Saturday, November 22, 2008

คำสั่งต่างๆ



คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการไฟล์

1. Is
คำสั่ง Is เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงชื่อไฟล์หรือไดเร็คทอรี่ย่อยต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ไดเร็คทอรี่ปัจจุบันหรือไดเร็คทอรี่ที่ระบุ
รูปแบบ : Is [option] [file_name directory_name]file_name คือ ชื่อไฟล์ที่ต้องการแสดง ในกรณีที่ต้องการระบุชื่อไฟล์directory_name คือ ชื่อไดเร็คทอรี่ที่ต้องการแสดง ในกรณีที่ต้องการระบุชื่อไดเร็คทอรี่ option คือ ทางเลือกอื่นๆ ในการแสดงชื่อไฟล์ ที่สำคัญมีดังนี้

-l คือ การแสดงรายชื่อไฟล์แบบยาว ข้อมูลที่แสดงด้วยทางเลือกนี้จากซ้ายไป ขวา ได้แก่ ชนิดและโหมดของไฟล์ จำนวนลิงค์ ชื่อเจ้าของ ขนาดของไฟล์ วันที่ที่มีการแก้ไขไฟล์ครั้งล่าสุด และชื่อของไฟล์ ซึ่งถ้าไม่ใส่ทางเลือกนี้ แล้ว คำสั่ง Is ก็จะแสดงเฉพาะชื่อของไฟล์ออกมาก
-t แสดงชื่อของไฟล์ โดยเรียงลำดับที่แก้ไขไฟล์ครั้งสุดท้าย โดยจะแสดงชื่อของ ไฟล์ที่ได้รับการแก้ไขหลังสุดก่อน ถ้าไม่ใส่ทางเลือกนี้ Is ก็จะพิมพ์รายชื่อ ของไฟล์เรียงตามลำดับตัวอักษร
-d ใช้ในการบังคับให้แสดงข้อมูลของไดเร็คทอรีที่ระบุไว้ในส่วนของ argument ซึ่ง ถ้าไม่ใช้ทางเลือกนี้แล้ว คำสั่ง Is จะแสดงรายชื่อไฟล์ “ภายใต้” ไดเร็คทอรีที่ ระบุแทน
-a โดยปรกติแล้ว คำสั่ง Is จะไม่แสดงชื่อของไฟล์ที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย “.” ออกมาการใช้ทางเลือกนี้เพื่อที่จะให้แสดงรายชื่อไฟล์ทุกไฟล์ เช่น “.profile”
ตัวอย่าง : การใช้คำสั่ง Is กับ option -l
$ Is –l /usr/acct/dks/book-rw-rw-r- - 1 dks usr 4680 Nov 9 14:51 /usr/acct/dks/book/chapter1-rw-rw-r- - 1 dks usr 3178 Nov 10 12:58 /usr/acct/dks/book/chapter2-rw-rw-r- - 1 dks usr 1685 Nov 10 16:07 /usr/acct/dks/book/chapter3

ตัวอย่าง : การใช้คำสั่ง Is กับ option -l และ -d
$ Is –ld /usr/acct/dks/bookdrwxrwxr-x 2 dks usr 80 Nov 8 12:27 /usr/acct/dks/book


2. Cd คำสั่งChange Directoryของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งCDของDOS)
รูบแบบการใช้งาน : cd [directory]
ตัวอย่าง : cd /etc [Enter]ไปDirectory etc cd ..[Enter] ย้ายไปDirectoryอีก1ชั้น

3. Pwd เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดง Directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับการพิมพ์ cd บน DOS)
มาจากคำว่า print work directory
รูปแบบ : pwd
ตัวอย่าง : การแสดงว่าขณะนี้เราทำงานอยู่ที่ไดเร็คทอรี่ใด

$ pwd
/home/train1

4.File คำสั่งfileบนระบบ DOS/Windows นั้น ประเภทของแฟ้มข้อมูลจะถูกระบุด้วยนามสกุล แต่ใน UNIX จะไม่มีนามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นการหาประเภทของแฟ้มข้อมูลจะดูจาก Context ภายในของแฟ้ม ซึ่งคำสั่ง file จะทำการอ่าน Content และบอกประเภทของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ
รูปแบบคำสั่ง : file [option]... file
ตัวอย่าง : file /bin/shfile report1.doc

