Wednesday, January 28, 2009

Windows Server 2003


Microsoft Windows Server 2003


ภาพหน้าจอ Windows Server 2003
บริษัท/ผู้พัฒนา : ไมโครซอฟท์
ตระกูลโอเอส :
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
โมเดลต้นฉบับ : Shared source
ชนิด เคอร์เนล : Hybrid kernel
ลิขสิทธิ์ : Microsoft EULA
เว็บไซต์ : www.microsoft.com/windowsserver2003

-Windows Server 2003 คือแพล็ตฟอร์มที่ช่วยเพิ่มประสิทธิผลให้กับผู้ใช้ ให้มุมมองใหม่ของข่าวสารทางธุรกิจที่สำคัญต่อผู้ใช้ เพื่อจะสามารถทำงานร่วมกัน จัดการ และตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในโลกแห่งการแข่งขันได้ดีขึ้น ระบบปฏิบัติการตระกูล Windows Server 2003 ทำให้งานด้าน IT มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมกับช่วยลดค่าใช้จ่าย สำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก จนถึงศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่

ระบบปฏิบัติการตระกูล Windows Server 2003 สามารถช่วยให้:
- ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- แอพพลิเคชั่นได้รับการพัฒนา, นำไปใช้ และทำงานได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น
- เพิ่มผลการทำงานให้กับทุกส่วนขององค์กร

การให้บริการอย่างต่อเนื่อง
- สามารถทำงานได้ตลอดเวลา ด้วยการปรับปรุงด้านการทำคลัสเตอร์ ซึ่งรองรับการมีเซิร์ฟเวอร์ถึง 8 เครื่อง

ความสามารถในการขยายระบบ
- สนับสนุนทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพให้เซิร์ฟเวอร์ โดยรองรับการเพิ่มโปรเซสเซอร์แบบ 64-บิต สูงสุดถึง 64 ตัว (SMP) และการเพิ่มจำนวนเซิร์ฟเวอร์ให้กับระบบงาน ด้วยการทำคลัสเตอร์ รวมไปถึงการสนับสนุนโปรเซสเซอร์ทั้งแบบ 32-บิต และ 64-บิตด้วย

ความสามารถด้านการจัดการ
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาลง ด้วยการทำงานให้โดยอัตโนมัติ โดย Windows Server 2003 มีเครื่องมือช่วยในด้านการจัดการ เช่น Active Directory® และ Group Policy, การใช้สคริปต์ และ wizard สำหรับปรับการทำงานของเซิร์ฟเวอร์

ความปลอดภัย โครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยคือปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจ
- ในฐานะของผู้นำในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับระบบที่มีความปลอดภัยสูงขึ้นกว่าเดิม ดังจะเห็นได้ว่า Windows Server 2003 ให้ความปลอดภัยสูงขึ้น ไม่ว่าจะเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบจากที่ใด ด้วยอุปกรณ์ใดๆ ก็ตาม ข้อมูลที่สำคัญของคุณจะได้รับการปกป้องตลอดเวลา Windows Server 2003 มีเว็บเซิร์ฟเวอร์ Internet Information Services (IIS) ที่ได้รับการออกแบบใหม่ พร้อมรองรับโปรโตคอลที่มีความปลอดภัยสูง อย่างเช่น 802.1x และ PEAP รวมถึงมี common language runtime ที่มีส่วนทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัยมากขึ้น
- การมีรากฐานที่แข็งแกร่ง ทำให้องค์กรธุรกิจสามารถเสนอบริการที่มีค่าใช้จ่ายน้อยลง แต่ให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น และช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละราย

แอพพลิเคชั่นที่ดีขึ้น และทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิม
- Windows Server 2003 ใช้สถาปัตยกรรมที่มีเสถียรภาพ และสามารถขยายระบบได้ จึงเป็นแพล็ตฟอร์มที่ทรงพลังสำหรับแอพพลิเคชั่น โดยวางรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อให้การพัฒนาและจัดการกับแอพพลิเคชั่นทำได้ง่าย อีกทั้งความสามารถในการขยายระบบและการปรับปรุงประสิทธิภาพยังทำให้รันแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่ได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนั้น บริการสำหรับแอพพลิเคชั่น เช่น Microsoft .NET Framework, Message Queuing, COM+ และอื่นๆ จะรวมกันเป็นเครื่องมือที่นักพัฒนาและผู้ดูแลระบบสามารถสร้างโซลูชั่นที่มีการเชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

