Thursday, June 25, 2009

Router

แบบทดสอบ

1. ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่หลักของ Router ได้ถูกต้อง
ก. การหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด
ข. การอ้างอิงไอพีแอดเดรสระหว่างเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย
ค. เป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น
ง. ถูกทุกข้อ

เฉลย ง. ถูกทุกข้อ
หน้าที่หลักของ Router ได้แก่ การอ้างอิงไอพีแอดเดรสระหว่างเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย รวมทั้งการเลือกและจัดเส้นทางที่ดีที่สุด เพื่อนำข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบของแพ็กเกจจากเครื่องลูกข่ายต้นทางบนเครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย
หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น

ที่มา : http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?mode=quote&comment=4&index=3&table_id=1&cate_id=20&post_id=3493 หัวข้อการทำงานของ Router บรรทัดที่ 7

2. รูปแบบลักษณะการเชื่อมต่อของ Router ผ่าน WAN มีอยู่กี่รูปแบบ
ก. 3
ข. 5
ค. 7
ง. 9

เฉลย ค. 7
รูปแบบลักษณะการเชื่อมต่อของ Router ผ่าน WAN มีอยู่หลายรูปแบบ ดังนี้
1. แบบ Point To Point หรือระหว่างจุด
2. แบบ Hub and Spoke (รูปแบบ Star)
3. แบบ Serial Bus
4. แบบ Loop ปิด
5. แบบ Mesh ซึ่งประกอบด้วย Semi หรือ Partial Mesh และ Fully Mesh
6. แบบผสม หรือ Hybrid
7. แบบ ระดับขั้น (Hierarchical)

3. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบใดที่เรียบง่ายที่สุด
ก. แบบ Hub and Spoke
ข. แบบ Loop ปิด
ค. แบบ Serial Bus
ง. แบบ Point To Point หรือระหว่างจุด

เฉลย ง. แบบ Point To Point หรือระหว่างจุด
แบบ Point To Point
เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายที่เรียบง่ายที่สุด โดยท่านอาจมี 2 เครือข่าย เช่น เครือข่ายบริษัทแม่ และสาขา มาเชื่อมต่อกัน เป็นต้น

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อ แบบ Point To Point บรรทัดที่ 1


4. การเชื่อมต่อแบบ Loop ปิด มีลักษณะอย่างไร
ก. เป็นการเชื่อมต่อที่มีด้านปลายด้านใดด้านหนึ่งเชื่อมต่อกับปลายของอีกด้านหนึ่ง
ข. เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่เน้นจำนวนของช่องสัญญาณการเชื่อมต่อระหว่างกันหลายช่องทาง
ค. เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง Router ที่อยู่ห่างไกลกันมาก
ง. เหมาะสำหรับท่านที่มีเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่ายขึ้นไป

เฉลย ก. เป็นการเชื่อมต่อที่มีด้านปลายด้านใดด้านหนึ่งเชื่อมต่อกับปลายของอีกด้านหนึ่ง
การเชื่อมต่อแบบ Loop ปิด
- เป็นการเชื่อมต่อที่มีด้านปลายด้านใดด้านหนึ่งเชื่อมต่อกับปลายของอีกด้านหนึ่ง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบนี้อยู่ที่การมี Redundant หากเส้นทางการเชื่อมต่อจุดใดจุดหนึ่งเกิดขาดก็ยังสามารถเชื่อมต่ออันได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ท่านยังสามารถเลือกใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางอีกด้วย อย่างไรก็ดีการใช้ โปรโตคอลที่มีประสิทธิภาพด้อย อาจทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า Routing Loop

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อ การเชื่อมต่อแบบ Loop ปิด บรรทัดที่ 1


5. Interior Domain Routing Protocol สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ก. 2
ข. 4
ค. 6
ง. 8
เฉลย ก. 2
Interior Domain Routing Protocol
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- Distance Vector ซึ่งเป็น Routing Protocol ที่อาศัยหลักเกณฑ์ในเรื่องระยะทางเป็นตัวกำหนด
- Link State ซึ่งอาศัยสถานะ การเชื่อมต่อเป็นตัวกำหนด

