAN ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ระบบที่ใช้อีเทอร์เน็ตนั้นเหมาะกับงานที่ต้องการรับส่ง/ข้อมูลในอัตราความเร็วสูงเป็นช่วง ๆ เป็นครั้งคราว การรับ/ส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตแต่ละครั้งเครื่องเป็นไปอย่างไม่มีวินัย นั่นคือเมื่อตรวจสอบแล้วว่าในขณะนั้นไม่มีเครื่องอื่น ๆ กำลังส่งข้อมูล แต่ละอย่างเครื่องจะแย่งกันส่งข้อมูลออกมา โดยเครื่องใดที่ส่งข้อมูลออกมาจะมีหน้าที่เฝ้าดูว่ามีเครื่องอื่นทำการส่งข้อมูลออกไปพร้อมกันด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเกิดการส่งพร้อมกันแล้วจะก่อให้เกิดการชนกันของข้อมูล แต่ถ้าตรวจจับได้ว่ามีการขนกันขึ้นก็จะหยุดส่งแล้วรอคอยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนจะทำการส่งข้อมูลออกไปอีกครั้งหนึ่ง เวลาที่ใช้ในการรอคอยนั้นเป็นค่าที่สุ่มขึ้นมา ซึ่งมีความสั้นยาวต่างกันไป เทคนิคหลายอย่างเช่นที่นำมาใช้ในการรอคอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันซ้ำสอง หนึ่งในนั้นคือ คำนวณการเพิ่มระยะเวลารอคอยแบบ Exponential ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection (CSMA/CD)
- เนื่องจากการ์ดอีเทอร์เน็ตที่ใช้ในเครือข่ายแบบนี้สร้างมาจากหลายผู้ผลิต จึงมีองค์กรมาตรฐานขึ้นมากำหนดหมายเลขประจำให้ผู้ผลิตแต่ละราย เพื่อสร้างความมั่นใจให้การ์ดแต่ละใบจะไม่มีแอดเดรสที่ซ้ำกัน การส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ตนั้นจะเป็นไปในแบบเฟรมที่มีความยาวไม่แน่นอน แม้ว่าเฟรมข้อมูลของอีเทอร์เน็ตจะมีแอดเดรสต้นทางและปลาย แต่เทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตเองกลับเป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายสัญญาณ (Broadcast) ซึ่งในเครื่องเครือข่ายเดียวกันจะได้รับเฟรมข้อมูลเดียวกันทุกเฟรม โดยเลือกเฉพาะเฟรมที่มีแอดเดรสปลายทางเป็นของตนเองเท่านั้น ส่วนเฟรมอื่น ๆ จะไม่สนใจ แต่ในบางกรณ๊ที่มีการทำงานในโหมด Promiscuous ซึ่งเป็นโหมดที่นำเฟรมข้อมูลทุกเฟรมไปใช้งานโดยส่งต่อไปยังซอฟแวร์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป เช่น กรณีของเครื่องที่ทำหน้าที่วิเคราะห์โปรโตคอล (Protocal Analyzer) หรืออาจจะเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีของพวกแฮกเกอร์ก็ได้ กรณีเช่นนี้จะเห็นถึงความปลอดภัยของมาตรฐานนี้



Gigabit Ethernet (IEEE802.3z)
เครือข่ายความเร็วสูง Gigabit Ethernet


- ปัจจุบันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกขณะ การเจริญเติบโตของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เหล่านี้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีสัญญานบ่งบอกว่าจะมีการ ชลอตัวแต่อย่างใด เครือข่ายแบบท้องถิ่นในองค์กรต่างๆ ตลอดจน บริษัท สถานศึกษาส่วนใหญ่กว่า80% จะนิยมใช้เครือข่าย Ethernet ส่วนที่เหลือก็จะเป็นพวก FDDI/CDDI, ATM และอื่นๆ ด้วยความต้องการการส่งผ่านข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามขนาดและจำนวน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ตลอดจนการเติบโตของ Internet อย่างรวดเร็ว จึงทำให้เครือข่าย Ethernet แบบดั้งเดิมที่มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลอยู่ที่ 10 Mbps เริ่มจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Gigabit Ethernet (IEEE802.3z) เป็นมาตรฐานใหม่ของเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่น (LAN-Local Area-Network) ที่พัฒนามาจาก เครือข่ายแบบ Ethernet แบบเก่าที่มีความเร็ว 10 Mbps ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ระดับความเร็ว 1 Gbps ทั้งนี้เทคโนโลยีนี้ ยังคงใช้กลไก CSMS/CD ในการร่วมใช้สื่อเหมือนEthernet แบบเก่า หากแต่มีการพัฒนาและดัดแปลงให้สามารถรองรับความเร็วในระดับ 1 Gbps ได้
- Gigabit Ethernet เป็นส่วนเพิ่มขยายจาก 10 Mbps และ 100 Mbps Ethernet (มาตราฐาน IEEE 802.3 และ IEEE802.3u ตามลำดับ) โดยที่มันยังคงความเข้ากันได้กับมาตราฐานแบบเก่าอย่าง100% Gigabit Ethernet ยังสนับสนุนการทำงานใน mode full-duplex โดยจะเป็นการทำงานในการเชื่อมต่อระหว่าง Switch กับ Switch และระหว่าง Switch กับ End Station ส่วนการเชื่อมต่อผ่าน Repeater, Hub ซึ่งจะเป็นลักษณะของShared-media (ซึ่งใช้กลไก CSMA/CD) Gigabit Ethernet จะทำงานใน mode Half-duplex ซึ่งสามารถจะใช้สายสัญญาณได้ทั้งสายทองแดงและเส้นใยแก้วนำแสง