Windows Server 2003
- เป็นระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์จากไมโครซอฟท์ เป็นรุ่นที่ถัดจากวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ได้ออกวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งนับเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Windows Server System
- วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่ออกมาหลังจากไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Trustworthy Computing จึงเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องความปลอดภัย โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เช่นหลังจากการตั้งแต่ติดตั้งเสร็จนั้น ไม่มีส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดการใช้งานเพื่อลดช่องทางโจมตีตั้งแต่แรกเริ่ม และได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน IIS 6.0 โดยเกือบเขียนขึ้นมาใหม่หมด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยประสิทธิภาพการทำงาน
- ในปีพ.ศ. 2548 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศ
วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ "ลองฮอร์น" ซึ่งจะเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 โดยมีกำหนดการที่จะออกครึ่งปีแรกใน พ.ศ. 2550
วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ได้แบ่งเป็นรุ่นดังนี้:
- Windows Small Business Server 2003
- Windows Server 2003 Web Edition
- Windows Server 2003 Standard Edition
- Windows Server 2003 Enterprise Edition
- Windows Server 2003 Datacenter Edition
- Windows Compute Cluster Server 2003

การติดตั้ง Windows2003 Server
- การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 2003 Server วิธีการติดตั้ง Windows 2003 server ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้
1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก CD นั้นได้เลย
2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows 2003 Server Setup และทำการติดตั้ง
3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทำการ copy ไฟล์ทั้งหมดจาก CD ไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ ก่อนทำการติดตั้งมาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น
การติดตั้ง Windows 2003เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรก ซึ่งวิธีการนี้จะเหมือนกับการลง Windows XP ทุกอย่างเลย ฉะนั้นผมจึงจะขอข้ามขั้นตอนนี้ไปเลย เพื่อความรวดเร็ว แต่ถ้าหากท่านยังไม่เข้าก็ขอให้กลับไปดูในหน้า วิธีการลง WindowsXP ได้เลย (ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร)

Windows Server 2003 R2

- Windows Server 2003 R2 ได้ขยายขอบเขตของระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม โดยการจัดเตรียมวิธีการที่ประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อรองรับการบริหารและควบคุมการเรียกใช้ทรัพยากรแบบโลคอลและรีโมท แถมยังผสานการทำงานกับสภาพแวดล้อม Windows Server 2003 ที่มีอยู่เดิมได้โดยง่ายอีกด้วย Windows Server 2003 R2 สามารถทำงานเป็นเว็บแพลตฟอร์มที่ขยายระบบได้และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่าเดิม แถมยังรองรับการทำงานแนวทางใหม่ๆอาทิเช่นการบริหารเซิร์ฟเวอร์ตามสาขาที่ทำได้ง่ายขึ้น ระบบบริหารตัวตนและการเรียกใช้ระบบที่ดีกว่าเดิม รวมทั้งมีระบบบริหารระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นอีกด้วย บทความที่อยู่ในหน้านี้จะพูดถึงจุดเด่น คุณสมบัติใหม่ๆ และการปรับปรุงต่างๆที่เกิดขึ้นใน Windows Server 2003 R2

- จุดเด่นต่างๆ Windows Server 2003 R2 ได้รับการพัฒนาโดยอิงกับระบบรักษาความปลอดภัย เสถียรภาพ และประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิมของ Windows Server 2003 Service Pack 1 (SP1) ดังนั้น Windows Server 2003 R2 จึงมีระบบเชื่อมต่อที่กว้างขวางยิ่งขึ้น แถมยังควบคุมทรัพยากรแบบโลคอลและรีโมทได้ดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย องค์กรต่างๆจะได้ประโยชน์จากค่าใช้จ่ายที่ลดลง และประสิทธิภาพที่เพิ่มสูงขึ้นผ่านทางระบบบริหารและระบบควบคุมทรัพยากรที่ดีขึ้นกว่าเดิมทั่วทั้งองค์กร

> ช่วยให้การบริหารเซิร์ฟเวอร์สาขาทำได้ง่ายขึ้น Windows Server 2003 R2 ช่วยให้คุณยังคงประสิทธิภาพ ความพร้อมในการให้บริการ และความสามารถในการเพิ่มผลผลิตของเซิร์ฟเวอร์สาขาแบบโลคอลเอาไว้ไปพร้อมๆกับหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโซลูชันเซิร์ฟเวอร์สาขาอาทิเช่น ข้อจำกัดเรื่องการสื่อสาร และความยุ่งยากในการบริหารเป็นต้น

