Saturday, November 22, 2008

คำสั่งต่างๆ



คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการไฟล์

1. Is
คำสั่ง Is เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงชื่อไฟล์หรือไดเร็คทอรี่ย่อยต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ไดเร็คทอรี่ปัจจุบันหรือไดเร็คทอรี่ที่ระบุ
รูปแบบ : Is [option] [file_name directory_name]file_name คือ ชื่อไฟล์ที่ต้องการแสดง ในกรณีที่ต้องการระบุชื่อไฟล์directory_name คือ ชื่อไดเร็คทอรี่ที่ต้องการแสดง ในกรณีที่ต้องการระบุชื่อไดเร็คทอรี่ option คือ ทางเลือกอื่นๆ ในการแสดงชื่อไฟล์ ที่สำคัญมีดังนี้

-l คือ การแสดงรายชื่อไฟล์แบบยาว ข้อมูลที่แสดงด้วยทางเลือกนี้จากซ้ายไป ขวา ได้แก่ ชนิดและโหมดของไฟล์ จำนวนลิงค์ ชื่อเจ้าของ ขนาดของไฟล์ วันที่ที่มีการแก้ไขไฟล์ครั้งล่าสุด และชื่อของไฟล์ ซึ่งถ้าไม่ใส่ทางเลือกนี้ แล้ว คำสั่ง Is ก็จะแสดงเฉพาะชื่อของไฟล์ออกมาก
-t แสดงชื่อของไฟล์ โดยเรียงลำดับที่แก้ไขไฟล์ครั้งสุดท้าย โดยจะแสดงชื่อของ ไฟล์ที่ได้รับการแก้ไขหลังสุดก่อน ถ้าไม่ใส่ทางเลือกนี้ Is ก็จะพิมพ์รายชื่อ ของไฟล์เรียงตามลำดับตัวอักษร
-d ใช้ในการบังคับให้แสดงข้อมูลของไดเร็คทอรีที่ระบุไว้ในส่วนของ argument ซึ่ง ถ้าไม่ใช้ทางเลือกนี้แล้ว คำสั่ง Is จะแสดงรายชื่อไฟล์ “ภายใต้” ไดเร็คทอรีที่ ระบุแทน
-a โดยปรกติแล้ว คำสั่ง Is จะไม่แสดงชื่อของไฟล์ที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย “.” ออกมาการใช้ทางเลือกนี้เพื่อที่จะให้แสดงรายชื่อไฟล์ทุกไฟล์ เช่น “.profile”
ตัวอย่าง : การใช้คำสั่ง Is กับ option -l
$ Is –l /usr/acct/dks/book-rw-rw-r- - 1 dks usr 4680 Nov 9 14:51 /usr/acct/dks/book/chapter1-rw-rw-r- - 1 dks usr 3178 Nov 10 12:58 /usr/acct/dks/book/chapter2-rw-rw-r- - 1 dks usr 1685 Nov 10 16:07 /usr/acct/dks/book/chapter3

ตัวอย่าง : การใช้คำสั่ง Is กับ option -l และ -d
$ Is –ld /usr/acct/dks/bookdrwxrwxr-x 2 dks usr 80 Nov 8 12:27 /usr/acct/dks/book


2. Cd คำสั่งChange Directoryของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งCDของDOS)
รูบแบบการใช้งาน : cd [directory]
ตัวอย่าง : cd /etc [Enter]ไปDirectory etc cd ..[Enter] ย้ายไปDirectoryอีก1ชั้น

3. Pwd เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดง Directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับการพิมพ์ cd บน DOS)
มาจากคำว่า print work directory
รูปแบบ : pwd
ตัวอย่าง : การแสดงว่าขณะนี้เราทำงานอยู่ที่ไดเร็คทอรี่ใด

$ pwd
/home/train1

4.File คำสั่งfileบนระบบ DOS/Windows นั้น ประเภทของแฟ้มข้อมูลจะถูกระบุด้วยนามสกุล แต่ใน UNIX จะไม่มีนามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นการหาประเภทของแฟ้มข้อมูลจะดูจาก Context ภายในของแฟ้ม ซึ่งคำสั่ง file จะทำการอ่าน Content และบอกประเภทของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ
รูปแบบคำสั่ง : file [option]... file
ตัวอย่าง : file /bin/shfile report1.doc

5. Mv เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการย้ายแฟ้มข้อมูลและ Directory รวมถึงการเปลี่ยนชื่อด้วย (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า move
รูปแบบคำสั่ง : mv source target
ตัวอย่าง : mv *.tar /backup, mv test.txt old.txt, mv bin oldbin

6. Mkdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า make directory
รูปแบบของคำสั่ง : mkdir mkdir [option] [file]
โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ
-m จะทำการกำหนด Permissioin (ให้ดูคำสั่ง chmod เพิ่มเติม)
-p จะทำการสร้าง Parent Directory ให้ด้วยกรณีที่ยังไม่มีการระบุ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้
ตัวอย่าง : mkdir /home, mkdir -p -m755 ~/้home/user1


7.Rm คำสั่งสำหรับการลบไฟล์
รูปแบบ : rm [option]

option คือทางเลือกที่จะใช้กับคำสั่ง rm โดยจะยกตัวอย่างที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่
-r คือ การสั่งให้ลบไดเร็คทอรี่และไฟล์ภายใต้ไดเร็คทอรี่ (recursive)
-f คือ การสั่งยืนยันการลบ (force) จะไม่ขึ้น prompt ถามยืนยันการลบ
file_name คือ ชื่อไฟล์ที่ต้องการลบ
directory_name คือ ชื่อไดเร็คทอรี่ที่ต้องการลบ
ตัวอย่าง การลบมากกว่า 1 ไฟล์
$ rm oldbills oldnotes badjokes
ตัวอย่าง การลบไดเร็คทอรี่และไฟล์ภายใต้ไดเร็คทอรี่
$ rm -r ./bin
ตัวอย่าง การลบแบบยืนยันการลบ
$ rm –f oldbills oldnotes badjokes

8. Rmdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบ directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า remove directory
โครงสร้างคำสั่ง : rmdir [option] [file]
โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ
-p จะทำการลบ Child และ Parent Directory ตามลำดับ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้

ตัวอย่าง : rmdir /home

9. Chown คำสั่ง Change Owner ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน : chown [ชื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อFile)
ตัวอย่าง : chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็น User1chown -R user1.root dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname.


10. Chgrp คำสั่ง Change Group ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์)
รูปแบบการใช้งาน : chgrp [-chfRv] (Group) (File)
ตัวอย่าง : chgrp root /root/* เปลี่ยน Group ให้กับไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรคทอรี่ /root ให้เป็น Group root



คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการโปรเซส

1. Ps
แสดง Process หรือโปรแกรมที่ประมวลผลอยู่ในระบบขณะนั้น
ช่วยให้ผู้ดูแลระบบ ติดตามได้ว่ามีโปรแกรมอะไรที่ไม่ถูกต้อง run อยู่ หรือโปรแกรมอะไร ที่ผู้ศึกษาลองประมวลผลแล้วค้างอยู่ จะได้ทำการแก้ไง มิฉนั้นระบบก็จะทำงานค้าง เพราะโปรแกรมที่ไม่ควรอยู่ในระบบ กำลังประมวลผลโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะพวก bot จะทำให้ server ล่มง่ายมาก
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
ps :: แสดงชื่อ process ต่าง ๆ ที่ทำงานอยู่อย่างสั้น
ps -ef :: แสดงข้อมูลของ process โดยละเอียด
ps -ax :: แสดงข้อมูลของ process พร้อมชื่อโปรแกรมได้ละเอียด
ps -aux :: แสดงข้อมูลของ process พร้อมชื่อโปรแกรม และชื่อผู้สั่งได้ละเอียดมาก

2. Kill
เมื่อทราบว่า process ใดที่มีปัญหา ก็จะเห็นเลขประจำ process คำสั่ง kill จะสามารถ process ออกจากระบบได้ ช่วยยกเลิก process ที่ไม่ถูกต้องออกจากระบบ ถ้าขณะนั้นผู้ใช้คนหนึ่งกำลังใช้งานอยู่ หาก process หลักของเขาถูก kill จะทำให้ผู้ใช้ท่านนั้น หลุดออกจากระบบทันที (สำหรับคำสั่งนี้จะถูกใช้โดย super user เท่านั้น ผู้ใช้ธรรมดาไม่มีสิทธิ)
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน : kill -9 เลขประจำprocess :: เลขประจำ process จะได้จากการใช้ ps -ef อยู่แล้ว kill -9 1255 :: ลบ process ที่ 1255 ออกจากระบบไป

3. Fg เป็นทางที่สามในการส่ง Signals ให้แก่ process โดยการใช้ kill system call ซึ่งเป็นวิธีในการส่ง signal จาก 1 process ไปยังที่อื่น ๆ โดยสามารถใช้ได้ทั้ง “kill command” หรือ “fg command” ก็ได้ โดยต้องมีการ include signal.h ด้วย จึงจะสามารถใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ ได้เช่น kill เป็นต้น ซึ่ง process จะหยุดการทำงานของตัวเองโดย การส่ง PID ตัวเองไปให้ฟังก์ชัน ใน signal.h จัดการ ดังตัวอย่างการเรียกใช้ฟังก์ชัน kill ในโปรแกรม

4. Bg เป็นโปรเซสทีมีลักษณะการทำงานในฉากหลัง โดยทั่วไปเป็นโปรแกรมที่จะต้องใช้เวลาในการทำงานค่อนข้างนาน และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องติดต่อกับผู้ใช้ เช่น การคอมไพล์โปรแกรม การกำหนดให้คำสั่งหรือโปรเซสใดทำงานในฉากหลังนั้นให้เติมเครื่องหมาย & ที่ท้ายคำสั่งนั้น ๆ

5. Jobs คำสั่ง jobs ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)
รูบแบบการใช้งาน : jobs
ตัวอย่าง : #sleep 20 & jobs



คำสั่งสำรองข้อมูล

1. Tar เป็นคำสั่งเพื่อการ backup และ restore file ทั้งนี้การ tar จะเก็บทั้งโครง สร้าง directory และ file permission ด้วย (เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย หรือแจกจ่ายโปรแกรมบนระบบ UNIX) มาจากคำว่า tape archive
รูปแบบคำสั่ง : tar [option]... [file]...
โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ
-c ทำการสร้างใหม่ (backup)
-t แสดงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแฟ้มที่ backup ไว้
-v ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผล
-f ผลลัพธ์ของมาที่ file
-x ทำการ restore
ตัวอย่าง : tar -xvf data.tar
Tar –cvf backup.tar/home/khajorn เป็นการสร้างไฟล์ Tar จากโฟลเดอร์ Khajorn
Tar –tvf tarfile less แสดงผลออกในรูปแบบคำสั่ง less
Tar –xvf tarfile เป็นการกระจายไฟล์ และไดเรคทรอรี่ในไฟล์ tar ในไดเรคทรอรี่ที่ทำงานอยู่
ถ้าใช้ –czvf แทน –cvf จะสร้างไฟล์ และปิดท้ายด้วย .tgz

2. Gzip : คลายการบีบอัด หรือแตกแฟ้มประเภท .gz : ใช้สำหรับแตกแฟ้มที่ถูกบีบอัด แล้วนามสกุล gz หรือ z แต่ทั่วไปเขาแนะนำให้ใช้ tar สำหรับสกุล .tar.gz
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
gzip -d x.tar.gz :: ใช้แตกแฟ้มที่นามสกุล gz
man gzip :: ใช้ดูว่า gzip ใช้งานอะไรได้บ้าง
gzip -d radius-1.16.1.tar.Z :: ได้แฟ้มนี้จาก
ftp.livingston.com/pub/le/radius/ เป็นระบบรับโทรศัพท์เข้าเครือข่าย
gzip -dc x.tar.Ztar xvf - :: ประหยัดขั้นตอนในการใช้คำสั่ง 2 ครั้ง เพราะคำสั่งชุดนี้จะใช้ทั้ง gzip และ tar กับ x.tar.z ได้ตามลำดับ

3.Gunzip gunzip ของระบบ Unix,Linux (เป็นการบีบอัดไฟล์หรือขยายบีบอัดไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน : gunzip (-cdfhlLnNrtv19 ) [file]
ตัวอย่าง : #gunzip -dvr /home/samba/* คลายการบีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ที่สกุล .gz ในSub /home/samba



คำสั่งเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร

1. telnet : ใช้ติดต่อเข้า server ต่าง ๆ ตาม port ที่ต้องการ แต่ปัจจุบัน server ต่าง ๆ ปิดบริการ telnet แต่เปิด SSH แทน
: user interface to the TELNET protocol
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
telnet 202.202.202.202 :: ขอติดต่อเข้าเครื่อง 202.202.202.202 การไม่กำหนด port คือเข้า port 23
telnet www.school.net.th 21 :: ขอติดต่อผ่าน port 21 ซึ่งเป็น FTP port
telnet mail.loxinfo.co.th 25 :: ตรวจ smtp ว่าตอบสนองกลับมา หรือไม่
telnet class.yonok.ac.th 110 :: ทดสอบ pop service ของ windows server 2003 Microsoft Windows POP3 Service Version 1.0 ready.