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อโปรโตคอลเลือกเส้นทางคืออะไร ? ย่อหน้าที่ 4 บรรทัดที่ 1


6. โปรโตคอลเลือกเส้นทางสามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ระดับชั้น (Class) ใหญ่
ก. 2
ข. 5
ค. 7
ง. 9

เฉลย ก. 2
โปรโตคอลเลือกเส้นทาง สามารถแบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class) ใหญ่ ได้ 2 แบบ ดังนี้
- ระดับขั้น Interior Domain หรือ Intra-Domain Routing Protocol
- ระดับขั้น Exterior หรือ Inter Domain Gateway Routing Protocol
7. Core Router มีลักษณะที่โดดเด่นกว่า Router ในระดับอื่นๆ อย่างไร
ก. สามารถเชื่อมต่อกับ Core Router อื่นๆ ผ่านทาง ATM ก็ได้
ข. มีบัฟเฟอร์เป็นจำนวนมากเพื่อใช้เก็บตารางเส้นทาง (Routing Table) ขนาด
ค. เป็น Router แบบ Multi-Layer Multi-protocol
ง. ข้อ ก และ ค กล่าวถูกต้อง

เฉลย ง. ข้อ ก และ ค กล่าวถูกต้อง
ระดับชั้น Core
- Core Router มีลักษณะที่โดดเด่นกว่า Router ในระดับอื่นๆ ตรงที่ เป็น Router แบบ Multi-Layer Multi-protocol ที่สามารถสนับสนุน การเชื่อมต่อรูปแบบต่างๆ ได้มากมาย สามารถเชื่อมต่อกับ Core Router อื่นๆ ผ่านทาง ATM ก็ได้ Router ระดับ Core นี้บางครั้งถูกเรียกว่า Back Bone Router เป็น Router ที่เชื่อมต่อกับกลุ่มของ Distributed Router จำนวนหนึ่ง

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อการเชื่อมต่อแบบลำดับขั้น (Hierarchical) ย่อหน้าที่ 4 บรรทัดที่ 1


8. ระดับชั้น Distributor ซึ่ง Router ในระดับนี้มักเป็น Router ขนาดใด
ก. ขนาดเล็ก
ข. ขนาดกลาง
ค. ขนาดใหญ่
ง. ขนาดใหญ่ที่สุด
เฉลย ข. ขนาดกลาง
ระดับชั้น Distributor
- Router ในระดับนี้ มักเป็น Router ขนาดกลาง ที่อาจมีพอร์ตที่เชื่อมต่อกับ Router ในระดับ Access มากกว่า 4 พอร์ตขึ้นไป Router ในระดับนี้ บางรุ่น อาจมี Port เชื่อมต่อกับ WAN มากถึง 16 พอร์ต หรืออาจมีมากกว่านั้น ที่สำคัญ Router จะต้องมีซีพียูความเร็วสูง โดยอาจมีความเร็วเกินกว่า 120 MHz ขึ้นไป รวมทั้งมีบัฟเฟอร์เป็นจำนวนมากเพื่อใช้เก็บตารางเส้นทาง (Routing Table) ขนาด

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อการเชื่อมต่อแบบลำดับขั้น (Hierarchical) ย่อหน้าที่ 3 บรรทัดที่ 1


9. ถ้าหากว่าเราใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์และใช้การ์ดแลนแบบ 100Base-FX ซึ่งใช้สาย Fiber Optic แบบ 2 Core (2 Strand) ขนาด 62.5/125 ความยาวคลื่นขนาด 850 nm เราจะสามารถเชื่อมต่อได้ระยะทางกี่เมตรและต่อกี่ด้าน
ก. 402 เมตร ต่อ 1 ด้าน
ข. 412 เมตร ต่อ 1 ด้าน
ค. 422 เมตร ต่อ 2 ด้าน
ง. 432 เมตร ต่อ 2 ด้าน

เฉลย ข. 412 เมตร ต่อ 1 ด้าน
- ในกรณีที่ท่านใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์และใช้การ์ดแลนแบบ 100Base-FX ซึ่งใช้สาย Fiber Optic แบบ 2 Core (2 Strand) ขนาด 62.5/125 ความยาวคลื่นขนาด 850 nm ท่านสามารถเชื่อมต่อได้ระยะทาง 412 เมตร ต่อ 1 ด้าน