> ระบบบริหารตัวตนและการเรียกใช้ระบบที่ดีขึ้นกว่าเดิม Windows Server 2003 R2 มีบริการ Active Directory Federation Services ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ดูแลระบบแก้ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารตัวตนโดยการทำให้องค์กรแลกเปลี่ยนข้อมูลตัวตนของผู้ใช้ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ภายในขอบเขตการรักษาความปลอดภัยที่กำหนดเอาไว้ นอกจากนั้น Windows Server 2003 R2 ยังเตรียมระบบปรับความสอดคล้องรหัสผ่านของยูนิกซ์ ซึ่งเป็นการผสานการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ที่ Windows และยูนิกซ์เข้าด้วยกัน โดยการทำให้ขั้นตอนการดูแลรหัสผ่านทำได้ง่ายขึ้น

> ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารระบบจัดเก็บข้อมูล Windows Server 2003 R2 มีเครื่องมือรุ่นใหม่ๆที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้เรียกดูระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดที่ศูนย์กลางได้ สามารถวางแผน จัดสรร และดูแลระบบจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีระบบเฝ้าระวังและทำรายงานที่ดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

> เว็บแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบ Windows Server 2003 R2 ช่วยให้ธุรกิจต่างๆขยายขอบเขตการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานของตนเองผ่านทางเว็บ พร้อมกับลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและบริหารผ่านทางการทำงานของ Windows Server 2003 SP1, x64 Editions, Windows SharePoint Services, .NET Framework 2.0 และ Internet Information Servers 6.0 ที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม

> ระบบเซิร์ฟเวอร์เวอร์ชวลไลเซชันที่คุ้มค่า Windows Server 2003 R2 Enterprise Editioin (EE) จะช่วยให้คุณสั่งงาน Windows Server 2003 R2 EE แบบเวอร์ชวลได้ถึง 4 ชุดในเซิร์ฟเวอร์จริงหรือฮาร์ดแวร์พาร์ทิชันเพียงชุดเดียว ด้วยเหตุนี้ค่าใช้จ่ายของเซิร์ฟเวอร์เวอร์ชวลไลเซชันจะลดลง

ที่มา :
1.

http://www.microsoft.com/thailand/windowsserver2003/prodinfo/overview.aspx 2.http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C_2003
3.http://www.microsoft.com/thailand/windowsserver2003/R2/What_New_Serv_2003_R2_TH.aspx


คำถาม
1. Windows Server 2003 เปิดตัวเมื่อใด
ก. 18 มีนาคม พ.ศ.2546
ข. 28 มีนาคม พ.ศ.2547
ค. 18 มีนาคม พ.ศ.2548
ง. 28 มีนาคม พ.ศ.2549

2. ไมโครซอฟท์ได้ประกาศ
วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ "ลองฮอร์น" ซึ่งจะเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 ในปี พ.ศ.ใด
ก. 2545
ข. 2546
ค. 2547
ง. 2548

3. วิธีการติดตั้ง Windows 2003 server สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่แบบ
ก. 2 แบบ
ข. 3 แบบ
ค. 4 แบบ
ง. 5 แบบ

4. Windows Server 2003 เป็นรุ่นที่ถัดจาก
วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ ใด
ก. Windows Server 2000
ข. วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ ลองฮอร์น
ค. Windows Compute Cluster Server 2003
ง. Windows Small Business Server 2003

5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความสามารถของ Windows Server 2003
ก. ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข. แอพพลิเคชั่นได้รับการพัฒนานำไปใช้ และทำงานได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น
ค. เพิ่มผลการทำงานให้กับทุกส่วนขององค์กร
ง. ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.