2. ftp คำสั่ง ftp ของระบบ Unix,Linux (เป็นโปรแกรมรับ-ส่งไฟล์ )
รูปแบบการใช้งาน : ftp (IP or Name of FTP Server)
ตัวอย่าง : ftp 132.209.1.2 [Enter] Login:anonymous , Password:
Username@YourDomain.com
คำสั่ง ftp จะมีคำสั่งย่อยที่สำคัญๆ ได้แก่
ftp> pwd ดู dir. ที่อยู่
ftp> cd เปลี่ยน dir
ftp> lcd เปลี่ยน local dir
ftp> help ใช้เมื่อต้องการดูคำสั่งที่มีอยู่ในคำสั่ง ftp
ftp> open hostname ใช้เมื่อต้องการ connect ไปยัง host ที่ต้องการ
ftp> close ใช้เมื่อต้องการ disconnect ออกจาก host ที่ใช้งานอยู่
ftp> bye หรือ quit ใช้เมื่อต้องการออกจากคำสั่ง ftp
ftp> ls หรีอ dir ใช้แสดงชื่อไฟล์ที่มีอยู่ใน current directory ของ host นั้น
ftp> get ใช้โอนไฟล์ทีละไฟล์จาก host ปลายทางมายัง localhost หรือเครื่องของเรานั้นเอง
ftp> mget ใช้โอนไฟล์ทีละหลายๆไฟล์จาก host ปลายทางมายัง localhost
ftp> put ใช้โอนไฟล์ทีละไฟล์จาก localhost ไปเก็บยัง host ปลายทาง
ftp> mput ใช้โอนไฟล์ทีละหลายๆไฟล์จาก localhost ไปเก็บยัง host ปลายทาง
ftp> cd ใช้เปลี่ยน directory
ftp> delete และ mdelete ใช้ลบไฟล์

3. lynx : Text browser ที่ใช้งานง่าย ใช้ดู source หรือ download ได้
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
lynx www.thaiall.com :: เพื่อเปิดเว็บ www.thaiall.com แบบ text mode
lynx http://www.yonok.ac.th :: เพื่อเปิดเว็บ www.yonok.ac.th แบบ text mode
lynx -dump http://www.yonok.ac.th :: เพื่อแสดงผลลัพธ์แบบไม่ interactive คือการ view ผลแล้วหยุดทันที
lynx -dump -width=500 http://piology.org/.procmailrc.htmlgrep '^'cut -c3- :: ตัวอย่างการนำไปใช้

4. mesg mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminalmesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้

5. ping : ตรวจสอบ ip ของเครื่องเป้าหมาย และการเชื่อมต่อ internet
: send ICMP ECHO_REQUEST to network hosts
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
ping www.thaiall.com :: ตัวสอบการมีอยู่ของ www.thaiall.com และแสดงเลข IP ของเว็บนี้ping 202.29.78.100 -c 5 :: แสดงผลการทดสอบเพียง 5 บรรทัด
ping 202.29.78.2 :: ผลดังข้างล่างนี้ แสดงว่าไม่พบเครื่องที่มีเลข ip ดังกล่าว
PING 202.29.78.2 (202.29.78.2) from 202.29.78.12 : 56(84) bytes of data.
From 202.29.78.12 icmp_seq=1 Destination Host Unreachable
From 202.29.78.12 icmp_seq=2 Destination Host Unreachable
From 202.29.78.12 icmp_seq=3 Destination Host Unreachable

6. write คำสั่งใช้เพื่อการส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับบนเครื่องเดียวกันเท่านั้น
รูปแบบคำสั่ง : write user [tty] เมื่อมีการพิมพ์คำสั่ง write ผู้ใช้จะเห็นข้อความซึ่งจะแสดงว่าข้อความดังกล่าวถูกส่งมาโดยใคร ซึ่งหากผู้รับต้องการตอบกลับ ก็จะต้องใช้คำสั่ง write เช่นกัน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้พิมพ์ตัวอักษร EOF หรือ กด CTRL+C เพื่อเป็นการ interrupt ทั้งนี้ข้อความที่พิมพ์หลังจาก write จะถูกส่งหลังจากการกด Enter เท่านั้น
ตัวอย่าง : write m2k




คำสั่งอื่นๆ

1. At เป็นคำสั่งตั้งเวลาให้ระบบทำตามคำสั่ง เมื่อทำเสร็จจะส่งเป็น e-mail กลับ มาให้
รูปแบบ : at [-f filename] Time


2. Cpio ย่อจาก Copy in and Out เป็นการแบ็คอัพข้อมูล
รูปแบบการใช้ : Cpio flags [options]
Fc –s [old=new] [command
ตัวอย่างการใช้ :
Cpio –ocv > /dev/fd0
Cpio –icv “*.c” < /dev/fd0


3. Bc คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลขของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน : bc [-lwsqv] [option] [file]
ตัวอย่าง : bc [Enter] 1+2 [Enter] 1^2 [Enter] a=3 [Enter] b=4 [Enter] a*b [Enter] x=2;y=5;x+y[Enter] [Ctrl-d] เพื่อออก
* หมายเหตุ:คำสั่งนี้จะใช้ได้ต้องInstall Packet ลงไปก่อน

4. Basename เป็นคำสั่งสำหรับสกัดเอาชื่อไฟล์โดยตัดส่วนขยายชื่อไฟล์ (file extension) .gif ออก.
เช่นถ้าชื่อไฟล์เป็น a.gif, basename a.gif .gif ก็จะให้ผลเป็น a. และในตัวอย่างเติม .png เข้าไป. นอกจากจะใช้สกัดเอาส่วนที่เป็นชื่อไฟล์ที่ไม่มีส่วนขยายชื่อไฟล์แล้ว, โดยปรกติจะใช้ตัดส่วนที่เป็นไดเรกทอรีที่อยู่หน้าชื่อไฟล์ออกไป. เช่น /usr/bin/perl ถ้าเอาไปเป็นอาร์กิวเมนต์ของคำสั่ง basename ก็จะได้ผลเป็น perl.

5. Last แสดงรายชื่อผู้ใช้งานระบบปัจจุบันไปถึงอดีต ใช้แสดงรายชื่อผู้ login เข้ามาล่าสุด
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
last grep reboot :: ใช้ดูระบบถูก reboot เมื่อใดบ้าง
last more :: ใช้รายชื่อผู้ login เข้ามาในระบบล่าสุดทีละหน้า

6. Crontab ตั้งเวลาสั่งงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
#crontab -l :: แสดงกำหนดการของการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างอัตโนมัติ ตามเวลาที่กำหนด
#cat /etc/crontab :: แสดงตาราง crontab ในเครื่อง

7. Dd เป็นคำสั่งพื้นฐานของลีนุกซ์คำสั่งหนึ่งที่สามารถอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลประเภท Block Device เช่น ดิสก์ต่างๆ แล้วส่งผลลัพธ์ไปเป็นแฟ้มข้อมูล (หรือที่เราเรียกกันว่าไฟล์อิมเมจในเรื่องของการโคลนนิ่งดิสก์) หรืออาจจะทำงานในทางกลับกันก็ได้ เนื่องจากในระหว่างที่อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบ Rescue Mode จะมีคำสั่ง dd นี้ให้ใช้งานได้ เราจึงสามารถนำคำสั่งนี้มาใช้เพื่อการโคลนนิ่งข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ไปเป็นไฟล์อิมเมจได้เช่นเดียวกับการใช้โปรแกรม Norton Ghost


8. Du แสดงการเนื้อที่ใช้งาน ของแต่ละ directory โดยละเอียด ช่วยให้ผู้ดูแลระบบรู้ว่า directory ใด ใช้เนื้อที่ใด หรือใช้ดูรวม ๆ ว่า ผู้ใช้แต่ละคนใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลกันเท่าใด เพราะผู้ใช้ปกติจะใช้กันไม่เยอะ แต่ถ้าตรวจสอบแล้วเยอะผิดปกติ ก็จะเข้าไปดูว่า เยอะเพราะอะไร จะได้แก้ไขได้
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :

du :: เพื่อแสดงรายชื่อ directory และเนื้อที่ที่ใช้ไป
du -all :: เพื่อแสดงโดยละเอียดว่าแต่ละแฟ้มมีขนาดเท่าใด ใน directory ปัจจุบัน
du sort -g :: แสดงการใช้พื้นที่ของแต่ละ directory พร้อม sort จากน้อยไปมาก มีหน่วยเป็น Kb
du -b :: แสดงหน่วยเป็น byte ของแต่ละ directory

9. Dirname ใช้แสดง path ของไดเร็กทอรีที่เราสนใจ

10. Ln (link) เป็นคำสั่งไว้สร้าง link ไปยังที่ ที่ต้องการ คล้ายกับ shortcut ใน windows

11. Env แสดงค่า environment ปัจจุบัน
: run a program in a modified environment
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
env
HISTSIZE=1000
SSH_CLIENT=202.29.78.100 1091 22
OLDPWD=/usr/sbin
QTDIR=/usr/lib/qt3-gcc3.2
SSH_TTY=/dev/pts/0
USER=burin
LS_COLORS=no=00:fi=00:di=00;34:ln=00;36:pi=40;33:so=00;35:bd=40;.... :
PATH=/usr/local/bin:/bin:/usr/bin:/usr/X11R6/bin
MAIL=/var/spool/mail/burin
PWD=/etc
INPUTRC=/etc/inputrc
LANG=en_US.UTF-8
HOME=/root
SHLVL=2
LOGNAME=burin
LESSOPEN=/usr/bin/lesspipe.sh %s
G_BROKEN_FILENAMES=1
_=/bin/env

12. Eject เป็นคำสั่งให้นำคำสั่งที่ตามหลังคำสั่ง EJECT ไปขึ้นหน้าใหม่ ทั้งนี้ เพื่อให้แต่ละส่วนของโปรแกรมใหญ่ๆ ขึ้นหน้าใหม่ ส่วนคำสั่ง EJECT จะไม่ปรากฏใน Assembly Listing

13. Exee ที่ใช้ในการแทนค่าตัวแปรแล้วรันคำสั่งแบบพลวัต (dynamicly) บันทึกพฤติกรรมของ exec ไว้

14. Free แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ
โครงสร้างคำสั่ง : free [-b-k-m]
โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ
-b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte
-k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte
-m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte
ตัวอย่าง : free free -b free -k

15. Groups เป็นคำสั่งที่อยู่ภายใต้คำสั่ง sudo บน debian คำสั่ง groups จะสามารถทำให้ทราบได้ว่าเราอยู่ Group ไหน
ตัวอย่าง : $ groups boat
boat : boat dialout cdrom floppy audio video plugdev
ตัวหลัง ':' จะเป็นชื่อ groups แค่นี้เราก็สามารถใช้งาน คำสั่ง sudo ได้

คำสั่ง groupadd ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเพิ่มรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน : groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง : groupadd staff สร้างกลุ่มของ User ชื่อ Staff เพิ่มให้ระบบ

คำสั่ง groupdel ของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน : groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง : groupdel staff ลบกลุ่มของ User ชื่อ Staffออกจากระบบ


16. Hostname คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่
ตัวอย่าง : $ hostname

17. Lp จะใช้บน SystemV
คำสั่งที่เกี่ยวข้องได้แก่
- lpr เป็นการส่งงานพิมพ์จากเครื่องลูกข่าย Lpr /et/passwd
- lpq ดูงานที่พิมพ์
- lprm เป็นการลบงานพิมพ์ออก Lprm 155 หมายเลข 155 คือชื่องานที่พิมพ์
- lpc เป็นการสั่งควบคุมเครื่องพิมพ์