5. Mv เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการย้ายแฟ้มข้อมูลและ Directory รวมถึงการเปลี่ยนชื่อด้วย (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า move
รูปแบบคำสั่ง : mv source target
ตัวอย่าง : mv *.tar /backup, mv test.txt old.txt, mv bin oldbin

6. Mkdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า make directory
รูปแบบของคำสั่ง : mkdir mkdir [option] [file]
โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ
-m จะทำการกำหนด Permissioin (ให้ดูคำสั่ง chmod เพิ่มเติม)
-p จะทำการสร้าง Parent Directory ให้ด้วยกรณีที่ยังไม่มีการระบุ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้
ตัวอย่าง : mkdir /home, mkdir -p -m755 ~/้home/user1


7.Rm คำสั่งสำหรับการลบไฟล์
รูปแบบ : rm [option]

option คือทางเลือกที่จะใช้กับคำสั่ง rm โดยจะยกตัวอย่างที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่
-r คือ การสั่งให้ลบไดเร็คทอรี่และไฟล์ภายใต้ไดเร็คทอรี่ (recursive)
-f คือ การสั่งยืนยันการลบ (force) จะไม่ขึ้น prompt ถามยืนยันการลบ
file_name คือ ชื่อไฟล์ที่ต้องการลบ
directory_name คือ ชื่อไดเร็คทอรี่ที่ต้องการลบ
ตัวอย่าง การลบมากกว่า 1 ไฟล์
$ rm oldbills oldnotes badjokes
ตัวอย่าง การลบไดเร็คทอรี่และไฟล์ภายใต้ไดเร็คทอรี่
$ rm -r ./bin
ตัวอย่าง การลบแบบยืนยันการลบ
$ rm –f oldbills oldnotes badjokes

8. Rmdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบ directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า remove directory
โครงสร้างคำสั่ง : rmdir [option] [file]
โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ
-p จะทำการลบ Child และ Parent Directory ตามลำดับ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้

ตัวอย่าง : rmdir /home

9. Chown คำสั่ง Change Owner ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน : chown [ชื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อFile)
ตัวอย่าง : chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็น User1chown -R user1.root dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname.


10. Chgrp คำสั่ง Change Group ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์)
รูปแบบการใช้งาน : chgrp [-chfRv] (Group) (File)
ตัวอย่าง : chgrp root /root/* เปลี่ยน Group ให้กับไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรคทอรี่ /root ให้เป็น Group root



คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการโปรเซส

1. Ps
แสดง Process หรือโปรแกรมที่ประมวลผลอยู่ในระบบขณะนั้น
ช่วยให้ผู้ดูแลระบบ ติดตามได้ว่ามีโปรแกรมอะไรที่ไม่ถูกต้อง run อยู่ หรือโปรแกรมอะไร ที่ผู้ศึกษาลองประมวลผลแล้วค้างอยู่ จะได้ทำการแก้ไง มิฉนั้นระบบก็จะทำงานค้าง เพราะโปรแกรมที่ไม่ควรอยู่ในระบบ กำลังประมวลผลโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะพวก bot จะทำให้ server ล่มง่ายมาก
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
ps :: แสดงชื่อ process ต่าง ๆ ที่ทำงานอยู่อย่างสั้น
ps -ef :: แสดงข้อมูลของ process โดยละเอียด
ps -ax :: แสดงข้อมูลของ process พร้อมชื่อโปรแกรมได้ละเอียด
ps -aux :: แสดงข้อมูลของ process พร้อมชื่อโปรแกรม และชื่อผู้สั่งได้ละเอียดมาก