6. Windows Server 2003 R2 มีบริการใดซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ดูแลระบบแก้ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารตัวตน
ก. Windows SharePoint Services
ข. storage area networks Service
ค. Active Directory Federation Services
ง. Network Information Service

7. จุดเด่นต่างๆของ Windows Server 2003 R2 คือ
ก. ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารระบบจัดเก็บข้อมูล
ข. ระบบบริหารตัวตนและการเรียกใช้ระบบที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ค. ช่วยให้การบริหารเซิร์ฟเวอร์สาขาทำได้ง่ายขึ้น
ง. ถูกทุกข้อ

8. ASP .NET มีความสามารถคือ
ก. ช่วยให้เว็บเซิร์ฟเวอร์มีประสิทธิภาพและระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ข. ช่วยให้ธุรกิจต่างๆขยายขอบเขตการทำงาน
ค. ช่วยให้สามารถพัฒนาเว็บเซอร์วิสและแอพพลิเคชันแบบ Dynamic Systems Initiative ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ .NET Framework
ง. ช่วยให้ระบบมีประสิทธิภาพดีขึ้นโดยเสียค่าใช้จ่ายลดลง

9. X64 มีความสามารถคือ
ก. ช่วยให้เว็บเซิร์ฟเวอร์มีประสิทธิภาพและระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ข. ช่วยให้ธุรกิจต่างๆขยายขอบเขตการทำงาน
ค. ช่วยให้สามารถพัฒนาเว็บเซอร์วิสและแอพพลิเคชันแบบ Dynamic Systems Initiative ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ .NET Framework
ง. ช่วยให้ระบบมีประสิทธิภาพดีขึ้นโดยเสียค่าใช้จ่ายลดลง

10. IIS 6.0
มีความสามารถคือ
ก. ช่วยให้เว็บเซิร์ฟเวอร์มีประสิทธิภาพและระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ข. ช่วยให้ธุรกิจต่างๆขยายขอบเขตการทำงาน
ค. ช่วยให้สามารถพัฒนาเว็บเซอร์วิสและแอพพลิเคชันแบบ Dynamic Systems Initiative ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ .NET Framework
ง. ช่วยให้ระบบมีประสิทธิภาพดีขึ้นโดยเสียค่าใช้จ่ายลดลง


เฉลย
1.ข 2.ง 3.ข 4.ก 5.ง
6.ค 7.ง 8.ค 9.ง 10.ก

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)

- หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้


- ระบบเครือข่ายสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือ
1. LAN (Local Area Network) ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ
Lan คืออะไร
- แลน หรือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายในพื้นที่ (Local Area Network, LAN) เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 2 รูปแบบการเชื่อโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้หรือ แลน (LAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN) โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ คือ
- Bus มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/sจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และ Terminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ
- Star เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch จะทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูล โดยข้อดีของการต่อในรูปแบบนี้คือ หากสายสัญญาณเกิดขาดในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจะสามารถใช้งานได้ปรกติ แต่หากศูนย์กลางคือ Hub หรือ Switch เกิดเสียจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ
- Ring เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Server หรือ Switch ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่และระหว่างการส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการรอให้ข้อมูลก่อนหน้านั้นถูกส่งให้สำเร็จเสียก่อน

ประโยชน์ของ Lan
1.1 แบ่งการใช้ข้อมูล รวมทั้งการปรับปรุงและจัดการแฟ้มข้อมูลได้ง่าย
1.2 สามารถใช้ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว
1.3 การแบ่งปันการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น Printer, Modemฯลฯ
1.4 การแบ่งปันการใช้โปรแกรมต่าง
1.5 ควบคุมและดูแลรักษาข้อมูลได้ง่าย
1.6 ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
1.7 เพื่อการติดต่อได้อย่างรวดเร็ว

2. MAN (Metropolitan Area Network)ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก
3. WAN (Wide Area Network)ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (lntegrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน)


ประเภทของระบบเครือข่าย
Peer To Peer
- เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนระบบเครือข่ายมีฐานเท่าเทียมกัน คือทุกเครื่องสามารถจะใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้ และสามารถให้เครื่องอื่นมาใช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน ระบบ Peer To Peer มีการทำงานแบบดิสทริบิวท์(Distributed System) โดยจะกระจายทรัพยากรต่างๆ ไปสู่เวิร์กสเตชั่นอื่นๆ แต่จะมีปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลที่เป้นความลับจะถูกส่งออกไปสู่คอมพิวเตอร์อื่นเช่นกันโปรแกรมที่ทำงานแบบ Peer To Peer คือ Windows for Workgroup และ Personal Netware