18. Mount คำสั่ง mount ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบ)
รูบแบบการใช้งาน : mount (-t type) DeviceDriver MountPoint
ตัวอย่าง : การ Mount แบบที่1 CdRom mount -t iso9660 /dev/cdrom /mnt/cdromหรือ# mkdir /mnt/cdrom# mount_cd9660 /dev/cd0a /mnt/cdrom#
การ Mount CdRom แบบที่2 mount /dev/cdrom (เมื่อmountแล้วCDจะอยู่ที่ /mnt/CdRom ยกเลิกดูคำสั่ง Unmount)

19. Mt คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User ของระบบ Unix,Linux ... คำสั่งกำหนดคำสั่งย่อ ของระบบ Unix,Linux

20. Nice คำสั่งหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่อง .... ติดต่อ nice หรือ ติดต่อผู้บริหารเว็บไซต์ + Powered by KnowledgeVolution

21. Nohup โดยปกติหากผู้ใช้เรียกใช้งานโปรแกรมใดๆ ก็ตามหาก Process นั้นยังคงทำงานค้างอยู่ แต่ผู้ใช้ Logout จากระบบก่อนที่ Process จะประมวลผลเสร็จ Process ที่ทำงานค้างอยู่นั้นจะถูก kill โดยอัตโนมัติ เพราะระบบจะไม่ยอมให้ Process ทั่วไปทำงานได้โดยไม่มีหน้าจอ ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาวิธีการที่จะ run process ที่มีความทนทานต่อการ hangup หรือสามารถทำงานต่อไปได้แม้ว่าผู้ใช้จะออกจากระบบไปแล้ว ซึ่งเราะจะเรียกการใช้งาน Process ในลักษณะนี้ว่า NOHUP
เมื่อคุณ logout ออกจากระบบ ทุก process ทั้ง foreground และ background จะหยุดทำงานทั้งหมด คุณสามารถใช้คำสั่ง nohup เพื่อให้ process ทำงานใน background เมื่อคุณ logout แล้วได้ โดยใช้คำสั่ง
$ nohup command &
ตัวอย่างเช่น : เมื่อคุณต้องการใช้คำสั่ง tar เพื่อ backup ไดเร็กทอรี ~/doc ไปไว้ที่ floopy disk
โครงสร้างคำสั่ง : nohup COMMAND [ARG]...
ทั้งนี้หากไม่มีการ Redirection ผลลัพธ์แล้ว ผลลัพธ์จะแสดงออกมายังfile ชื่อ "nohup.out"

22. Netstat เป็นคำสั่งที่มีอยู่ทั้งบน Unix และ Windows ใช้เพื่อตรวจดูสถานะทาง TCP และ UDP บนเครื่องของเรา เป็นคำสั่งพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายอีกคำสั่งหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเฝ้ามองระบบได้ตั้งแต่การแสดงสถานะทั่วไป จนถึงการจับตาดูความเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่อง
# netstat -lnt หรือ # netstat -lnu แสดงหมายเลขพอร์ตที่เปิดให้บริการอยู่
# netstat -rn แสดง Kernel routing table
# netstat -rC แสดง routing cached table
# netstat -ac แสดงความเคลื่อนไหวของ connection จากภายนอก
# netstat -s แสดงข้อมูลสถิติแบ่งตาม packet ชนิดต่างๆ
# netstat -i แสดงข้อมูลสถิติแบ่งตาม interface


23. Od แสดงเนื้อหาในไฟล์ไบนารี่

24. Pr คือส่วนหนึ่งของภาษา HTML. คุณสามารถใช้ BBCode ในข้อความที่คุณพิมพ์. และคุณสามารถยกเลิกการใช้ BBCode ในแต่ละข้อความได้ในแบบฟอร์มกรอกข้อความ. BBCode มีรูปแบบคล้ายๆกับภาษา HTML

25. Df คำสั่ง df ของระบบ Unix,Linux เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์ แสดง partition พร้อมขนาดที่ใช้ไป
รูบแบบการใช้งาน : df [option] [file]
ตัวอย่าง : df [Enter]

26. Printf ให้ผลลัพธ์ออกทางหน้าจอ หรือ Standard Output อื่นๆ
รับค่าตัวแรกเป็นข้อความที่จัดรูปแบบการแสดงผล และรับรายการของข้อมูลที่ต้องการแสดงผลถัดไป. รูปแบบการแสดงผลจะถูกระบุโดยเครื่องหมาย % ตามด้วยอักษรแสดงรูปแบบ. ในกรณีนี้ %d ระบุว่าเราจะพิมพ์ตัวเลขฐานสิบ

27. Df คำสั่ง df ของระบบ Unix,Linux เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์ แสดง partition พร้อมขนาดที่ใช้ไป
รูบแบบการใช้งาน : df [option] [file]
ตัวอย่าง : df [Enter]

28. Printenv คำสั่งนี้จะแสดงค่าตัวแปลสภาพ แวดล้อม.
ตัวอย่าง : เซ็ตค่าตัวแปรสภาพแวดล้อม. จะใช้คำสั่ง ‘setenv’

29. Pg เป็นคำสั่งใช้แสดง content ของไฟล์ ทั้งหมดทีละจอภาพ ถ้าต้องการแสดงหน้า ถัดไป ต้องกด แป้น enter;
รูปแบบ : pg filename

30. Quota เป็นคำสั่งตรวจสอบการใช้เนื้อที่
การใช้งาน : quota [-v] [username]
ตัวอย่าง : $ quota -v

31. rlogin ใช้เพื่อเปิดการเชื่อมต่อ ด้วย rlogin. rsh. ใช้เพื่อ execute คำสั่งแบบ Remote (การใช้คำสั่งทำงานบน Host อื่นแบบ Remote)




Thursday, November 13, 2008

การใช้โปรแกรม VMware และ Adobe Captivate 3.0



การสร้างคอมพิวเตอร์จำลองขึ้นใหม่

- การสร้างคอมพิวเตอร์จำลองขึ้นด้วยโปรแกรม VMware จะเริ่มจากการใช้เมาส์คลิ้กที่ไอคอน New Virtual Machine จากนั้นดำเนินการตามคำแนะนำใน VMware Virtual Machine ที่ปรากฏขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 Select the Application Configuration จะเป็นการเลือกลักษณะการจัดทำ Virtual Machine ซึ่งมี 3 แบบ คือ
- Typical หมายถึง ให้โปรแกรมกำหนดค่าต่างๆ ให้
- Customer หมายถึง เราต้องการกำหนดองค์ประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์จำลองด้วยตนเอง
- VMware Guest OS Kit หมายถึง ให้โปรแกรมดำเนินการกำหนดค่าต่างๆ ไปพร้อมกับการติดตั้งระบบปฏิบัติการลงในคอมพิวเตอร์จำลองที่เราสร้างขึ้น
สำหรับขั้นตอนนี้แนะนำให้เลือกที่ Typical จะสะดวกกว่าแบบอื่นๆ
ขั้นตอนที่ 2 Select a Guest Operating System จะเป็นการเลือกระบบปฏิบัติการ ที่จะใช้กับคอมพิวเตอร์จำลองที่เราสร้างขึ้น โดยเลือกจากดร็อปดาวน์ลิสต์ที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้
ขั้นตอนที่ 3 Name the Virtual Machine เป็นการกำหนดชื่อของคอมพิวเตอร์จำลองที่เราสร้างขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปเราจะใช้ชื่อที่โปรแกรมกำหนดไว้ให้เลย
ขั้นตอนที่ 4 Select a Network Connection เป็นขั้นตอนในการกำหนดวิธีการเชื่อมต่อกับเครือข่าย โดยจะมี 4 ตัวเลือก คือ
- Use bridge Networking ใช้ในกรณีที่เราต้องการเชื่อมต่อกับเครือข่าย โดยใช้ IP address ของคอมพิวเตอร์จำลองเอง
- Use network address translation (NAT) ใช้ในกรณีที่เราต้องเชื่อมต่อกับเครือข่าย โดยใช้ IP address เดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก ที่สร้างคอมพิวเตอร์จำลองขึ้น
- Use host-only network ใช้ในกรณีที่เราต้องการให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแม่ข่าย (server) และคอมพิวเตอร์จำลองที่เราสร้างขึ้นเป็นเครื่องลูกข่าย (client)
- Do not use a network connection ใช้ในกรณีที่เราไม่ต้องการให้คอมพิวเตอร์จำลองที่เราสร้างขึ้นเชื่อมต่อกับเครือข่ายใดๆ
หลังจากที่เราเลือกวิธีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแล้ว เมื่อใช้เมาส์คลิ้กที่ปุ่มคำสั่ง Finish ของ Wizard โปรแกรม VMware จะทำการจัดองค์ประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์จำลองให้เราอัตโนมัติ ซึ่งจะมีรายละเอียดต่างๆ ปรากฏบนหน้าจอของโปรแกรม ดังตัวอย่างในรูปที่ 4





รูปที่ 4 รายละเอียดของคอมพิวเตอร์จำลองที่ถูกสร้างขึ้น

รูปที่ 5 สามารถแก้ไของค์ประกอบต่างๆ เองได้

- สำหรับองค์ประกอบเหล่านี้ เราสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ โดยใช้เมาส์คลิ้กที่ชื่อของคอมพิวเตอร์จำลองที่เราจะแก้ไข แล้วเลือกที่หัวข้อ Settings และ Configuration Editor จากเมนูหลักของ VMware ตามลำดับ โปรแกรมจะเตรียมเอดิเตอร์ให้เราสามารถปรับแต่งค่าต่างๆ ดังตัวอย่างในรูป 5
การติดตั้งระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์จำลองสำหรับการติดตั้งระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์จำลอง ผมจะขออนุญาตนำลีนุกซ์ทะเล 4.0 ซึ่งพัฒนาโดยเนคเทค มาเป็นตัวอย่าง โดยจะเป็นการติดตั้งลีนุกซ์ทะเล 4.0 บนวินโดวส์ 2000 โดยผ่านทางคอมพิวเตอร์จำลองที่ได้จาก VMware for Windows โดยมีวิธีดังนี้



รูปที่ 6 ภาพระหว่างการติดตั้งโอเอสบนคอมพิวเตอร์จำลอง


รูปที่ 7 การใช้งานลีนุกซ์บนวินโดวส์ 2000 ผ่านทางโปรแกรม VMware

เริ่มจากทำการสร้างคอมพิวเตอร์จำลองสำหรับลีนุกซ์ขึ้นบนโปรแกรม VMware
เมื่อดำเนินการเสร็จ นำซีดีชุดติดตั้งลีนุกซ์ทะเล 4.0 ใส่ในเครื่องอ่านของคอมพิวเตอร์ จากนั้นใช้เมาส์คลิ้กเลือกที่ชื่อของคอมพิวเตอร์จำลองสำหรับลีนุกซ์บนโปรแกรม VMware ที่เราเตรียมไว้
ต่อไปก็ใช้เมาส์คลิ้กที่ปุ่มคำสั่ง Power On เพื่อทำการบูตเครื่องคอมพิวเตอร์จำลองที่เราสร้างขึ้น ซึ่งคอมพิวเตอร์จำลองก็จะทำการบูตเครื่องตามลำดับ เหมือนกับตอนที่เราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ พร้อมกับโหลดโปรแกรมดำเนินการติดตั้งของลีนุกซ์ทะเลขึ้นมาทำงาน จากนั้นก็ดำเนินการติดตั้งลีนุกซ์ทะเล 4.0 ตามลำดับที่โปรแกรมกำหนด จนกว่าการติดตั้งจะเสร็จสมบูรณ์


การบูตคอมพิวเตอร์จำลอง
- จากตัวอย่างข้างต้น หลังจากที่ติดตั้งลีนุกซ์ทะเลเสร็จ คอมพิวเตอร์จำลองของเราจะถูก reboot และเข้าสู่ลีนุกซ์ทะเลทันที เนื่องจากว่าบน คอมพิวเตอร์จำลองของเรามีระบบปฏิบัติการเพียงแบบเดียว ส่วนในกรณีที่เราเปิด VMware ขึ้นมาทำงานใหม่ๆ และต้องการบูตคอมพิวเตอร์จำลองที่เราลงระบบปฏิบัติการไว้แล้วขึ้นมาทำงาน ก็เพียงแค่ใช้เมาส์คลิ้กเลือกที่ชื่อของคอมพิวเตอร์จำลองที่ต้องการจะบูต แล้วมาคลิ้กที่ปุ่มคำสั่ง Power On ของแถบเครื่องมือของ VMware ตามลำดับ


การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จำลอง
- การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จำลอง จะมีวิธีการเหมือนกับการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป คือ เราต้องทำการ shutdown ตัวระบบปฏิบัติการก่อน ซึ่งกลไกการทำงานของระบบปฏิบัติการ จะทำการปิดบริการต่างๆ ตามลำดับ ไปจนถึงปิดสวิตช์ไฟฟ้าของคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนสุดท้าย
ในการปิดคอมพิวเตอร์จำลองบนโปรแกรม VMware ไม่ว่าจะเป็นลีนุกซ์หรือวินโดวส์ เราไม่ควรจะปิดที่โปรแกรม VMware โดยตรง เพราะจะทำให้ข้อมูลภายในระบบเสียหายได้
ที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นเพียงการประยุกต์ใช้งาน VMware ในลักษณะหนึ่งเท่านั้น ยังมีการประยุกต์ใช้งานอีกหลายๆ ลักษณะที่ VMware กลายเป็นพระเอก เช่น ถ้าซอฟต์แวร์เฮาส์แห่งหนึ่ง มีคอมพิวเตอร์ 2-3 เครื่อง ที่ไม่ได้ต่อเข้ากันเป็นเครือข่าย แต่ต้องพัฒนาโปรแกรมซึ่งทำงานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้แก่ลูกค้า ในการทดสอบโปรแกรมแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าไม่ใช้ VMware เข้ามาช่วย โดยการใช้ VMware สร้างคอมพิวเตอร์จำลองขึ้นมาหลายๆ ชุด แล้วมองส่วนที่เป็นระบบปฏิบัติการหลักของเครื่องเป็นแม่ข่าย (Host หรือ Server) แล้วใช้คอมพิวเตอร์จำลองเป็นเครื่องลูกข่าย (Client)
เพียงเท่านี้ซอฟต์แวร์เฮาส์ดังกล่าว ก็สามารถทดสอบการทำงานของโปรแกรมที่ลูกค้าสั่ง ทำบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์จริงๆ ได้แล้ว


การจับภาพหน้าจอบน VMware
- ในระหว่างติดตั้งลีนุกซ์ ถ้าต้องจับภาพหน้าจอ สามารถทำได้โดยกดปุ่ม Ctrl + Alt พร้อมกัน จากนั้นใช้เมาส์เลือกที่หัวข้อ File และ Screen Capture จากเมนูของ VMware ตามลำดับ VMware จะทำการจับภาพ แล้วแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์สำหรับใส่ชื่อแฟ้มรูปภาพที่เราจะจัดเก็บบนจอภาพทันที




ที่มา : 1. http://www.arip.co.th/2006/mag_list.php?g3=3&ofsy=2002&ofsm=6&id=CTM&g3s=3&halfmonth=0&mag_no=191&element_id=404959&mag_g=A&g3as=2
2. http://www.arip.co.th/2006/mag_list.php?g3=3&ofsy=2002&ofsm=6&id=CTM&g3s=3&halfmonth=0&mag_no=191&element_id=404959&mag_g=A&g3as=2&g3ass=&g3tmp=&g3col=&mypage=&page=2





Adobe Captivate v 3.0.0.580



การติดตั้ง Adobe Captivate v 3.0.0.580
ขั้นตอนการติดตั้ง
สามารถอ่านได้ที่
http://www.ccat.ac.th/data/Captivate.pdf
การเปิดใช้งานโปรแกรม Adobe Captivate 3.0
- การเรียกใช้งาน Adobe Captivate 3.0
คลิกที่ Start, Programs, Adobe, Adobe Captivate 3
ส่วนประกอบหน้าจอแรกของโปรแกรม Adobe Captivate
- Open a recent project แสดงไฟล์ล่าสุดที่เคยบันทึกไว้ในโปรแกรม เปิดไฟล์ที่เคยบันทึกไว้
- Record new project (สำหรับการเริ่มต้นใช้งานแนะนำให้ใช้งานตรงส่วนนี้) สำหรับสร้าง project
บันทึก movie (จับหน้าจอภาพ)
- Getting started tutorials แนะนำขั้นตอนการสร้าง Project ด้วยโปรแกรม Adobe Captivate เริ่ม
ตั้งแต่การบันทึก การแก ไขตกแต่ง การส่งออก การนำเข้าไฟล์เสียงการสร้างส่วน ตอบโต้ การใส่ลูกเล่นเพื่อ
เพิ่มความน่าสนใจ ตามลำดับ


เริ่มต้นใช้งาน Adobe Captivate 3.0
- เป็นที่ทราบกันแล้วว่าจุดเด่นของโปรแกรม Adobe Captivate 3.0 มีความสามารถในการ สร้าง
Movie ได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มแรกให้คลิกที่ Record or create a new project จะ ปรากฏหน้าต่าง New
project options




Software Simulation หมายถึงว่าจะเป็นการจำลองการจับหน้าจอภาพตามที่เรากระทำโปรแกรมจะ
ทำการเก็บภาพหน้าจอตามที่เรากระทำกับ Mouse หรือกระทำอื่นใดกับจอภาพ ในส่วนที่โปรแกรมให้เรา
เลือกจากรายการที่กำหนด มีหลักการทำงาน ดังนี้
- Application สำหรับการ Capture movie ทั้งหน้าจอภาพ ของโปรแกรมที่เราต้องการจะทำการบันทึกการทำงานของหน้าจอ
- Custom size สำหรับการ Capture movie แบบกำหนดขนาดหน้าจอภาพได้
- Full Screen สำหรับการ Capture movie ทั้งหน้าจอภาพ
- การสร้างผลงานสื่อการเรียนการสอนด้วยโปรแกรม Captivate รวมถึงการสร้าง Movies ควรเริ่มต้นโดย
> วางแผนการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Movie) โดยออกแบบ Storyboards, Scripts หรือใน รูปแบบอื่น
ตั้งค่าเริ่มต้นการใช้งานในการจับจอภาพเคลื่อนไหว (Movie preferences)
> บันทึกภาพเคลื่อนไหว ที่กระทำกับจอภาพ การคลิกกับวัตถุใด ๆ บนจอภาพ โปรแกรมจะ บันทึกไว้ 1 สไลด์ ในการคลิกแต่ละครั้ง หรือจะนำเข้าไฟล์ภาพเคลื่อนไหวก็ได้ เพิ่มข้อความ รูปภาพ เสียง ข้อความเคลื่อนไหว และรายละเอียดส่วนอื่น ๆ แก้ไขปรับปรุง Timeline ทดลองดูภาพเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้น

- กำหนดเงื่อนไขในการสร้าง E-Learning และสร้างสไลด์คำถามใน (เติมคำในช่องว่าง, แบบเหมือน, จับคู่ , ตัวเลือก, ตอบสั้นๆ ,ถูกผิด)
เลือกจัดเก็บรูปแบบในการเผยแพร่ (Publish)
จัดเก็บและเผยแพร่ ในลักษณะไฟล์ฟอร์แมต EXE
จัดเก็บและเผยแพร่ ในลักษณะไฟล์ฟอร์แมต Flash และ เรียกใช้โดย HTML
จัดเก็บและเผยแพร่ ในลักษณะไฟล์ฟอร์แมต zip เพื่อใช้เป็น SCORM
จัดเก็บและเผยแพร่ ในลักษณะไฟล์ฟอร์แมต Word หรือ Handout (คู่มือการใช้งาน)
จัดเก็บและเผยแพร่ ไปบนเว็บไซต์ ด้วย FTP ส่ง Movie โดยใช้ E-mail
- การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Adobe Captivate 3.0 Step by Step
Step 1 คลิกที่ Record or create a new project
Step 2 จะปรากฏหน้าต่าง New movie options ให้คลิกที่ Record or create a new project



เมนูการใช้งาน New Project Options
- Software Simulation ใช้สำหรับจับภาพการเคลื่อนไหวของหน้าจอภาพ แสดงออกมา ในรูปแบบของสถานการณ จำลอง
- Application สำหรับการจับภาพของหน้าต่างที่เปิดใช้งานอยู่ (Active window) Custom size สำหรับการจับภาพหน้าจอที่กำหนดขนาดของขอบเขตได้ Full Screen สำหรับการจับภาพทั้งจอภาพ
- Demonstration หมายถึง โปรแกรมจะจับหน้าจอตามการกระทำที่เกิดขึ้น มีการ เคลื่อนไหวของเมาส์ มีกรอบโต้ตอบกับผู้เรียน
- Assessment Simulation โปรแกรมจะบังคับให้ผู้เรียนกระทำตามที่ได้บันทึกหน้าจอไว้ เช่นถ้ามีการบันทึกการคลิกเมาส์ไว้ เมื่อเล่นมาจนถึงช่วงที่ต้องคลิกเมาส์โปรแกรมจะหยุด เล่นจนกว่าจะมีการคลิกเมาส์และหากคลิกผิดที่จะมีกล่องข้อความขึ้นมาบอกว่าต้องคลิก ที่ใดเมื่อผู้เรียนคลิกเมาส์ถูกต้องโปรแกรมจะเล่นต่อไปจนกว่าจะมีเหตุการณ์ใหม่เกิดขึ้น
- Training Simulation หมายถึงการจับหน้าจอแบบการฝึกอบรม โปรแกรมจะทำการบันทึก หน้าจอทั้งหมด เมื่อมีการเล่นโปรแกรมจะแสดงกล่องข้อความโต้ตอบให้ผู้เรียนทำตาม การบันทึกหน้าจอแบบนี้เหมาะสำหรับสอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งนี้สามารถ บันทึกเสียงบรรยายไปพร้อมกันได้ด้วย
- Custom โปรแกรมจะให้เราเข้าไปกำหนดค่าในการบันทึกได้ด้วยตนเองและสามารถแก้ไข ได้อีกในภายหลัง
- การ Capture movie หน้าจอภาพเป็นการใช้งานที่น่าสนใจมากทีเดียว เพราะสามารถ นำไปใช้เป็นสื่อเรียนรู้แบบมัลติมีเดีย ที่ดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งขั้นตอนการ Capture movie หน้าจอภาพทำได้ดังนี้
1. คลิก Start, Programs, Macromedia, Adobe Captivate
2. คลิก Record or create a new movie จะปรากฏหน้าต่าง New movie options
3. คลิก Full screen เพื่อ Capture movie ovie ทั้งหน้าจอภาพ
4. คลิก OK
Monitor แสดงสถานะจอภาพที่กำลังใช้งาน
Record narration เป็นการบันทึกเสียงบรรยายพร้อมๆ กับการ Screen capture movie
Recording size บอกขนาดการ Capture movie หน้าจอภาพ
Options… เป็นการปรับแต่งเพิ่มเติม ปกติจะใช้ค่าที่โปรแกรมกำหนดมาให้
Record เมื่อกดปุ่มนี้จะเป็นการเริ่มบันทึกการ Capture movie หน้าจอภาพ
5. คลิกปุ่ม Record เพื่อเริ่มบันทึก การ Capture movie หน้าจอภาพ
6. กดปุ่ม บนแป้นพิมพ์เมื่อสิ้นสุดการ Capture
7. ปรากฏสไลด์ Movie (Movie Frame) ซึ่งจำนวนสไลด์จะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่คลิกเมาส์
เช่น หากมีการคลิกเมาส์ 10 ครั้งก็จะได้จำนวนสไลด์เท่ากับ10 สไลด์ หรือ 10 เฟรม สไลด์
Movie (Movie Frame)
8. คลิกปุ่ม Edit เพื่อแก้ไขสไลด์
9. การปรับแต่ง Timeline
ปกติแต่ละสไลด์จะมีค่า Timeline อยู่ที่ 4 วินาที ในรูปข้างล่างจะเป็น Slide 4
(4.0s)สามารถปรับแต่งเพิ่มหรือลดค่า Slide Timeline ได้
- วัตถุที่วางบนสไลด์จะวางเรียงกันเป็นเลเยอร์(Layer) ถ้าต้องการปรับแต่ง Timeline วัตถุใดก็ให้คลิกที่วัตถุนั้นแล้วลากซ้ายขวาคลิกแล้วลากเพื่อปรับแต่ง Timeline โปรแกรมจะสร้างข้อความให้อัตโนมัติ สามารถดับเบิลคลิกเพื่อแก้ไขข้อความได้
10. การแก้ไขข้อความในสไลด์ ปกติโปรแกรมจะสร้างข้อความในสไลด์ให้อัตโนมัติ เราสามารถแก้ไขข้อความได้ โดย ดับเบิลคลิกแล้วแก้ไขข้อความเมื่อต้องการแก้ไขข้อความภายใน Text Caption ให้ดับเบิลคลิกก็จะสามารถแก้ไข
ข้อความได้
11. การลบสไลด์ การลบสไลด์ทำได้โดยคลิกสไลด์ที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่มบนแป้นพิมพ์
12. การเพิ่มสไลด์ จุดประสงค์เพื่อทำสไลด์ไตเติล การเพิ่มสไลด์ทำได้โดยคลิกที่เมนู Insert, Blank Slide หลังจากเพิ่มสไลด์เราก็ สร้าง Text animation เป็นสไลด์ไตเติลก่อนที่จะเข้าเนื้อหา เมื่อได้ Slide แล้วให้นำขึ้นไปเป็นสไลด์แรก แล้วจึงแทรก Text animation
13. การใส่สีพื้นหลังให้กับสไลด์ การใส่สีพื้นหลังให้กับสไลด์ทำได้โดยคลิกที่เมนู Slid, Properties…เลือกสีพื้น หลัง สีพื้นหลังที่เลือก Text animation
14. การดูผลงานสไลด์ Movie การดูสไลด์ Movie ทำได้โดยคลิกที่ปุ่ม Preview เช่นเลือก Preview In Web Browser สไลด์จะโชว์เป็นภาพเคลื่อนไหวตามลำดับสไลด์ เมื่อดูผลงานเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Close แล้วบันทึกไฟล์เก็บไว้ เพื่อแก้ไขใน ภายหลัง
15. การบันทึกไฟล์โปรแกรม Adobe Captivate การบันทึกไฟล์โปรแกรม Adobe Captivate คือการเก็บ ไฟล์ที่เราสร้างไว้ เพื่อประโยชน์สำหรับการแก้ไขในภายหลัง โดยโปรแกรม Adobe Captivate มีนามสกุลไฟล์ *.CP โดยวิธีการบันทึกให้ ไปที่เมนู File, Save หรือคลิกปุ่ม Save บน Main Tools Bar