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อประเภทของสื่อสัญญาณที่ใช้ บรรทัดที่ 1


10. Router ที่ทำจาก Server เหมาะสำหรับ ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกินกี่ % เท่านั้นและโดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้นทั้งหมดกี่ % เป็นของภายในเครือข่าย
ก. ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 20% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 80% เป็นของภายในเครือข่าย
ข. ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 20% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 90% เป็นของภายในเครือข่าย
ค. ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 30% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 80% เป็นของภายในเครือข่าย
ง. ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 30% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 90% เป็นของภายในเครือข่าย

เฉลย ก. ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 20% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 80% เป็นของภายในเครือข่าย
- ข้อแตกต่างประการหนึ่งระหว่าง Layer 3 Switches กับ Router ที่ทำจาก Server ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ Router ที่ทำจาก Server เหมาะสำหรับ ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 20% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 80% เป็นของภายในเครือข่าย แต่สำหรับ Switches แบบ Layer 3 เหมาะสำหรับ การสื่อสารข้อมูลที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย 80% อีก 20% เป็นการสื่อสารภายใน รวมทั้ง สนับสนุนการสื่อสารแบบ 80% เป็นภายในเครือข่าย และ 20% แบบออกนอกเครือข่าย เช่นเดียวกับ Router ที่ทำจาก Server ได้อีกด้วย

ที่มา : http://hospital.moph.go.th/sapphaya/DownLoad/Download/เปิดโลกเครือข่าย%20CISCO%20ตอนหลักการทำงานและติดตั้ง%20Router%20ภายใต้%20Routing%20Protocol.htm หัวข้อปริมาณและขนาดความซับซ้อนของเครือข่าย *หมายเหตุ : ตารางสีฟ้า

แบบทดสอบระบบการสื่อสารข้อมูล 60 ข้อ

1. ข้อใดคือ 11001010.00011101.00111001.00000010
ก. 202.50.5.3
ข. 202.53.3.2
ค. 202.29.57.2
ง. 202.29.5.2

2. ข้อใดคือ 01111101.00011000.10011011.01000010
ก. 125.20.155.66
ข. 125.24.155.66
ค. 125.50.15.66
ง. 120.25.55.58

3. 42.58.5.29 คือ IP Class อะไร
ก. A
ข. B
ค. C
ง. D

4. IP Class A รองรับได้กี่ Host
ก. Host
ข. Host
ค. Host
ง. Host

5. IP Private Class C รองรับได้กี่ Host
ก. Host
ข. Host
ค. Host
ง. Host

6. คลาสของ Network ข้อใดคือ class A
ก. N.N.N.H
ข. N.H.H.H
ค. N.H.N.H
ง. H.H.H.N

7. คลาสของ Network ข้อใดคือ class C
ก. N.N.N.H
ข. N.H.H.H
ค. N.H.N.H
ง. H.H.H.N

8. Private IP Addresses Class B คือ
ก. 192.168.0.0 through 192.168.255.255
ข. 172.16.0.0 through 172.16.255.255
ค. 10.0.0.0 through 10.255.255.255
ง. 172.16.0.0 through 172.31.255.255

9. Broadcast Address ของ Class C คือ
ก. 255.255.255.254
ข. 255.255.255.256
ค. 255.255.255.255
ง. 255.255.255.0

10. ข้อใดคือ Private IP Address
ก. 12.0.0.1
ข. 172.20.14.36
ค. 168.172.19.39
ง. 172.33.194.30