Client / Server เป็นระบบการทำงานแบบ Distributed Processing หรือการประมวลผลแบบกระจาย โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องไคลเอ็นต์ แทนที่แอพพลิเคชั่นจะทำงานอย ู่เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก็แบ่งการคำนวณของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น มาทำงานบนเครื่องไคลเอ็นต์ด้วย และเมื่อใดที่เครื่องไคลเอ็นต์ต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลบางส่วน จะมีการเรียกใช้ไปยัง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้นำเฉพาะข้อมูลบางส่วนเท่านั้นส่งกลับ มาให้เครื่องไคลเอ็นต์เพื่อทำการคำนวณข้อมูลนั้นต่อไป
ลักษณะการต่อเชื่อมของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- จุดปลายทางของการรับ-ส่งข้อมูล เราเรียกว่าโหนด (Node) ซึ่งโหนดนี้อาจเป็น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ ATM หรือเครื่องรับโทรศัพท์ ซึ่งแล้วแต่วัตถุประสงค์ของการใช้งาน ซึ่งการที่จะทำให้แต่ละโหนด ติดต่อรับ-ส่งข้อมูลถึงกันได้นั้น ต้องมีการเชื่อมต่อที่เป็นระบบ ในรบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ เราสามารถแบ่งลักษณะของการเชื่อมโยงออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์หลักที่เป็นโฮสต์ (Host) ต่อสายสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ย่อยที่เป็นไคลเอนต์ (Client) คอมพิวเตอร์ที่เป็นไคลเอนต์แต่ละเครื่องไม่สามารถติดต่อกันได้โดยตรง การติอต่อจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์โฮสต์ที่เป็นศูนย์กลาง

2. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการติดต่อสื่อสารเป็นแบบวงแหวนโดยที่ไม่มีคอมพิวเตอร์หลัก คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายสามารถติดต่อกันได้โดยตรง

3. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์บนสายเคเบิล ซึ่งเรียกว่าบัส คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งๆ สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เป็นอิสระ โดยข้อมูลจะวิ่งผ่านอุปกรณ์ต่างๆ บนสายเคเบิลจนกว่าจะถึงจุดที่ระบุไว้ (Address) ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN 3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม

รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย LAN Topology
- ระบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที

- แบบ Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ - แบบ Star การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป็น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า - แบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน
เครือข่ายแบบไร้สาย ( Wireless LAN)
- อีกเครือข่ายที่ใช้เป็นระบบแลน (LAN) ที่ไม่ได้ใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อ นั่นคือระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของการไม่ต้องใช้สายเคเบิล เหมาะกับการใช้งานที่ไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล โดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเพดานเพื่อวางสาย เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางอย่าง กำแพง หรือพนังห้องได้ดี แต่ก็ต้องอยู่ในระยะทำการ หากเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปไกลจากรัศมีก็จะขาดการติดต่อได้ การใช้เครือข่ายแบบไร้สายนี้ สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์พีซี และโน๊ตบุ๊ก และต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สายมาติดตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point ซึ่งเป็นอุปกรณ์จ่ายสัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย มีหน้าที่รับส่งข้อมูลกับการ์ดแลนแบบไร้สาย

ที่มา : 1.http://www.radompon.com/computerproject/Web2006/Network/mainpage.htm
2.http://www.bcoms.net/network/intro.asp
3.http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=ngekky&month=01-2008&date=20&group=1&gblog=33

คำถาม
1. ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 4

2. Bus มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วเท่าใด
ก. 10-100 MB/s
ข. 10-500 MB/s
ค. 10-800 MB/s
ง. 10-1000 MB/s

3. Star เป็นระบบที่มีลักษณธะการเชื่อมต่ออย่างไร
ก. เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Server หรือ Switch ในการปล่อย Token
ข. เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch
ค. จะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูล
ง. เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน

4. Ring เป็นระบบที่มีลักษณธะการเชื่อมต่ออย่างไร
ก. เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร
ข. เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน
ค. จะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ล
ง. การเชื่อมต่อแบบจะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ

5. Hybrid เป็นระบบที่มีลักษณธะการเชื่อมต่ออย่างไร
ก. เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร
ข. เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน
ค. จะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ล
ง. การเชื่อมต่อแบบจะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ

6. Bus เป็นระบบที่มีลักษณธะการเชื่อมต่ออย่างไร
ก. เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร
ข. เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน
ค. จะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ล
ง. จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ

7. LAN เป็นเครือข่ายที่มีลักษณะแบบใด
ก. เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง
ข. เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก
ค. เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง
ง. เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก

8. MAN เป็นเครือข่ายที่มีลักษณะแบบใด
ก. เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง
ข. เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก
ค. เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง
ง. เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก

9. WAN เป็นเครือข่ายที่มีลักษณะแบบใด
ก. เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง
ข. เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก
ค. เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง
ง. เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก

10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับประโยชน์ของ Lan
ก. แบ่งการใช้ข้อมูล รวมทั้งการปรับปรุงและจัดการแฟ้มข้อมูลได้ง่าย
ข. สามารถใช้ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว
ค. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ง. ถูกทั้งข้อ ก ข และ ค

เฉลย
1.ค 2.ก 3.ข 4.ก 5.ข 6.ค 7.ข 8.ค 9.ก 10.ง


IP Address

- หมายเลขไอพี หรือ ไอพีแอดเดรส (Internet Protocol Address) คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอล Internet Protocol คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร
- ตัวอย่างของหมายเลขไอพี ได้แก่ 207.142.131.236 ซึ่งเมื่อแปลงกลับมาในรูปแบบที่อ่านได้จะเรียกว่า
โดเมนแอดเดรส ผ่านทาง โดเมนเนมซีสเทม (Domain Name System) ซึ่งหมายเลขนั้นหมายถึง www.wikipedia.org
- มาตรฐานของ IP Address ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน version 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4 วึ่งกำหนดให้ ip address มีทั้งหมด
32 bit หรือ 4 byte แต่ล่ะ byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ภายในหมายเลขที่เราเห็นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

1. Network Address หรือ Subnet Address
2. Host Address

- บนเครื่อง computer ที่ใช้ TCP/IP Protocol จะมีหมายเลข IP Address กำกับอยู่ address นี้ เป็นอยู่ใน Layer 3 ของ OSI model ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (Logical address) และบนเครื่อง computerไม่ว่าจะใช้ Protocol ใด ๆ ก็ตามจะต้องมีหมายเลข ที่เรียกว่า MAC Address ประจำอยุ่ที่ Network card เสมอ MAC Address นี้เป็น Hardware Address ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยน Network card

ไอพีเวอร์ชัน 4
- ระบบตัวเลขไอพีที่ใช้ในปัจจุบันเป็นระบบ ไอพีเวอร์ชันที่ 4 (IPv4) ซึ่งจะเป็นระบบ 32 บิตหรือสามารถระบุเลขไอพีได้ตั้ง 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 (ตัวเลขบางตัวเป็นไอพีสงวนไว้สำหรับหน้าที่เฉพาะเช่น 127.0.0.0 จะเป็นการระบุถึงตัวอุปกรณ์เองไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะมีไอพีสื่อสารจริงๆ เป็นเท่าไร) อย่างไรก็ตามจากระบบตัวเลขที่จำกัดนี้สามารถเพิ่มขยายด้วยเทคนิคของไอพีส่วนตัว (private IP) กับการแปลงไอพี (
Network Address Translation หรือ NAT) 684
คลาส
- ไอพีเวอร์ชัน 4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆเพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานต่างๆกันดังต่อไปนี้
คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 126.255.255.254
คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 254.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ

ไอพีส่วนตัว (Private IP)
- ไอพีส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ไม่ว่าองค์กรนั้นจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใดก็ตาม ได้แก่
ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet) ได้

ไอพีสาธารณะ (Public IP)
- ไอพีสาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร แต่ละบุคคล ต่างก็สามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน รับส่งข้อมูลระหว่างกันผ่านเครือข่ายสาธารณะได้

การแปลงไอพี (NAT)
- เนื่องจากเมื่อแต่ละองค์กร แต่ละบุคคล ต่างก็ใช้งานไอพีส่วนตัวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถติดต่อกับเครือข่ายสาธารณะ (Internet) ได้ จึงทำให้องค์กรเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยการแปลงไอพี เพื่อช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะได้ นอกจากนี้ไอพีสาธารณะเองก็มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เมื่อแต่ละองค์กร แต่ละบุคคลต้องการที่จะเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายสาธารณะจะทำให้เกิดปัญหาไอพีสาธารณะไม่พอเพียงต่อการใช้งาน ดังนั้นเพื่อให้เกิดการใช้งานไอพีสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการแปลงไอพีส่วนตัวของแต่ละองค์กรให้สามารถแบ่งปันกันใช้งานไอพีสาธารณะที่มีอยู่อย่างจำกัด (Overloaded NAT) ในแง่ของความปลอดภัย การแปลงไอพีสามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบเครือข่ายได้ เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์จากเครือข่ายสาธารณะทั้งหลาย จะไม่สามารถรู้จักไอพีที่แท้จริงของคอมพิวเตอร์ในองค์กร ทำให้ความเสี่ยงที่คอมพิวเตอร์ภายในองค์กรจะถูกโจมตีในแง่ต่างๆลดลงไปด้วย