การสร้างงานด้วย Blank Project
- การสร้าง Blank Project เมื่อตกลงจะได้หน้าใหม่ให้ตั้งค่าต่างดังนี้
> User defined กำหนดขนาดตามความต้องการ เช่น ตัวอย่างเลือกขนาด 800 x 600
> Preset size กำหนดขนาดตามความละเอียด (Resolution) ของจอภาพ
การสร้าง Movie ด้วยวิธีนี้จะอาศัยเครื่องมือที่อยู่ด้านล่างช่วยสร้างเครื่องมือที่สำคัญที่นิยมใช้กัน



การสร้าง Text Animation
- คลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Text Animation ปรากฏหน้าต่าง New text Animation เลือก Text Animation
Effect เลือกรูปแบบการแสดงผลข้อความ
Text พิมพ์ข้อความที่ต้องการ
Change font… เปลี่ยนรูปแบบ ขนาด หรือสีของตัวอักษร
- ค่าของ Options
Timing กำหนดเวลาการแสดงผลของ Movie
Loop คลิกถูกที่ Loop กำหนดให้เล่นวนซ้ำ
Transition กำหนด Effect ในการเปลี่ยนฉากแต่ละสไลด์ (Frame)
- ค่าของ Audio
Record new… กำหนดการบันทึกเสียงจาก
ไมโครโฟน
Import… นำเข้าไฟล์เสียง เช่น MP3, WAV
Settings การกำหนดค่าของเสียงที่บันทึก เลือก
ไมโครโฟน



การสร้าง Caption หรือสร้างหนังสือทั่วไป
- เมื่อสร้างสไลด์ใหม่แล้ว คลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Caption ปรากฏหน้าต่าง New text Caption
Caption type กำหนดลักษณะรูปแบบของ Caption
Font…รูปแบบตัวหนังสือ
ส่วนค่า option และ Audio จะมีลักษณะ
พื้นที่พิมพ์ตัวหนังสือ เหมือนกับ การสร้าง text Animation



การสร้าง Rollover Caption
- เป็นการสร้างหนังสือในรูปแบบที่เมื่อแสดงผลโดยการลากเมาส์ผ่านจุดที่กำหนดจึงจะปรากฏหนังสือออกมาให้เห็น เริ่มสร้างโดยคลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Rollover Caption ปรากฏหน้าต่าง Rollover
Caption
Caption type กำหนดลักษณะรูปแบบของ
Caption
Font…รูปแบบตัวหนังสือ
ส่วนค่า option และ Audio จะมีลักษณะ
เหมือนกับ การสร้าง text Animation
การสร้าางปุุ่มควบคุม
โดยคลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Button ปรากฏหน้าต่าง



การแทรก Text Entry
- Text Entry ใช้แทรกเพื่อทำกิจกรรมในระหว่างเรียนหรือเป็นการทดสอบความสามรถของนักเรียน ซึ่งเป็นการเติมคำในช่องว่าง มีขั้นตอนดังนี้
1. สร้างคำถามด้วย Caption
2. เลือกไอคอน Text Entry บนจอภาพจะเกิดกรอบโต้ตอบใหม่ขึ้นมา
3. เลือกตำแหน่งแล้วปรับ Text Entry ให้เหมาะสม
4. เปลี่ยน Type success text here โดยดับเบิลคลิก แล้วเป็นถูกต้อง
5. เปลี่ยน Type failure text hereโดยดับเบิลคลิก แล้วเป็นผิดให้ตอบใหม่
6. แทรก Bottom ควบคุม
7. จัด Time Line ให้เหมาะสม


การแทรกรูปภาพ (image)
- โดยคลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Image ปรากฏหน้าต่างใหม่ให้เลือกรูปภาพที่จะแทรก เมื่อเลือกรูปภาพแล้วถ้าหากภาพมีขนาดใหญ่จะมีหน้าต่างให้ Crop รูปภาพ .ให้ได้ขนาดพอดีกับพื้นที่ที่กำหนด ถ้าเลือก Resize ze จะทำให้ขนาดของภาพปรับลดขนาดลงให้พอดีกับพื้นที่กำหนด
Image กำหนดขนาดของภาพหรือเปลี่ยนภาพใหม่ จาก Import
Font…รูปแบบตัวหนังสือ
ส่วนค่า option และ Audio จะมีลักษณะ
เหมือนกับ การสร้าง text Animation


การแทรกรูปภาพในลักษณะ Rollover image
- โดยคลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Rollover Image ปรากฏหน้าต่างใหม่ให้เลือกรูปภาพที่จะแทรกเมื่อเลือกรูปภาพแล้วถ้าหากภาพมีขนาดใหญ่จะมีหน้าต่างให้ Crop รูปภาพ .ให้ได้ขนาดพอดีกับพื้นที่ที่กำหนด ถ้าเลือก Resize ze จะทำให้ขนาดของภาพปรับลดขนาดลงให้พอดีกับพื้นที่กำหนด


การทำ Click Box
- Click Box เป็นการทำที่เกี่ยวกับภาพและคำถามที่เกี่ยวข้องกับภาพเพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียนทดลองทำหลังจากที่เรียนผ่านไป โดยการคลิกที่ภาพตามคำถามที่กำหนดให้ มีขั้นตอนในการสร้างดังนี้
1. แทรกรูปภาพที่ต้องการทดสอบความรู้ของนักเรียน ด้วยไอคอน Image
2. แทรกคำถามด้วยไอคอน Caption
3. เลือกไอคอน Click Box บนจอภาพจะเกิดกรอบโต้ตอบ
เลือกเมือกคลิกเมาส์ถ้าไม่อยากให้เปลี่ยนเลือก No Action เลือก OK
4. ปรับตำแหน่งที่ต้องการให้คลิกเมาส์ที่ที่ตำแหน่งที่ถูกต้อง
5. เปลี่ยน Type success text here โดยดับเบิลคลิก แล้วเป็น ถูกต้อง
6. เปลี่ยน Type failure text hereโดยดับเบิลคลิก แล้วเป็น ผิดให้ตอบใหม่
7. แทรก Bottom ควบคุม
8. จัด Time Line ให้เหมาะสม


การแทรกแบบทดสอบ
- คลิกเมนู insert, Slide จะปรากฏหน้าต่าง Question Slide รูปแบบการ Question Slide ชนิดของแบบทดสอบที่โปรแกรมกำหนดให้มีหลายรูปแบบสามารถที่เลือกได้ตามความเหมาะสมในการสร้างบทเรียน เมื่อเลือกแบบทดสอบแล้วให้กดปุ่มสร้างแบบทดสอบ ก็จะได้หน้าต่างใหม่สำหรับสร้าง
- แบบทดสอบดังนี้
ชื่อชุดแบบทดสอบ
คำถามแต่ละข้อ
กำหนดคะแนนในแต่ละข้อ
คำตอบพร้อมเลือกข้อที่ถูก
กำหนดให้ถูกข้อเดียวหรือหลายข้อ
กำหนดให้เป็น A B C หรือ a b c
กำหนดรายละเอียดข้อสอบ
การกำหนดรายละเอียดข้อสอบเพื่อนำออกไปใช้ประโยชน์ต่อไป



การส่งออก (Publish) ไฟล์ *.CP
1. เปิดไฟล์ *.CP ที่เคยสร้างไว้แล้ว
2. คลิกเมนู File, Publish จะปรากฏหน้าต่าง Publish รูปแบบการ Publish
ตัวอย่าางนี้เลือก Publish เป็น Flash (SWF)และ HTML หลังจากที่ Publish ก็จะได้ ไฟล์ 2 ไฟล์ คือ
.SWF กับ .HTML
Flash (SWF) ส่งออกเป็น Flash movie File (.swf) สำหรับใช้งานบนเว็บไซต์ Adobe Connect
Enterprise ส่งออก Online บนอินเทอร์เน็ต
Standalone ส่งออกเป็นไฟล์ *.exe สำหรับสื่อเรียนรู้เปิดดูได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม E-Mail
ส่งออกเป็น E-Mail
Print ส่งออกเป็นใบปลิว (ส่งออกโปรแกรม Microsoft Word) FTP ส่งออกเป็น File Transfer Protocal
Output Options
Zip File ส่งออกเป็นไฟล์ *.ZIP ซึ่งสามารถนำเข้าบทเรียนออนไลน์ใน Moodle ในรูปแบบ Scrom
Full screen ส่งออกแบบเต็มจอภาพ เมื่อเลือกเพิ่ม
Export HTML ส่งออกเป็นไฟล์ *.HTML จะได้ทั้งไฟล์ที่เป็น .SWF กับ .HTML
Generate autorun for CD สร้างระบบ autorun สำหรับแผ่น CD
Flash Version เป็นการเลือกรุ่นของโปรแกรมเล่นไฟล์ Flash
Project Information
โดยเลือก Preferences สำหรับตั้งค่าต่างก่อนที่จะนำออกไป จะปรากฏหน้าต่างใหม่ให้ตั้งค่า Preferences แสดงข้อมูลเกี่ยวกับไฟล์ที่ส่งออก เช่น ขนาดของการแสดงผล (Resolution), จำนวนสไลด์ท้ังหมด (Slides), การใส่เสียงประกอบสไลด์ (Slide with audio) คุณภาพของเสียง (Audio Quality), e-learning Output, แถบควบคุม Movie (Playback Control) Preferences… การกำหนดรูปแบบการส่งออก เพิ่มเติม
Standalone ส่งออกเป็ นไฟล์ *.exe
ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบที่เป็นลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อที่จะให้นักเรียนนักศึกษาสามารถที่จะนำไปศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง มีขั้นตอนการสร้างดังนี้
1. เลือกเครื่องมือ Publish แล้วเลือก Standalone เมื่อทำเสร็จสามารถที่ใช้งานได้เลยโดยเลือกเปิดเล่นจากไฟล์ที่สร้างขึ้นมา
2. ทำเหมือนกันทุกๆ หน่วย หรือที่มีอยู่จนหมดทุกงานเพื่อที่จะสร้างเมนูสำหรับใช้งานให้ได้งานทั้งหมด
3. เลือกเมนู File แล้วทำภาพ
4. จะได้หน้าต่างใหม่ดังภาพแล้วทำตามได้เลย
5. เลือกรูปแบบเมนู
6. สร้างเมนูที่หน้าแรกของงานที่นำเสนอ
7. จะได้หน้าต่างสำหรับตั้งชื่อแผ่นซีดี แล้วก็กด Finish
8. จะได้หน้าต่างสำหรับปรับแต่งเมนูให้เหมาะสม
9. เมื่อปรับแต่งเสร็จให้เลือกเครื่องมือ Export เพื่อนำไปใช้งานจริง
10. เมื่อเกิดหน้าต่างใหม่ขึ้นมาให้ต้ังชื่อและเลือก Folder ที่จะบันทึก แล้วกด Finish
11. จากนั้นให้ทดลองทดสอบว่างานที่ทำเสร็จสามารถใช้งานได้หรือไม่
12. เมื่อตรวจสอบแล้วก็ให้นำงานทั้งหมดใน Folder นั้น เขียนลงในแผ่นซีดีเพื่อนำไปใช้งานจริง