รูปที่ 1 แสดงส่วนประกอบต่างๆของ Gigabit Ethernet ซึ่งได้มีการรวม Fiber Channel เข้าไว้ด้วย
ที่มา: 1.
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/gigabit/index.html
2. http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=68e9a256635f4617



แบบทดสอบ


1. Ethernet ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. ใด
ก. ค.ศ. 1974
ข. ค.ศ. 1975
ค. ค.ศ. 1976
ง. ค.ศ. 1978

เฉลย ค. ค.ศ. 1976
อีเธอร์เน็ต ( Ethernet) เป็นชื่อเรียกวิธีการสื่อสารในระดับล่างหรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ของระบบ LAN ชนิดหนึ่งคะ พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่คือบริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปี ค.ศ. 1976 ตามมาตรฐาน IEEE 802.3

ที่มา :
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=68e9a256635f4617


2. Fast Ethernet เป็นการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็วกี่ Mbps
ก. 10Mbps
ข. 100Mbps
ค. 1000Mbps
ง. 10000Mbps

เฉลย ข. 100Mbps
ถ้าเป็นการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps จะเรียกว่า Fast Ethernet

ที่มา :
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=68e9a256635f4617


3. Gigabit Ethernet เป็นการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็วกี่ Mbps
ก. 10Mbps
ข. 100Mbps
ค. 1000Mbps
ง. 10000Mbps

เฉลย ค. 1000Mbps
หากความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000Mbps หรือ 1Gbps จะเรียกว่า Gigabit Ethernet

ที่มา :
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=68e9a256635f4617


4. UTP 10Base-T สามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึงกี่ Mbps
ก. 10Mbps
ข. 100Mbps
ค. 1000Mbps
ง. 10000Mbps

เฉลย ก. 10Mbps
UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub

ที่มา :
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=68e9a256635f4617


5. อีเธอร์เน็ตจะใช้เทคนิคในการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า
ก. CSMA/CD
ข. CSMF/CE
ค. CSMS/CD
ง. CSMO/CE

เฉลย ก. CSMA/CD
อีเธอร์เน็ตจะใช้เทคนิคในการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access / Collision Detection)

ที่มา :
http://www2.cs.science.cmu.ac.th/seminar/2547/Powerline_Network/nettech.htm


6. Ethernet มาตรฐาน IEEE 802.3 มีการต่อสายอยู่กี่แบบ
ก. 1 แบบ
ข. 2 แบบ
ค. 3 แบบ
ง. 4 แบบ

เฉลย ค. 3 แบบ
Ethernet มาตรฐาน IEEE 802.3 ใช้การต่อสายแบบบัสและใช้โพรโตคอลแบบ CSMA/CD มีการต่อสายอยู่ 3 แบบ
• Thick (10Base5)
• Thin (10Base2)
• Twisted-Pair (10Base-T)

ที่มา :
http://panudech.rmutl.ac.th/OPN/Slide08.pdf หน้าที่ 8


7. 1000Base-T คือ
ก. สายเคเบิลที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคลัสเตอร์เซิร์ฟเวอร์
ข. เป็นสายเคเบิลที่ใช้ในการเชื่อมต่อกันระหว่างอาคารในบริเวณเดียวกัน
ค. สายเคเบิลที่ใช้ในการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องเดสก์ทอปหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์
ง. เป็นสายเคเบิลที่ใช้ในการเชื่อมต่อภายในอาคาร

เฉลย ค. สายเคเบิลที่ใช้ในการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องเดสก์ทอปหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 1000Base-T(Long Haul Copper)สายเคเบิลที่ใช้ในการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องเดสก์ทอปหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ใช้สายเคเบิลแบบ CAT5UTP ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้ระยะทางไกล100 เมตร

ที่มา :
http://panudech.rmutl.ac.th/OPN/Slide08.pdf หน้าที่ 20

Wednesday, June 10, 2009

ToPoLoGy

โทโปโลยี คือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้



1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่ออยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้


2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน

5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

URL : http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

แบบทดสอบ

1. รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีกี่รูปแบบ
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5

เฉลย ง. 5
รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
4.โทโปโลยีแบบ Hybrid
5.โทโปโลยีแบบ MESH
ที่มา : http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm


2. ข้อดีของโทโปโลยีแบบบัส BUS คือ
ก. ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน
ข. คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ค. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย
ง. ไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป

เฉลย ค. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย
เสียค่าใช้จ่ายน้อย
ที่มา : http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
ย่อหน้าที่ 2 บรรทัดที่ 8


3. โทโปโลยีแบบวงแหวน RING เป็นรูปแบบลักษณะใด
ก. เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย
ข. เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกัน
ค. เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
ง. เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม

เฉลย ง. เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม
ที่มา : http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm ย่อหน้าที่ 3 บรรทัดที่ 1


4. ข้อเสียของโทโปโลยีแบบดาว STAR คือ
ก. ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้
ข. เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง
ค. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่ออยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว
ง. การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก

เฉลย ข. เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง
ที่มา : http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm ย่อหน้าที่ 4 บรรทัดที่ 6


5. ระบบโทโปโลยีแบบใดยากต่อการเดินสาย มีราคาแพงและไม่ค่อยมีผู้นิยมมากนัก
ก. MESH
ข. Hybrid
ค. STAR
ง. RING

เฉลย ก. MESH
ที่มา : http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm ย่อหน้าที่ 6 บรรทัดที่ 1