2. Kill
เมื่อทราบว่า process ใดที่มีปัญหา ก็จะเห็นเลขประจำ process คำสั่ง kill จะสามารถ process ออกจากระบบได้ ช่วยยกเลิก process ที่ไม่ถูกต้องออกจากระบบ ถ้าขณะนั้นผู้ใช้คนหนึ่งกำลังใช้งานอยู่ หาก process หลักของเขาถูก kill จะทำให้ผู้ใช้ท่านนั้น หลุดออกจากระบบทันที (สำหรับคำสั่งนี้จะถูกใช้โดย super user เท่านั้น ผู้ใช้ธรรมดาไม่มีสิทธิ)
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน : kill -9 เลขประจำprocess :: เลขประจำ process จะได้จากการใช้ ps -ef อยู่แล้ว kill -9 1255 :: ลบ process ที่ 1255 ออกจากระบบไป

3. Fg เป็นทางที่สามในการส่ง Signals ให้แก่ process โดยการใช้ kill system call ซึ่งเป็นวิธีในการส่ง signal จาก 1 process ไปยังที่อื่น ๆ โดยสามารถใช้ได้ทั้ง “kill command” หรือ “fg command” ก็ได้ โดยต้องมีการ include signal.h ด้วย จึงจะสามารถใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ ได้เช่น kill เป็นต้น ซึ่ง process จะหยุดการทำงานของตัวเองโดย การส่ง PID ตัวเองไปให้ฟังก์ชัน ใน signal.h จัดการ ดังตัวอย่างการเรียกใช้ฟังก์ชัน kill ในโปรแกรม

4. Bg เป็นโปรเซสทีมีลักษณะการทำงานในฉากหลัง โดยทั่วไปเป็นโปรแกรมที่จะต้องใช้เวลาในการทำงานค่อนข้างนาน และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องติดต่อกับผู้ใช้ เช่น การคอมไพล์โปรแกรม การกำหนดให้คำสั่งหรือโปรเซสใดทำงานในฉากหลังนั้นให้เติมเครื่องหมาย & ที่ท้ายคำสั่งนั้น ๆ

5. Jobs คำสั่ง jobs ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)
รูบแบบการใช้งาน : jobs
ตัวอย่าง : #sleep 20 & jobs



คำสั่งสำรองข้อมูล

1. Tar เป็นคำสั่งเพื่อการ backup และ restore file ทั้งนี้การ tar จะเก็บทั้งโครง สร้าง directory และ file permission ด้วย (เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย หรือแจกจ่ายโปรแกรมบนระบบ UNIX) มาจากคำว่า tape archive
รูปแบบคำสั่ง : tar [option]... [file]...
โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ
-c ทำการสร้างใหม่ (backup)
-t แสดงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแฟ้มที่ backup ไว้
-v ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผล
-f ผลลัพธ์ของมาที่ file
-x ทำการ restore
ตัวอย่าง : tar -xvf data.tar
Tar –cvf backup.tar/home/khajorn เป็นการสร้างไฟล์ Tar จากโฟลเดอร์ Khajorn
Tar –tvf tarfile less แสดงผลออกในรูปแบบคำสั่ง less
Tar –xvf tarfile เป็นการกระจายไฟล์ และไดเรคทรอรี่ในไฟล์ tar ในไดเรคทรอรี่ที่ทำงานอยู่
ถ้าใช้ –czvf แทน –cvf จะสร้างไฟล์ และปิดท้ายด้วย .tgz

2. Gzip : คลายการบีบอัด หรือแตกแฟ้มประเภท .gz : ใช้สำหรับแตกแฟ้มที่ถูกบีบอัด แล้วนามสกุล gz หรือ z แต่ทั่วไปเขาแนะนำให้ใช้ tar สำหรับสกุล .tar.gz
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
gzip -d x.tar.gz :: ใช้แตกแฟ้มที่นามสกุล gz
man gzip :: ใช้ดูว่า gzip ใช้งานอะไรได้บ้าง
gzip -d radius-1.16.1.tar.Z :: ได้แฟ้มนี้จาก
ftp.livingston.com/pub/le/radius/ เป็นระบบรับโทรศัพท์เข้าเครือข่าย
gzip -dc x.tar.Ztar xvf - :: ประหยัดขั้นตอนในการใช้คำสั่ง 2 ครั้ง เพราะคำสั่งชุดนี้จะใช้ทั้ง gzip และ tar กับ x.tar.z ได้ตามลำดับ