การบันทึกเพื่อนำไปใช้กับ Moodle
- แต่ถ้าต้องการนำเข้าในโปรแกรม Moodle เพื่อสร้างบทเรียนออนไลน์ ในลักษณะที่เป็น Scorm จะต้องเสร็จค่าให้เป็น Scorm ด้วยตามภาพ และเลือก Publish ให้ Zip files
เลือก SCORM
เลือกการให้คะแนน
เลือกบีบไฟล์
คลิก publish
เมื่อกำหนดค่าหมดแล้ว ก็กด Publish โปรแกรมจะทำการบันทึกไฟล์ตามรูปแบบที่กำหนด
เมื่อ Publish เสร็จสามารถที่ดูงานที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ได้โดยกดปุ่ม View Output งานที่เสร็จนั้นก็
จะแสดงผลให้ดูได้เลย


การนำบทเรียนที่สำเร็จใช้ร่วมกับ โปรแกรม Moodle เพื่อเป็ น E_learning
- สามารถที่จะทำได้โดยเปิดบทเรียน E_learning ที่สร้างไว้ก่อนแล้วได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. เปิด Internet Explorer หรือตัวไหนก็ได้ที่สามารถเข้าอินเตอร์เน็ตได้
2. เลือกรายวิชาที่จะสร้างบทเรียนแล้วเข้าสู่ระบบในฐานะผู้ที่สามารถแก้ไขงานได้
3. เข้ารายวิชาแล้วให้เริ่มแก้ไขงาน
4. เลือกเพิ่มแหล่งข้อมูล เลือกแบบลิงค์ไฟล์หรือเว็บไซด์
5. จะมีหน้าต่างใหม่ให้เลือก
ชื่อหัวข้อที่จะให้เรียน
ถ้าไม่มีไฟล์ให้อัพโหลดไฟล์ที่สร้างเสร็จเข้า
เลือกไฟล์หรือ url ที่ต้องการ
6. เลือกหรืออัพโหลดไฟล์ เพื่อนำไฟล์ที่สร้างเสร็จแล้วเข้ามาใช้งาน
7. จะได้หน้าต่างใหม่ให้เลือกไฟล์เข้ามาได้
8. เมื่อเลือกอัพโหลดไฟล์นี้จะได้หน้าให้เลือกไฟล์
9. จะกลับมาที่หน้าให้บันทึกการเปลี่ยนแปลง
10. เมื่อบันทึกเสร็จก็สามารถที่จะแสดงผลงานผ่านหน้าเว็บไซด์ได้เลยโดยคลิกที่ชื่อของงาน
เมื่อเสร็จแล้วสามารถที่จะเพิ่มบทเรียนอื่นในทำนองเดียวกัน แต่ถ้าหากบทเรียนมีบททดสอบด้วย
ให้ใช้วิธีนำเข้าโดยการเพิ่มกิจกรรมแล้วเลือก Scrom :ขั้นตอนการนำเข้าคล้ายๆ กัน

ที่มา : http://www.ccat.ac.th/data/Captivate.pdf

Tuesday, November 4, 2008

VMware คืออะไร

- สำหรับการดำเนินงานของภาครัฐ เพื่อก้าวไปสู่การเป็น e-Government ที่มีการดำเนินงานและการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ และมีความรวดเร็ว เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วยงานในทุกระดับควรมีการพัฒนาเทคนิค สร้างเสริมความรู้ประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาพัฒนาระบบต่างๆให้สามารถรองรับการให้บริการที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป หัวข้อ IT Trip ของ GITS Newsletter ฉบับนี้ จะขอแนะนำโปรแกรมที่ชื่อว่า VMWare ซึ่งคิดว่าหลายๆ ท่านอาจจะคุ้นเคยกันดี แต่สำหรับอีกหลายๆท่านก็อาจจะไม่ทราบว่าโปรแกรม VMWare นี้คืออะไร มีประโยชน์กับผู้ใช้ระบบ IT อย่างเราๆ อย่างไรบ้าง เรามาทำความรู้จักกับมันซักหน่อยดีกว่าครับ เผื่อท่านอาจจะได้ไอเดียอะไรดีดีในการใช้โปรแกรมนี้ เพื่อนำไปพัฒนาระบบหรือพัฒนาตัวเองต่อไป




รูปที่ 1 เว็บไซต์ของ VMWare http://www.vmware.com/

VMware คืออะไร ?
- โปรแกรม VMWare เป็นโปรแกรมที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อสร้างคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ขึ้นบนระบบปฏิบัติการเดิมที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่นในรูปที่ 2 เป็นรูปที่แสดงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลงระบบปฏิบัติการ Windows XP อยู่เดิม แล้วทำการลงระบบปฏิบัติการ Windows NT ผ่านโปรแกรม VMWare อีกทีหนึ่ง ซึ่งเมื่อลงแล้ว ทั้งสองระบบสามารถทำงานพร้อมกันได้โดยแยกจากกันค่อนข้างเด็ดขาด (เสมือนเป็นคนละเครื่อง) โดยคอมพิวเตอร์เสมือนที่สร้างขึ้นมานั้น จะมีสภาพแวดล้อมเหมือนกับคอมพิวเตอร์จริงๆ เครื่องหนึ่ง ซึ่งจะประกอบด้วย พื้นที่ดิสก์ที่ใช้ร่วมกับพื้นที่ดิสก์ของเครื่องนั้นๆ การ์ดแสดงผล การ์ดเน็ตเวิร์ก พื้นที่หน่วยความจำซึ่งจะแบ่งการทำงานมาจากหน่วยความจำของเครื่องนั้นๆ เช่นกัน


รูปที่ 2 แสดงการใช้ระบบปฏิบัติการ Windows NT บน Windows XP


- ปัจจุบันโปรแกรม VMware มีเวอร์ชันทั้งสำหรับการทำงานบน Windows และ Linux หากเครื่องท่านเป็น Windows ก็สามารถลองเวอร์ชันสำหรับ Windows ได้ โดยท่านสามารถเข้าไปโหลดโปรแกรมมาทดลองใช้งานได้ที่ URL http://www.vmware.com แล้วเลือกที่ download และทำการดาวน์โหลด VMWare Workstation ซึ่งจะมีเวลาให้ทดลองใช้งานอยู่ที่ 30 วัน
หรือ http://www.softpedia.com/get/System/OS-Enhancements/VMware-Workstation.shtml
Serial for VMware Workstation 6 v6.0.0 Build 45731
S/N: 93WKE-YP98L-480FZ-4WEQ3


> คุณสมบัติขั้นต่ำของเครื่องคอมพิวเตอร์
- CPU ความเร็วไม่ต่ำกว่า 500 MHz
- หน่วยความจำขั้นต่ำ 256 MB
- การ์ดแสดงผลแบบ 16 บิต หรือ 32 บิต
- พื้นที่ดิสก์ในการลงโปรแกรม 80 MB สำหรับเวอร์ชัน Linux และ 150 MB
สำหรับ Windows
- พื้นที่ดิสก์ขนาดไม่ต่ำกว่า 1 GB ต่อการลงระบบปฎิบัติการ 1 ระบบ

- สำหรับข้อจำกัดของการทำงานบน VMware ก็คือ VMware จะสร้างสภาพแวดล้อมของฮาร์ดแวร์ต่างๆ ซึ่งเป็นของตัวโปรแกรม VMware เอง ดังนั้นการใช้ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์หลักและคอมพิวเตอร์เสมือนจะไม่เหมือนกัน จึงไม่สามารถที่จะติดตั้งไดรเวอร์ของฮาร์ดแวร์จริงๆ ให้กับคอมพิวเตอร์เสมือนที่ลงผ่านโปรแกรม VMware ได้
ขอบอกไว้ก่อนนิดนึงสำหรับการใช้โปรแกรมนี้ว่า โปรแกรมจะแบ่งหน่วยความจำของเครื่องหลักไปใช้ด้วย หากหน่วยความจำของเครื่องมีขนาดไม่มากเพียงพอ ก็อาจทำให้เครื่องทำงานช้าลงมาก ดังนั้นหากมีหน่วยความจำเยอะหน่อย การทำงานของโปรแกรมนี้ก็จะดีขึ้นเยอะ สุดท้ายนี้ก็อยากให้ทุกท่านได้ลองโหลดกันมาลองเล่นดู รับรองว่าทั้งมือใหม่มือเก่าจะทึ่งถึงความสามารถของโปรแกรมนี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมอีกมากมายของโปแกรมนี้ สามารถอ่านได้ที่ http://www.vmware.com/ หวังว่าท่านจะได้ไอเดียดีดีจากการใช้โปรแกรมนี้ไปไม่มากก็น้อย

- VMware จะทำการสร้าง คอมพิวเตอร์ขึ้นมาอีก 1 เครื่อง โดยใช้ทรัพย์กรของ pc ของเราเอง คือมันจะทำการแบ่งเอา HD,Ram CPU ของเราไป สร้างเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ เราจะเห็นว่ามันทำงานอยู่บนเครื่องเรา เราสามารถสั่งให้มัน boot เครื่อง เข้าไป setup bios แล้วก็สั่ง boot ที่ cdrom แล้วลง windows,linux,bsd,unix ซ้อนเข้าไปได้ในเครื่องเรา น้องสั่งเกตุผลงานง่ายๆอย่างเช่น หนังสือสอนการลง linux เขาก็จะทำการใช้ vmware ให้มันทำการ boot แผ่น cd linux ที่เครื่องเราแล้วก็ setup linux แล้วคนทำหนนังสือก็จะ capture หน้าต่างๆในการลงโปรแกรม เอามาให้เรา อันนี้ก็เป็นประโยชน์ ประเด็นการใช้ Vm ware คือ เครื่องเราต้องแรงนิดนึง ram อย่างน้อยต้อง 512-1 G ถึงจะใช้แล้วสบายใจ ประสบการณ์คือเอา notebook ไปนั่ง training linux เอา notebook ไปลง vmware แล้วก็เอา Vmware มาลง linux นั้ง training linux ได้โดยไม่ต้องลบ xp ทิ้ง เมื่อจะเลิกใช้ก็ลบ vmware ทิ้ง ทุกอย่างก็กลับมาเป็น xp เหมือนเดิม vmware ยังสามารถทำให้ os ที่ run อยู่ถายใต้ตัวมันใช้ระบบเครือข่ายได้จริงด้วย

- VMware คือใคร ?
VMware เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1998 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือทำให้ mainframe-class virtual machine technology เป็นมาตรฐานในแวดวง IT โดยเริ่มจาก VMware Workstation ในปี 1999 และเข้าสู่ตลาด server ในปี 2001 ด้วยสินค้าที่เรียกว่า VMware GSX Server และ VMware ESX Server ปัจจุบัน VMware มีผู้ใช้ทั่วโลกกว่า 1,400,000 คนใน 5,000 องค์กร

- VMware Workstation คืออะไร?
VMware Workstation เป็น software ที่มีความสามารถในการทำ Virtual Machine บน Desktop เพื่อให้ท่านสามารถใช้ O/S หลายๆตัวไม่ว่าจะเป็น Microsoft Windows, Linux, และ Novell Netware บนเครื่องเดียวกันและพร้อมๆกันได้

- VMware Workstation นั้นเหมาะสำหรับ
> นักพัฒนา Software และผู้ทำการทดสอบ software ซึ่งสามารถทำการทดสอบและ integration ของ multi-tier-application ไม่ว่าจะทำงานบน O/S เดียวกันหรือต่าง O/S กันบนเครื่องๆเดียวกัน และ VMware สามารถที่จะเก็บ environment เริ่มต้นเพื่อนำกลับมาใช้ได้โดยง่าย
> ผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ legacy application สามารถใช้ VMware Workstation เพื่อให้เครื่อง desktop ของท่านสามารถ run O/S เก่าๆเช่น DOS ในการใช้งาน legacy application ในขณะที่ run O/S ใหม่ๆเพื่อทดสอบความพร้อมในการทำ migration
> สำหรับห้อง demo หรือห้องเรียน ด้วยความสามารถในการเก็บ environment เริ่มต้น VMware workstation ท่านประหยัดเวลาในการเตรียมการเรียนการสอนได้เป็นอย่างมาก
> เพิ่มประสิทธิภาพในการ support ของ help desk หรือ technical service team ด้วยการทำ replication ของ configuration เครื่องที่มีปัญหาเพื่อทำการทดสอบโดยไม่ต้องใช้เครื่องที่ทาง user ต้องใช้งาน