Thursday, June 11, 2009

Ethernet

- อีเธอร์เน็ต ( Ethernet) เป็นชื่อเรียกวิธีการสื่อสารในระดับล่างหรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ของระบบ LAN ชนิดหนึ่งคะ พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่คือบริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปี ค.ศ. 1976 ตามมาตรฐาน IEEE 802.3
- การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10 Base-T คะ โดยปกติสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub แต่ถ้าเป็นการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps จะเรียกว่า Fast Ethernet หากความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000Mbps หรือ 1Gbps จะเรียกว่า Gigabit Ethernet
- ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ
- Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ
- คำว่าอีเทอร์เน็ต (Ethernet) หมายถึง ความหมายที่มีอยู่ทั่วไปของอีเทอร์เน็ตซึ่งมีหลากหลายมาตรฐาน อีเทอร์เน็ตพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Xerox (โดยได้แนวคิดมาจากโครงการสื่อสารผ่านดาวเทียม Aloha ที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัย Hawaii) เพื่อเป็นมาตรฐานสำคัญของเครือข่าย LAN ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ระบบที่ใช้อีเทอร์เน็ตนั้นเหมาะกับงานที่ต้องการรับส่ง/ข้อมูลในอัตราความเร็วสูงเป็นช่วง ๆ เป็นครั้งคราว การรับ/ส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตแต่ละครั้งเครื่องเป็นไปอย่างไม่มีวินัย นั่นคือเมื่อตรวจสอบแล้วว่าในขณะนั้นไม่มีเครื่องอื่น ๆ กำลังส่งข้อมูล แต่ละอย่างเครื่องจะแย่งกันส่งข้อมูลออกมา โดยเครื่องใดที่ส่งข้อมูลออกมาจะมีหน้าที่เฝ้าดูว่ามีเครื่องอื่นทำการส่งข้อมูลออกไปพร้อมกันด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเกิดการส่งพร้อมกันแล้วจะก่อให้เกิดการชนกันของข้อมูล แต่ถ้าตรวจจับได้ว่ามีการขนกันขึ้นก็จะหยุดส่งแล้วรอคอยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนจะทำการส่งข้อมูลออกไปอีกครั้งหนึ่ง เวลาที่ใช้ในการรอคอยนั้นเป็นค่าที่สุ่มขึ้นมา ซึ่งมีความสั้นยาวต่างกันไป เทคนิคหลายอย่างเช่นที่นำมาใช้ในการรอคอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันซ้ำสอง หนึ่งในนั้นคือ คำนวณการเพิ่มระยะเวลารอคอยแบบ Exponential ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection (CSMA/CD)
- เนื่องจากการ์ดอีเทอร์เน็ตที่ใช้ในเครือข่ายแบบนี้สร้างมาจากหลายผู้ผลิต จึงมีองค์กรมาตรฐานขึ้นมากำหนดหมายเลขประจำให้ผู้ผลิตแต่ละราย เพื่อสร้างความมั่นใจให้การ์ดแต่ละใบจะไม่มีแอดเดรสที่ซ้ำกัน การส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ตนั้นจะเป็นไปในแบบเฟรมที่มีความยาวไม่แน่นอน แม้ว่าเฟรมข้อมูลของอีเทอร์เน็ตจะมีแอดเดรสต้นทางและปลาย แต่เทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตเองกลับเป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายสัญญาณ (Broadcast) ซึ่งในเครื่องเครือข่ายเดียวกันจะได้รับเฟรมข้อมูลเดียวกันทุกเฟรม โดยเลือกเฉพาะเฟรมที่มีแอดเดรสปลายทางเป็นของตนเองเท่านั้น ส่วนเฟรมอื่น ๆ จะไม่สนใจ แต่ในบางกรณ๊ที่มีการทำงานในโหมด Promiscuous ซึ่งเป็นโหมดที่นำเฟรมข้อมูลทุกเฟรมไปใช้งานโดยส่งต่อไปยังซอฟแวร์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป เช่น กรณีของเครื่องที่ทำหน้าที่วิเคราะห์โปรโตคอล (Protocal Analyzer) หรืออาจจะเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีของพวกแฮกเกอร์ก็ได้ กรณีเช่นนี้จะเห็นถึงความปลอดภัยของมาตรฐานนี้