ไอพีเวอร์ชัน 6
- ไอพีเวอร์ชันที่ 6 (IPv6) ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยจุดประสงค์หลักในการแก้ปัญหาการขาดแคลนจำนวนหมายเลขไอพีซึ่งกำหนดโดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชันที่ 4 ซึ่งในมาตรฐานของเวอร์ชัน 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิตในการระบุหมายเลยไอพี


ชื่อและเลข IP
- อินเตอร์เน็ตมีคอมพิวเตอร์ต่ออยู่เป็นล้านเครื่อง หลายท่านอาจตั้งข้อสงสัยว่าการที่เราส่งอีเมล์ไปยังปลายทางจะไปได้อย่างไร หรือเมื่อเราต้องการ LOGIN เข้าเครื่องอื่นที่อยู่บนเครือข่าย ระบบเครือข่ายรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องนั้นอยู่ที่ใด
รหัสหมายเลข IP ประจำเครื่อง
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายจะมีหมายเลขรหัสประจำเครื่องหมายเลขรหัสนี้เรียกว่า IP number ตัวเลข IP แต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องไม่ซ้ำกันตัวเลขนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้แต่ละองค์กรนำไปปฎิบัติ โดยผู้ที่จะสร้างเครือข่ายต้องทำการขอหมายเลขประจำเครือข่าย เพื่อมากำหนดส่วนขยายต่อสำหรับเครื่องเอาเอง
- เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ SUN ที่ทำหน้าที่เป็นเกทเวย์สำหรับเมล์ของเครือข่ายนนทรี ชื่อ nontri มีหมายเลข IP เป็นตัวเลขประจำเครื่องนี้มีขนาด 32 บิต แบ่งเป็น 4 ฟิลด์ แต่ละฟิลด์จะมี 8 บิต แต่เมื่อเรียกรหัสหมายเลข IP นี้ ใช้ตัวเลขฐานสิบแบ่งเป็น 4 ตัว โดยมีจุด (.) คั่นระหว่างตัวดังนั้นจากตัวเลข 32 บิต ดังกล่าวเรียกได้เป็น
158.108.2.71
- ตัวเลขไบนารี 32 หลัก เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยากแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ใช้เลขเหล่านี้ได้อย่างถูกตัอง แต่เมื่อกำหนดเลข 4 ฟิลด์ แต่ละฟิลด์มีขนาด 0-255 เมื่อดูแล้วจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น
เครือข่ายก็มีหลายเลขประจำด้วย
- การแบ่งเลขหมาย IP ออกเป็น 4 ฟิลด์นั้น ความจริงแล้วตัวเลขที่ประกอบอยู่นั้นเป็นตัวเลขของเครือข่ายประกอบอยู่ด้วย เช่น เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้รหัส 158.108 เครือข่ายของบริษัท IBM ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ระดับโลก ใช้รหัส 9 ส่วนของบริษัท AT+ T ใช้เลขรหัส IP เป็น 12 ส่วนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 192.150.249 เป็นต้น
- เนื่องจากขนาดของเครือข่ายมีขนาดแตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงมีการกำหนดการแบ่งคลาสของเครือข่ายออกเป็นสามคลาสคือ คลาส A. คลาส B. คลาส C.
- คลาส A. กำหนดตัวเลขเพียงฟิลด์แรกฟิลด์เดียว ที่เหลืออีกสามฟิลด์จึงเป็นรหัสประจำเครื่องอยู่ในเครือข่าย คลาส B. กำหนดตัวเลขของฟิลด์ จึงเหลือให้กำหนดรหัสเครื่องสองฟิลด์ คลาส C. กำหนดตัวเลขสามฟิลด์จึงมีที่ให้กำหนดรหัสเครื่องเพียงฟิลด์เดียว
- เมื่อพิจารณาตัวเลข IP ใด ๆ หากตัวเลขขึ้นต้นระหว่าง 1-126 ก็จะเป็นคลาส A. ถ้าขึ้นต้นด้วย 128-191 ก็จะเป็นคลาส B. และขึ้นต้นด้วย 192-223 ก็เป็นคลาส C. (ดูตามตารางที่ 1)
- การให้หมายเลขเครือข่ายนี้ทางองค์กรบริหารเครือข่ายเป็นผู้กำหนดให้เป็นที่น่าสังเกตุว่า การกำหนดเลขจะกำหนดให้เรียงกันไป ใครขอมาก่อนก็จะให้เลขน้อยเรียงตามลำดับเวลาที่จอและเมื่อพิจารณาการเติบโตของเครือข่ายที่ค่อนข้างจะ หมายเลข IP คงจะเต็มพิกัดครบทุกคราสในไม่ช้านี้ แต่ทางองค์กรบริหารเครือข่าก็เตรียมแผนการขยายหมายเลขต่อไปแล้ว
ใช้ชื่อดีกว่า
- เพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้นและการบริหารเครือข่ายทำได้ดี จึงมีการกำหนดชื่นแทนรหัส IP โดยมีการตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่บนเครือข่าย เช่น nontri.ku.ac.th ซึ่งแทนหมายเลข 158.108.162 หรือเครื่อง maspar ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบขนานก็ใช้ชื่อ maspar.cpe.ku.ac.th โดยใช้แทนรหัส 158.108.162 ดังนั้นเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมีการตั้งชื่อเครื่องเพื่อให้รู้จักกันได้ง่ายขึ้น การตั้งชื่อมีการแบ่งเป็นลำดับขั้น ตัวที่อยู่ขวามือสุด คือชื่อย่อประเทศ เช่น th หมายถึงประเทศไทย
หมายเลขต้องห้าม
- เนื่องจากเครือข่ายก็อาจจำเป็นต้องใช้ IP Address ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจำกัดบางหมายเลขเพื่อใช้เป็นการภายใน ได้แก่
1. Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
2. Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
3. Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx
- สำหรับภายในองค์กร ก็มีหมายเลขต้องห้ามเช่นกัน ได้แก่
1. 127.xxx.xxx.xxx หมายเลขนี้ใช้สื่อสารกับตัวเอง
2. 0.0.0.0
4.http://www.it-guides.com/nets/net_104.html