- VMware GSX Server คืออะไร?
VMware GSX Server เป็น Enterprise-class virtual machine software สำหรับธุรกิจที่ใช้ระบบอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ถ้าระบบหยุดทำงาน (business critical environment)VMware GSX Server เหมาะสำหรับ
> การทำ Server Consolidation
> การทำ High Availability
> เตรียมและติดตั้ง server อย่างรวดเร็ว



VMWare มีประโยชน์อย่างไร
1. ใช้จำลองการทำงาน ระหว่าง Client และ Many Server Many OS
2. คุณสามารถลง บน XP หรือ Linux ก็ได้
3. สามารถทดสอบ กับ Client ใน Network หรือ กับ เครื่องเดียวกับ VM server ได้
4. ประหยัดค่าใช้จ่าย


vmware มีลักษณะเป็นอย่างไร (ภาพ)

ลักษณะภาพของ VMWare บนระบบปฎิบัติการเดิม

ที่มา : 1.http://www.gits.net.th/knowledge/newsletter/ittrip/index.asp?MenuID=28&RootMenuID=8&book=6
2.http://www.rmutclub.com/forums/index.php?topic=81.2
3.http://www.sisthai.com/dealersumpan.nsf/0/931daf12132aff6047256e0800324880?OpenDocument


Friday, October 31, 2008

คำสั่งที่ใช้ในระบบปฏิบัติการ UNIX

1. man - ใช้สำหรับดูวิธีการในงานคำสั่งต่างๆ เปรียบเสมือนคำสั่ง Help ใน Dos จะช่วยให้ทราบรายละเอียดการใช้คำสั่งแต่ละคำสั่ง เช่น man finger
2. alias - ใช้กำหนดชื่อเสมือนให้กับคำสั่ง
3. cal - ใช้ในการแสดงปฏิทินออกมา
4. clear - ใช้ในการลบข้อความบนหน้าจอทิ้ง
5. cmp - เปรียบเทียบไฟล 2 ไฟล์
6. cat - ใช้ในการ view ไฟล์ คำสั่งนี้เหมือนคำสั่ง type ใน Dos คือใช้ดูข้อมูลข้างในไฟล์
7. cut - ใช้ตัด Text หรือข้อความ
8. date - แสดงวันเวลา
9. diff - ใช้เปรียบเทียบไฟล์ 2 ไฟล์ ว่ามีความคล้ายหรือต่างกันอย่างไร
10. echo - พิมพ์ข้อความ แสดงข้อความออกทาง standard output
11. exit - ออกจากยูนิกซ์
12. expr - ใช้คำนวณขั้นพื้นฐานได้ ประมวลคำจากสูตรคณิตศาสตร์
13. find - ใช้ในการค้นหาไฟล์หรือไดเรคเทอรี
14. finger - ตรวจสอบผู้ใช้งาน
15. grep - ใช้ในการค้นหาข้อความในไฟล์
16. head - จะแสดงส่วนหัวของแฟ้มข้อมูล ตามจำนวนบรรทัดที่ต้องการ
17. more - คำสั่งที่ช่วยให้สามารถดูข้อมูลที่มีขนาดยาวได้เป็นช่วงๆ
18. less - ใช้สำหรับดูข้อมูลในไฟล์ทีละหน้าจอ
19. passwd - เปลี่ยนรหัสผ่าน คนทำงานปัจจุบัน
20. sort - ใช้เพื่อทำการจัดเรียงข้อมูลในแฟ้มตามลำดับ (ทั้งนี้จะถือว่าข้อมูลแต่ละบรรทัดเป็น 1 record และจะใช้ field แรกเป็น key)
21. su - จะเปลี่ยนตนเองเป็น super userเพื่อใช้สิทธิสูงสุดในการบริหารระบบ
22. tail - แสดงส่วนท้ายของแฟ้มข้อมูลตามจำนวนบรรทัดที่ต้องการ
23. touch - สร้างไฟล์ที่ว่างเปล่าหรือปรับเปลี่ยนวันเวลาที่บันทึกลงบนไฟล์
24. w - ใช้แสดงว่าใครใช้งานอยู่ขณะนั้น
25. whoami - แสดงชื่อผู้ใช้เวลาที่ใช้เข้าใช้งานและหมายเลขเครื่อง
26. who - ใช้แสดงว่าใครใช้งานอยู่บ้างขณะนั้น
27. which - คำสั่งเพื่อส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับ
28. wheveis - ค้นหาแฟ้มที่ต้องการว่าอยู่ที่ห้องใดแต่ค้นหาได้เฉพาะที่กำหนดไว้ใน path เท่านั้นหากต้องการค้นหาที่เครื่องต้องใช้คำสั่ง find


Tuesday, October 21, 2008

แหล่งทรัพยากร

1. http://cgi2.cs.rpi.edu/~lallip/perl/fall05/Unix.pdf
[PDF]
Microsoft PowerPoint - Unix.ppt
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
แสดงเป็นแบบ HTMLTo Unix commands. • For those who’ve never used Unix before ... In Windows, a Unix \n (missing the \r) can show up as a ...cgi2.cs.rpi.edu/~lallip/perl/fall05/Unix.pdf - หน้าที่คล้ายกัน

2.
http://kernel.kaist.ac.kr/~jinsoo/course/cs230-2003fall/slides/unix.pdf
[PDF]
Microsoft PowerPoint - 3-unix.ppt
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
แสดงเป็นแบบ HTMLUnix History and Motivation. • Originally developed at AT&T Bell Labs for internal use ... Unix is designed so that users can extend the ...kernel.kaist.ac.kr/~jinsoo/course/cs230-2003fall/slides/unix.pdf - หน้าที่คล้ายกัน

3.
http://fivedots.coe.psu.ac.th/Software.coe/UNIXINTR/UNIX.PPT
รูปแบบไฟล์: Microsoft Powerpoint -
แสดงเป็นแบบ HTMLThe UNIX Operating System (OS) is a large program (mostly coded in C) that .... A Practical Guide to the UNIX System, Mark G. Sobell, Benjamin-Cummings, ...fivedots.coe.psu.ac.th/Software.coe/UNIXINTR/UNIX.PPT - หน้าที่คล้ายกัน

4.
http://snap.nlc.dcccd.edu/reference/intro/unix.ppt
[PPT]
Welcome to Unix
รูปแบบไฟล์: Microsoft Powerpoint -
แสดงเป็นแบบ HTMLis an editor available on all decent Unix systems. Developed at Berkeley. ... the simplest visual editor available on most Unix systems. ...snap.nlc.dcccd.edu/reference/intro/unix.ppt - หน้าที่คล้ายกัน

5.
http://www.engr.pitt.edu/~eng11/spring2008/unix.PDF
[PDF]
Microsoft PowerPoint - unix.ppt
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
แสดงเป็นแบบ HTMLmost PC’s in labs don’t run UNIX but communicate with Pitt’s ... we will learn how to use UNIX in general and how to find help on utilizing ...www.engr.pitt.edu/~eng11/spring2008/unix.PDF - หน้าที่คล้ายกัน

6.
http://www.spu.ac.th/forum/vishakan/unix.pdf
[PDF]
อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติ
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
แสดงเป็นแบบ HTMLtemp: directory. unix.ppt: data. unixbig.ppt: data. vbrun300.dl_: data ..... - rwxr-xr-x. 1 arnan. users 45270 Jan 11 13:01 unix.ppt* ...www.spu.ac.th/forum/vishakan/unix.pdf - หน้าที่คล้ายกัน

7.
http://www.math.umd.edu/~rvbalan/TEACHING/AMSC663Fall2007/UsingmultiprocessinginUNIX.pdf
[PDF]
Microsoft PowerPoint - Using multiprocessing in UNIX.ppt
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
แสดงเป็นแบบ HTMLProcesses in UNIX. UNIX is natively parallel operating system ... In any UNIX shell, “&” will run the command in. background. ...www.math.umd.edu/~rvbalan/TEACHING/AMSC663Fall2007/UsingmultiprocessinginUNIX.pdf - หน้าที่คล้ายกัน

8.
http://www1.cs.columbia.edu/~ji/F02/ir04/04-unix.pdf
[PDF]
Microsoft PowerPoint - 04-unix.ppt
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
แสดงเป็นแบบ HTMLUnix Routing Code. John Ioannidis. AT&T Labs – Research. ji+ir@cs.columbia.edu. Copyright © 2002 by John Ioannidis. All Rights Reserved. ...www1.cs.columbia.edu/~ji/F02/ir04/04-unix.pdf - หน้าที่คล้ายกัน

9.
https://idenet.bth.se/servlet/download/element/35782/F1+An+Introduction+to++UNIX-3.pdf
[PDF]
Microsoft PowerPoint - F1 An Introduction to UNIX.ppt
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
แสดงเป็นแบบ HTMLUNIX leaves home. Also widely known as Version 6, this. is the first to be widely available out side ... AT&T's UNIX System Group (USG) release System III, ...https://idenet.bth.se/servlet/download/element/35782/F1+An+Introduction+to++UNIX-3.pdf - หน้าที่คล้ายกัน

10.
http://www.islink.com/pdf/2007GrowingUpUNIX.pdf
[PDF]
Microsoft PowerPoint - Growing Up UNIX.ppt
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
แสดงเป็นแบบ HTMLPerformance – UNIX servers usually offer more processing. bandwidth. MIXING UNIX AND WINDOWS ... UNIX offers an exciting alternative environment to host ...www.islink.com/pdf/2007GrowingUpUNIX.pdf - หน้าที่คล้ายกัน

11. http://www.ccp.or.th/training/Documents/AllCourses/course-unix+linux.pdf
[PDF]
Microsoft PowerPoint - course-unix+linux.ppt
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
แสดงเป็นแบบ HTMLInvestigating tools to integrate UNIX and. Microsoft Windows .... power of their UNIX/Linux system. Knowledge of UNIX or Linux at the ...www.ccp.or.th/training/Documents/AllCourses/course-unix+linux.pdf - หน้าที่คล้ายกัน

12.
http://courses.cs.vt.edu/~cs3204/fall2005/arthur/slides/Chapter03b%20UNIX_2up.pdf
[PDF]
Microsoft PowerPoint - Chapter03b UNIX.ppt
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
แสดงเป็นแบบ HTMLUNIX Parent and Child Processes. Shared. Program Text. Shared Files ... Process Creation – Unix exec(). Turns LW process into autonomous HW process ...courses.cs.vt.edu/~cs3204/fall2005/arthur/slides/Chapter03b%20UNIX_2up.pdf - หน้าที่คล้ายกัน

13.
http://iccm.gospelcom.net/us/2004/Murdoch_Securing_UNIX.pdf
[PDF]
Microsoft PowerPoint - securing UNIX.ppt
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
แสดงเป็นแบบ HTMLPractical Steps in Securing a UNIX/Linux. System. 6/15/2004. (c) Don Murdoch, all rights reserved. 1. 6/15/2004. (c) 2004 Don Murdoch. 1. practical steps in ...iccm.gospelcom.net/us/2004/Murdoch_Securing_UNIX.pdf - หน้าที่คล้ายกัน

14.
https://idenet.bth.se/servlet/download/element/35783/F2+A+System+Overview+Of+UNIX-3.pdf
[PDF]
Microsoft PowerPoint - F2 A System Overview Of UNIX.ppt
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat -
แสดงเป็นแบบ HTMLUNIX Architecture. Kernel. System Cal s. Library routines. Shel. Applications .... UNIX maintains three values for a process. – Clock time ...https://idenet.bth.se/servlet/download/element/35783/F2+A+System+Overview+Of+UNIX-3.pdf - หน้าที่คล้ายกัน

15.
http://fivedots.coe.psu.ac.th/Software.coe/LAB/UNIX/UNIXOLD.DOC
[DOC]
การทดลองที่ 2S A04
รูปแบบไฟล์: Microsoft Word -
แสดงเป็นแบบ HTMLหมายเหตุ ให้นักศึกษาส่งเฉพาะคำตอบจากทุกคำถามในการทดลอง ไม่ต้องส่งรายงาน. ผู้ ควบคุม Lab อ. ธัชชัย เอ้งฉ้วน. File : Unix.doc. UNIX.fivedots.coe.psu.ac.th/Software.coe/LAB/UNIX/UNIXOLD.DOC - หน้าที่คล้ายกัน