Gigabit Ethernet (IEEE802.3z)
เครือข่ายความเร็วสูง Gigabit Ethernet


- ปัจจุบันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกขณะ การเจริญเติบโตของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เหล่านี้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีสัญญานบ่งบอกว่าจะมีการ ชลอตัวแต่อย่างใด เครือข่ายแบบท้องถิ่นในองค์กรต่างๆ ตลอดจน บริษัท สถานศึกษาส่วนใหญ่กว่า80% จะนิยมใช้เครือข่าย Ethernet ส่วนที่เหลือก็จะเป็นพวก FDDI/CDDI, ATM และอื่นๆ ด้วยความต้องการการส่งผ่านข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามขนาดและจำนวน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ตลอดจนการเติบโตของ Internet อย่างรวดเร็ว จึงทำให้เครือข่าย Ethernet แบบดั้งเดิมที่มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลอยู่ที่ 10 Mbps เริ่มจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Gigabit Ethernet (IEEE802.3z) เป็นมาตรฐานใหม่ของเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่น (LAN-Local Area-Network) ที่พัฒนามาจาก เครือข่ายแบบ Ethernet แบบเก่าที่มีความเร็ว 10 Mbps ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ระดับความเร็ว 1 Gbps ทั้งนี้เทคโนโลยีนี้ ยังคงใช้กลไก CSMS/CD ในการร่วมใช้สื่อเหมือนEthernet แบบเก่า หากแต่มีการพัฒนาและดัดแปลงให้สามารถรองรับความเร็วในระดับ 1 Gbps ได้
- Gigabit Ethernet เป็นส่วนเพิ่มขยายจาก 10 Mbps และ 100 Mbps Ethernet (มาตราฐาน IEEE 802.3 และ IEEE802.3u ตามลำดับ) โดยที่มันยังคงความเข้ากันได้กับมาตราฐานแบบเก่าอย่าง100% Gigabit Ethernet ยังสนับสนุนการทำงานใน mode full-duplex โดยจะเป็นการทำงานในการเชื่อมต่อระหว่าง Switch กับ Switch และระหว่าง Switch กับ End Station ส่วนการเชื่อมต่อผ่าน Repeater, Hub ซึ่งจะเป็นลักษณะของShared-media (ซึ่งใช้กลไก CSMA/CD) Gigabit Ethernet จะทำงานใน mode Half-duplex ซึ่งสามารถจะใช้สายสัญญาณได้ทั้งสายทองแดงและเส้นใยแก้วนำแสง


รูปที่ 1 แสดงส่วนประกอบต่างๆของ Gigabit Ethernet ซึ่งได้มีการรวม Fiber Channel เข้าไว้ด้วย
ที่มา: 1.
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/gigabit/index.html
2. http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=68e9a256635f4617



แบบทดสอบ


1. Ethernet ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. ใด
ก. ค.ศ. 1974
ข. ค.ศ. 1975
ค. ค.ศ. 1976
ง. ค.ศ. 1978

เฉลย ค. ค.ศ. 1976
อีเธอร์เน็ต ( Ethernet) เป็นชื่อเรียกวิธีการสื่อสารในระดับล่างหรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ของระบบ LAN ชนิดหนึ่งคะ พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่คือบริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปี ค.ศ. 1976 ตามมาตรฐาน IEEE 802.3

ที่มา :
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=68e9a256635f4617


2. Fast Ethernet เป็นการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็วกี่ Mbps
ก. 10Mbps
ข. 100Mbps
ค. 1000Mbps
ง. 10000Mbps

เฉลย ข. 100Mbps
ถ้าเป็นการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps จะเรียกว่า Fast Ethernet

ที่มา :
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=68e9a256635f4617


3. Gigabit Ethernet เป็นการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็วกี่ Mbps
ก. 10Mbps
ข. 100Mbps
ค. 1000Mbps
ง. 10000Mbps

เฉลย ค. 1000Mbps
หากความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000Mbps หรือ 1Gbps จะเรียกว่า Gigabit Ethernet

ที่มา :
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=68e9a256635f4617


4. UTP 10Base-T สามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึงกี่ Mbps
ก. 10Mbps
ข. 100Mbps
ค. 1000Mbps
ง. 10000Mbps

เฉลย ก. 10Mbps
UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub

ที่มา :
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=68e9a256635f4617


5. อีเธอร์เน็ตจะใช้เทคนิคในการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า
ก. CSMA/CD
ข. CSMF/CE
ค. CSMS/CD
ง. CSMO/CE

เฉลย ก. CSMA/CD
อีเธอร์เน็ตจะใช้เทคนิคในการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access / Collision Detection)