3.Gunzip gunzip ของระบบ Unix,Linux (เป็นการบีบอัดไฟล์หรือขยายบีบอัดไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน : gunzip (-cdfhlLnNrtv19 ) [file]
ตัวอย่าง : #gunzip -dvr /home/samba/* คลายการบีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ที่สกุล .gz ในSub /home/samba



คำสั่งเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร

1. telnet : ใช้ติดต่อเข้า server ต่าง ๆ ตาม port ที่ต้องการ แต่ปัจจุบัน server ต่าง ๆ ปิดบริการ telnet แต่เปิด SSH แทน
: user interface to the TELNET protocol
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
telnet 202.202.202.202 :: ขอติดต่อเข้าเครื่อง 202.202.202.202 การไม่กำหนด port คือเข้า port 23
telnet www.school.net.th 21 :: ขอติดต่อผ่าน port 21 ซึ่งเป็น FTP port
telnet mail.loxinfo.co.th 25 :: ตรวจ smtp ว่าตอบสนองกลับมา หรือไม่
telnet class.yonok.ac.th 110 :: ทดสอบ pop service ของ windows server 2003 Microsoft Windows POP3 Service Version 1.0 ready.

2. ftp คำสั่ง ftp ของระบบ Unix,Linux (เป็นโปรแกรมรับ-ส่งไฟล์ )
รูปแบบการใช้งาน : ftp (IP or Name of FTP Server)
ตัวอย่าง : ftp 132.209.1.2 [Enter] Login:anonymous , Password:
Username@YourDomain.com
คำสั่ง ftp จะมีคำสั่งย่อยที่สำคัญๆ ได้แก่
ftp> pwd ดู dir. ที่อยู่
ftp> cd เปลี่ยน dir
ftp> lcd เปลี่ยน local dir
ftp> help ใช้เมื่อต้องการดูคำสั่งที่มีอยู่ในคำสั่ง ftp
ftp> open hostname ใช้เมื่อต้องการ connect ไปยัง host ที่ต้องการ
ftp> close ใช้เมื่อต้องการ disconnect ออกจาก host ที่ใช้งานอยู่
ftp> bye หรือ quit ใช้เมื่อต้องการออกจากคำสั่ง ftp
ftp> ls หรีอ dir ใช้แสดงชื่อไฟล์ที่มีอยู่ใน current directory ของ host นั้น
ftp> get ใช้โอนไฟล์ทีละไฟล์จาก host ปลายทางมายัง localhost หรือเครื่องของเรานั้นเอง
ftp> mget ใช้โอนไฟล์ทีละหลายๆไฟล์จาก host ปลายทางมายัง localhost
ftp> put ใช้โอนไฟล์ทีละไฟล์จาก localhost ไปเก็บยัง host ปลายทาง
ftp> mput ใช้โอนไฟล์ทีละหลายๆไฟล์จาก localhost ไปเก็บยัง host ปลายทาง
ftp> cd ใช้เปลี่ยน directory
ftp> delete และ mdelete ใช้ลบไฟล์

3. lynx : Text browser ที่ใช้งานง่าย ใช้ดู source หรือ download ได้
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
lynx www.thaiall.com :: เพื่อเปิดเว็บ www.thaiall.com แบบ text mode
lynx http://www.yonok.ac.th :: เพื่อเปิดเว็บ www.yonok.ac.th แบบ text mode
lynx -dump http://www.yonok.ac.th :: เพื่อแสดงผลลัพธ์แบบไม่ interactive คือการ view ผลแล้วหยุดทันที
lynx -dump -width=500 http://piology.org/.procmailrc.htmlgrep '^'cut -c3- :: ตัวอย่างการนำไปใช้

4. mesg mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminalmesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้