16.
http://eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1219120134-Unix.doc
[DOC]
Unix
รูปแบบไฟล์: Microsoft Word -
แสดงเป็นแบบ HTMLยูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T ...eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1219120134-Unix.doc - หน้าที่คล้ายกัน

17.
http://www.thaisocial.net/~document/manual/Basic_Unix-ModifyShell-FormatFail.doc
[DOC]
ประวัติความเป็นมาของยูนิกซ์
รูปแบบไฟล์: Microsoft Word -
แสดงเป็นแบบ HTMLจากรูปที่ 3-11 จากตัวอย่างนี้เป็นการสร้างไดเรคทอรีใหม่ ชื่อ unix ภายใต้ไดเรคทอรี ..... unix.doc จากนั้นลากไปวางไว้ทางฝั่ง Remote Host ดังรูปที่ ก-6 ...www.thaisocial.net/~document/manual/Basic_Unix-ModifyShell-FormatFail.doc - หน้าที่คล้ายกัน

18. http://www.compsci.buu.ac.th/~krisana/310222/exercise/lab-01.doc
[DOC]
ปฏิบัติการที่ ๑ เรื่องการใช้งานระบบปฏิบัติการ Unix
รูปแบบไฟล์: Microsoft Word -
แสดงเป็นแบบ HTMLการการเข้าใช้งานระบบปฏิบัติการ Unix สามารถใช้โปรแกรม SSh Secure Shell Client ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ...www.compsci.buu.ac.th/~krisana/310222/exercise/lab-01.doc - หน้าที่คล้ายกัน

19.
http://takasila.coe.psu.ac.th/~s4910110348/download/¡ÒÃãªé§Ò¹¤ÓÊÑè§%20UNIX%20àº×éͧµé¹.doc
[DOC]
การใช้งานคำสั่ง UNIX เบื้องต้น
รูปแบบไฟล์: Microsoft Word -
แสดงเป็นแบบ HTMLBourne Shell (sh) เป็น starndard shell ที่มีใใน unix ทุกตัวสามารถย้าย shell script ไปยัง unix ระบบอื่นได้โครงสร้างเป็นแบบ Algol สามารถใช้งาน Procedure ได้ ...takasila.coe.psu.ac.th/.../%A1%D2%C3%E3%AA%E9%A7%D2%B9%A4%D3... - หน้าที่คล้ายกัน

20.
http://www.redrival.com/kumsirihome/dos_unix_linux/unit14.DOC
[DOC]
ระบบปฏิบัติการ unix & Linun
รูปแบบไฟล์: Microsoft Word -
แสดงเป็นแบบ HTMLเนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่คล้ายกับ UNIXนอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการระบบย่อย อีกด้วยหลายระบบที่ใกล้เคียงกันกับ UNIXไม่ว่าจะเป็นAIX, BSD,1BSD,HP-UX,MINX ...www.redrival.com/kumsirihome/dos_unix_linux/unit14.DOC - หน้าที่คล้ายกัน

21.
http://202.183.233.73/smcsdown/2550-1/SECURITY/Final/สารพัน%20UNIX%20ตอน%20SA%20กับการรักษาความปลอดà¸
[DOC]
สารพัน UNIX ตอน SA กับการรักษาความปลอดภัยข้อมูล
รูปแบบไฟล์: Microsoft Word -
แสดงเป็นแบบ HTMLสารพัน UNIX ตอน SA กับการรักษาความปลอดภัยข้อมูล. ระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ ผู้ใช้งานหลาย ๆ คนพร้อมกัน เช่น ยูนิกซ์ หรือระบบใดก็ตาม ...202.183.233.73/smcsdown/2550-1/SECURITY/.../สารพัน%20UNIX%20ตอน%20SA%20กับการรักษาคว... - หน้าที่คล้ายกัน

ตอบคำถามความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ UNIX



1. ความเป็นมาของ UNIX

- บริษัท AT&T ร่วมมือกับ AIT พัฒนาระบบ MULTICS ขึ้นมาในช่วงปี 1960
- MULTICS ทำท่าว่าจะไปไม่รอด AT&T จึงถอนตัวออกจากโครงการ
- นักพัฒนาของ AT&T จึงได้นำความรู้และปัญหาจากโครงการ MULTIC
- พัฒนาระบบใหม่แล้วสร้างเป็นระบบปฏิบัติการขึ้นมา และใช้ชื่อว่า UNIX
- ในช่วงแรก UNIX ยังถูกใช้งานกับเครื่อง PDP-7 และ PDP-11 ของ AT&T เท่านั้น
- ในช่วงปี 1973 UNIX ถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยใช้ภาษา C ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของ UNIX เพราะ
- ทำให้ UNIX สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องหลายชนิด
- แก้ไขระบบได้ง่ายกว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆ ที่เขียนด้วยภาษา Assembly
- ราคาถูกลง
- AT&T แจก Code ของ UNIX ไปให้กับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อหวังให้เป็นที่นิยมมากขึ้น แต่กลับทำให้เกิด UNIX ตัวใหม่ขึ้นมา เรียกว่า BSD UNIX (Berkeley Software Distribution UNIX) ซึ่งเขียนโดย University of California ที่ Berkeley ระบบ UNIX ตัวนี้แจกฟรี และกลายเป็น UNIX ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางตัวหนึ่งโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย
- เมื่อเครื่อง PC มีความสามารถสูงขึ้นและราคาถูกลงทำให้เกิด UNIX ที่ใช้บน PC ขึ้นมาชื่อว่า XENIX
- ในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ได้มีการพัฒนา X-window ขึ้นมา ทำให้การใช้งาน UNIX เริ่มมี Graphic User Interface - AT&T ได้ทำการพัฒนา UNIX ของตนขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงรุ่น System V Release 4 (SVR4) AT&T ได้รวมข้อกำหนดและมาตรฐานต่างๆ ของ BSD UNIX และ XENIX เข้าไปด้วย ทำให้โปรแกรมที่ออกมาสำหรับ BSD UNIX และ XENIX สามารถนำไปใช้บน SVR4 ได้ ซึ่งส่งผลให้กลุ่มนักพัฒนาและบริษัทอื่นๆวิตกว่า AT&T จะผูกขาดการกำหนดมาตรฐานของ UNIX จึงได้รวมตัว
- ในจัดตั้ง Open Software Foundation (OSF) ขึ้นมาเพื่อวิจัยและกำหนดมาตรฐานต่างๆ ของระบบ UNIX ขึ้นมาป้องกันการผูกขาดของ AT&T


2. คุณสมบัติของ UNIX
- Software Tool โปรแกรมบน UNIX จะแบ่งตัวเองออกเป็นส่วนย่อยๆ และสามารถใช้งานส่วนย่อยเหล่านั้นร่วมกัน ระหว่างหลายๆ โปรแกรมได้
- Portability เนื่องจาก UNIX สามารถนำไปใช้กับเครื่องแบบต่างๆ ได้มากมาย โปรแกรมที่ใช้งานบน UNIX จะสามารถนำไปใช้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน
- Flexibility UNIX มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง สามารถนำไปใช้กับงานเล็กๆ หรืองานใหญ่ๆ ก็ได้
- Power สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ดี และมีความสามารถในด้านต่างๆ มากกว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆ
- Multi-user & multitasking สามารถมีผู้ใช้งานได้ทีละหลายๆคน และทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน
- Elegance หลักการทำงานของส่วนต่างๆ จะเหมือนกัน ดังนั้นเมื่อผู้ใช้ทำงานส่วนหนึ่งได้ ก็จะเรียนรู้และใช้งานส่วนอื่นๆ ได้ง่าย
- Network Orientation UNIX เป็นระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนการใช้งานเครือข่าย โดยเฉพาะเครือข่าย TCP/IP ซึ่งใช้ในระบบ Internet


3. โครงสร้างของ UNIX
- โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ Unix นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับด้วยกัน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ ทุกคนก็คงรู้จักกันแล้วว่ามันคือ อุปกรณ์ที่สามารถจับต้องได้นั่นเอง
2. ยูนิกซ์ เคอเนล จะทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ได้แก่ การจัดสรรทรัพยากร การจัดการกับข้อมูลต่างๆ ซึ่งส่วนประกอบตัวนี้จะขึ้นอยู่กับฮาร์แวร์ หากมีการเปลี่ยนแปลงฮาร์ดแวร์ เคอเนลก็จะเปลี่ยนแปลงด้วยค่ะ
3. เซลล์ เป็นตัวกลางระหว่างคอมพิวเตอร์และผู้ใช้ คือ นำคำสั่งจากผู้ใช้ไปแปลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ เรียกว่า command interpreter เซลล์ที่ใช้งานกันก็มีหลายแบบ แต่ที่เป็นที่นิยม ได้แก่
-->Bourne shell (sh) เป็นเซลล์ต้นแบบของทุกเซลล์
-->C shell (csh) พัฒนาหลังจาก Bourne shell แต่สามารถเก็บข้อมูลคำสั่งที่เคยใช้ได้
-->Korn shell (ksh) เป็นเซลล์ที่นำคุณสมบัติเด่นของ Bourne shell และ C shell มารวมกัน
-->Bourne again shell (bash) มีลักษณะคล้าย Korn shell และสร้างขึ้นมาให้มีการใช้ฟรี ซึ่งระบบปฏิบัติการ Linux ก็นำมาใช้ด้วยเช่นกัน
4. โปรแกรมประยุกต์ โปรแกรมที่ใช้งานเพิ่มเติม


4. Shell ของ UNIX
- Shell (command Interpreter)
> ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับ Kernel
> แปลคำสั่งจากผู้ใช้
> คำสั่งสามารถนำมาเขียนเป็นชุดคำสั่งให้ทำงานเรียกว่า Shell script
> กำหนดทิศทางการเข้าออกของ Input/Output
- shell ที่นิยมใช้
> Bourne Shell มีโครงสร้างคล้ายภาษา ALGOL มีเครื่องหมายเตรียมพร้อมเป็น $
> C Shell เป็นเชลล์ที่มีไวยากรณ์คล้ายภาษา C มีเครื่องหมายเตรียมพร้อมเป็น %
> Korn Shell เป็นเชลล์ที่การทำงานมีลักษณะโต้ตอบ และ Kernel มีขนาดใหญ่กว่าเชลล์อื่น

5. File System และ Directory ของ UNIX

- File System
> เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูล (Hard Disk)
> จัดเก็บในรูปของแฟ้มข้อมูล(Files) และไดเร็กทอรี(Directory)
> จัดเก็บในรูปต้นไม้หัวกลับ
> เรียกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหมือนกับเรียกใช้ไฟล์ข้อมูล
ประเภทของไฟล์
> Regular File(-) เป็นไฟล์ปกติที่สร้างจาก Editor หรือสำเนามาจากไฟล์อื่น โดย
> Directory (d) เป็นไฟล์ที่เก็บไฟล์ต่าง ๆ หรือ directory ใช้สัญลักษณ์ / แทน root directory
> Character device file (c) เป็นไฟล์ชนิดพิเศษ

- Directory หรือ Folder หมายถึง สารบัญ ทำหน้าที่เก็บรายชื่อแฟ้มไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้เรียกใช้ได้ และ Directory ก็ถือเป็นแฟ้มประเภทหนึ่งที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยต่าง ๆ เมื่อแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นหลาย partition แต่ละ partition ก็จะมีระบบ directory ของตนเอง
ปฏิบัติการเกี่ยวกับ Directory
1. Search for a file
2. Create a file
3. Delete a file
4. List a directory แสดงรายชื่อแฟ้มใน 1 directory
5. Rename a file
6. Traverse the file system แสดง หรือเก็บรายชื่อแฟ้มในทุก directory ได้
โครงสร้างไดเรกทรอรี่เชิงตรรก (Logical structure of the directory)
1. Single-level directory
2. Two-level directory
3. Tree-structured directory
4. Acylic-graph directory
5. General graph directory
การตั้งชื่อไฟล์หรือ directory
- จะใช้ตัวอักษรใดในการตั้งชื่อก็ได้ ยกเว้นตัวอักษรต่อไปนี้ & * ( ) ; ‘ “ , < > /
- ตั้งชื่อได้ยาวไม่จำกัด
- ตัวอักษรตัวเล็กหรือตัวใหญ่ถือว่าแตกต่างกัน
- ในเชลล์จะรับคำสั่งรวม Argument หรือชื่อที่สั่งให้ทำงานได้ไม่เกิน 225 ตัว


ที่มา :
1. http://www.compsci.buu.ac.th/~jakkaman/C_Programming/week01(18%20June%2001)/Unix.ppt
2.
http://www.thaiall.com/os/os08.htm