ที่มา :
http://www2.cs.science.cmu.ac.th/seminar/2547/Powerline_Network/nettech.htm


6. Ethernet มาตรฐาน IEEE 802.3 มีการต่อสายอยู่กี่แบบ
ก. 1 แบบ
ข. 2 แบบ
ค. 3 แบบ
ง. 4 แบบ

เฉลย ค. 3 แบบ
Ethernet มาตรฐาน IEEE 802.3 ใช้การต่อสายแบบบัสและใช้โพรโตคอลแบบ CSMA/CD มีการต่อสายอยู่ 3 แบบ
• Thick (10Base5)
• Thin (10Base2)
• Twisted-Pair (10Base-T)

ที่มา :
http://panudech.rmutl.ac.th/OPN/Slide08.pdf หน้าที่ 8


7. 1000Base-T คือ
ก. สายเคเบิลที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคลัสเตอร์เซิร์ฟเวอร์
ข. เป็นสายเคเบิลที่ใช้ในการเชื่อมต่อกันระหว่างอาคารในบริเวณเดียวกัน
ค. สายเคเบิลที่ใช้ในการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องเดสก์ทอปหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์
ง. เป็นสายเคเบิลที่ใช้ในการเชื่อมต่อภายในอาคาร

เฉลย ค. สายเคเบิลที่ใช้ในการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องเดสก์ทอปหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 1000Base-T(Long Haul Copper)สายเคเบิลที่ใช้ในการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องเดสก์ทอปหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ใช้สายเคเบิลแบบ CAT5UTP ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้ระยะทางไกล100 เมตร

ที่มา :
http://panudech.rmutl.ac.th/OPN/Slide08.pdf หน้าที่ 20

Wednesday, June 10, 2009

ToPoLoGy

โทโปโลยี คือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้



1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่ออยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้


2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน

5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

URL : http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

แบบทดสอบ

1. รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีกี่รูปแบบ
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5

เฉลย ง. 5
รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
4.โทโปโลยีแบบ Hybrid
5.โทโปโลยีแบบ MESH
ที่มา : http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm


2. ข้อดีของโทโปโลยีแบบบัส BUS คือ
ก. ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน
ข. คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ค. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย
ง. ไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป

เฉลย ค. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย
เสียค่าใช้จ่ายน้อย
ที่มา : http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
ย่อหน้าที่ 2 บรรทัดที่ 8


3. โทโปโลยีแบบวงแหวน RING เป็นรูปแบบลักษณะใด
ก. เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย
ข. เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกัน
ค. เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
ง. เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม

เฉลย ง. เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม
ที่มา : http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm ย่อหน้าที่ 3 บรรทัดที่ 1


4. ข้อเสียของโทโปโลยีแบบดาว STAR คือ
ก. ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้
ข. เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง
ค. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่ออยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว
ง. การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก

เฉลย ข. เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง
ที่มา : http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm ย่อหน้าที่ 4 บรรทัดที่ 6


5. ระบบโทโปโลยีแบบใดยากต่อการเดินสาย มีราคาแพงและไม่ค่อยมีผู้นิยมมากนัก
ก. MESH
ข. Hybrid
ค. STAR
ง. RING

เฉลย ก. MESH
ที่มา : http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm ย่อหน้าที่ 6 บรรทัดที่ 1

ระบบการสื่อสารข้อมูล

แบบทดสอบ เรื่อง อุปกรณ์ OST Topology และ สัญญาณ

1. วิธีการรวมช่องทางการสื่อสารข้อมูลมีกี่วิธี
ก. 1 วิธี
ข. 2 วิธี
ค. 3 วิธี
ง. 4 วิธี

เฉลย ค. 3 วิธี
วิธีการรวมช่องทางการสื่อสารข้อมูล 3 วิธี คือ
- การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งตามความถี่ / FDM
- การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งตามเวลา / TDM
- การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งตามกาลเวลาด้วยสถิติ / STDM
ที่มา : http://www.rbru.ac.th/courseware/science/4000107/lesson6/lesson6.5.html
ย่อหน้าที่ 1 บรรทัดที่ 1,6,13