คำถาม
1. มาตรฐานของ IP Address ปัจจุบันเป็นมาตรฐานใด
ก. IPv4
ข. IPv6
ค. Public IP
ง. Private IP

2. IPv4 มีกี่บิต
ก. 8 บิต
ข. 16 บิต
ค. 32 บิต
ง. 64 บิต

3. IPv6 มีกี่บิต
ก. 16 บิต
ข. 32 บิต
ค. 64 บิต
ง. 128 บิต

4. การกำหนดการแบ่งคลาสของเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่คลาส
ก. 1 คลาส
ข. 2 คลาส
ค. 3 คลาส
ง. 4 คลาส

5. ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่หมายเลขใดถึงหมายเลขใด
ก. เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255
ข. เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255
ค. เริ่มตั้งแต่ 158.168.0.0 ถึง 158.168.255.255
ง. เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255

6. ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่หมายเลขใดถึงหมายเลขใด
ก. เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255
ข. เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255
ค. เริ่มตั้งแต่ 158.168.0.0 ถึง 158.168.255.255
ง. เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255

7. ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่หมายเลขใดถึงหมายเลขใด
ก. เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255
ข. เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255
ค. เริ่มตั้งแต่ 158.168.0.0 ถึง 158.168.255.255
ง. เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255

8. สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ของคลาส A เริ่มตั้งแต่หมายเลขใดขึ้นไป
ก. เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
ข. เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
ค. เริ่มตั้งแต่ 255.255.255.0 ขึ้นไป
ง. เริ่มตั้งแต่ 255.255.255.255 ขึ้นไป

9. สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ของคลาส B เริ่มตั้งแต่หมายเลขใดขึ้นไป
ก. เริ่มตั้งแต่ 255.230.0.0 ขึ้นไป
ข. เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
ค. เริ่มตั้งแต่ 255.250.0.0 ขึ้นไป
ง. เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป

10. สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ของคลาส C เริ่มตั้งแต่หมายเลขใดขึ้นไป
ก. เริ่มตั้งแต่ 255.252.0.0 ขึ้นไป
ข. เริ่มตั้งแต่ 255.253.0.0 ขึ้นไป
ค. เริ่มตั้งแต่ 255.254.0.0 ขึ้นไป
ง. เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
เฉลย
1.ก 2.ค 3.ง 4.ค 5.ก 6.ข 7.ง 8.ก 9.ข 10.ง