2. เครื่องทวนซ้ำสัญญาณ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับใด
ก. Data Link Layer
ข. Physical Layer
ค. Network Layer
ง. Transport Layer

เฉลย ข. Physical Layer
เครื่องทวนซ้ำสัญญาณ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Physical Layer ใน OSI Model
ที่มา : http://www.rbru.ac.th/courseware/science/4000107/lesson6/lesson6.5.html
ย่อหน้าที่ 2 บรรทัดที่ 1


3. เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับใด
ก. Data Link Layer
ข. Physical Layer
ค. Network Layer
ง. Transport Layer

เฉลย ค. Network Layer
เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่สูงกว่าบริดจ์ นั่นคือในระดับ Network Layer ใน OSI Model
ที่มา : http://www.rbru.ac.th/courseware/science/4000107/lesson6/lesson6.5.html
ย่อหน้าที่ 2 บรรทัดที่ 14


4. แบบจำลอง OSI จะแบ่งการทำงานของระบบเครือข่ายออกเป็นกี่ชั้น
ก. 5 ชั้น
ข. 6 ชั้น
ค. 7 ชั้น
ง. 8 ชั้น

เฉลย ค. 7 ชั้น


ที่มา : http://www.udonoa.com/www-tam/Knowledge/OSImodel.html


5. Layer5, Session Layer ทำหน้าที่ใด
ก. เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งในชั้นเดียวกันว่า การรับส่งข้อมูลในระดับโปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและข้อบังคับอย่างไร
ข. เป็น Layer ที่ควบคุมการสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทางแบบ End to End และคอยควบคุมช่องทางการสื่อสารในกรณีที่มีหลายๆ
ค. เป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการรับส่งข้อมูล ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้
ง. เป็น Layer ที่มีหน้าที่หลักในการแบ่งข้อมูลใน Layer บนให้พอเหมาะกับการจัดส่งไปใน Layer ล่าง

เฉลย ข. เป็น Layer ที่ควบคุมการสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทางแบบ End to End และคอยควบคุมช่องทางการสื่อสารในกรณีที่มีหลายๆ
ที่มา : http://www.udonoa.com/www-tam/Knowledge/OSImodel.html


6. โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology) มีลัษณะอย่างไร
ก. เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
ข. เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน
ค. เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน ข้อมูลจะถูกส่งต่อ ๆ กันไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง
ง. เป็นโครงสร้างที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่ละเครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย

เฉลย ข. เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน
ที่มา : http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net7.htm


7. Topology แบบใดมีผู้นิยมใช้มากที่สุด
ก. แบบ Bus
ข. แบบ Star
ค. แบบ Ring
ง. แบบ Hybrid

เฉลย ก. แบบ Bus
แบบ Bus เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณหรืออุปกรณ์สลับสายเหมือนแบบวงแหวนหรือแบบดาว
ที่มา : http://www.geocities.com/Pennapa_lan/Lan_topology.htm


8. โทโพโลยีแบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ
ก. 2 ลักษณะ
ข. 4 ลักษณะ
ค. 6 ลักษณะ
ง. 8 ลักษณะ

เฉลย ก. 2 ลักษณะ
ในการกล่าวถึงโทโพโลยีจะกล่าวถึงใน 2 ลักษณะ คือ
โทโพโลยีทางตรรกะ (logical topology) และโทโพโลยีทางกายภาพ (Physical Topology)
ที่มา : http://www.geocities.com/dokmitong/p9_4.htm ย่อหน้าที่ 1 บรรทัดที่ 2


9. สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 4 ประเภท
ค. 6 ประเภท
ง. 8 ประเภท

เฉลย ก. 2 ประเภท
สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือสัญญาณอะนาลอกและสัญญาณดิจิตอล
ที่มา : http://www.angelfire.com/bug/pantha/2.htm


10. การส่งสัญญาณข้อมูลแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 4 ประเภท
ค. 6 ประเภท
ง. 8 ประเภท

เฉลย ก. 2 ประเภท
การส่งสัญญาณข้อมูลแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ การส่งแบบขนานและแบบอนุกรม
ที่มา : http://www.angelfire.com/bug/pantha/2.htm