5. ping : ตรวจสอบ ip ของเครื่องเป้าหมาย และการเชื่อมต่อ internet
: send ICMP ECHO_REQUEST to network hosts
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
ping www.thaiall.com :: ตัวสอบการมีอยู่ของ www.thaiall.com และแสดงเลข IP ของเว็บนี้ping 202.29.78.100 -c 5 :: แสดงผลการทดสอบเพียง 5 บรรทัด
ping 202.29.78.2 :: ผลดังข้างล่างนี้ แสดงว่าไม่พบเครื่องที่มีเลข ip ดังกล่าว
PING 202.29.78.2 (202.29.78.2) from 202.29.78.12 : 56(84) bytes of data.
From 202.29.78.12 icmp_seq=1 Destination Host Unreachable
From 202.29.78.12 icmp_seq=2 Destination Host Unreachable
From 202.29.78.12 icmp_seq=3 Destination Host Unreachable

6. write คำสั่งใช้เพื่อการส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับบนเครื่องเดียวกันเท่านั้น
รูปแบบคำสั่ง : write user [tty] เมื่อมีการพิมพ์คำสั่ง write ผู้ใช้จะเห็นข้อความซึ่งจะแสดงว่าข้อความดังกล่าวถูกส่งมาโดยใคร ซึ่งหากผู้รับต้องการตอบกลับ ก็จะต้องใช้คำสั่ง write เช่นกัน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้พิมพ์ตัวอักษร EOF หรือ กด CTRL+C เพื่อเป็นการ interrupt ทั้งนี้ข้อความที่พิมพ์หลังจาก write จะถูกส่งหลังจากการกด Enter เท่านั้น
ตัวอย่าง : write m2k




คำสั่งอื่นๆ

1. At เป็นคำสั่งตั้งเวลาให้ระบบทำตามคำสั่ง เมื่อทำเสร็จจะส่งเป็น e-mail กลับ มาให้
รูปแบบ : at [-f filename] Time


2. Cpio ย่อจาก Copy in and Out เป็นการแบ็คอัพข้อมูล
รูปแบบการใช้ : Cpio flags [options]
Fc –s [old=new] [command
ตัวอย่างการใช้ :
Cpio –ocv > /dev/fd0
Cpio –icv “*.c” < /dev/fd0


3. Bc คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลขของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน : bc [-lwsqv] [option] [file]
ตัวอย่าง : bc [Enter] 1+2 [Enter] 1^2 [Enter] a=3 [Enter] b=4 [Enter] a*b [Enter] x=2;y=5;x+y[Enter] [Ctrl-d] เพื่อออก
* หมายเหตุ:คำสั่งนี้จะใช้ได้ต้องInstall Packet ลงไปก่อน

4. Basename เป็นคำสั่งสำหรับสกัดเอาชื่อไฟล์โดยตัดส่วนขยายชื่อไฟล์ (file extension) .gif ออก.
เช่นถ้าชื่อไฟล์เป็น a.gif, basename a.gif .gif ก็จะให้ผลเป็น a. และในตัวอย่างเติม .png เข้าไป. นอกจากจะใช้สกัดเอาส่วนที่เป็นชื่อไฟล์ที่ไม่มีส่วนขยายชื่อไฟล์แล้ว, โดยปรกติจะใช้ตัดส่วนที่เป็นไดเรกทอรีที่อยู่หน้าชื่อไฟล์ออกไป. เช่น /usr/bin/perl ถ้าเอาไปเป็นอาร์กิวเมนต์ของคำสั่ง basename ก็จะได้ผลเป็น perl.

5. Last แสดงรายชื่อผู้ใช้งานระบบปัจจุบันไปถึงอดีต ใช้แสดงรายชื่อผู้ login เข้ามาล่าสุด
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
last grep reboot :: ใช้ดูระบบถูก reboot เมื่อใดบ้าง
last more :: ใช้รายชื่อผู้ login เข้ามาในระบบล่าสุดทีละหน้า

6. Crontab ตั้งเวลาสั่งงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
#crontab -l :: แสดงกำหนดการของการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างอัตโนมัติ ตามเวลาที่กำหนด
#cat /etc/crontab :: แสดงตาราง crontab ในเครื่อง

7. Dd เป็นคำสั่งพื้นฐานของลีนุกซ์คำสั่งหนึ่งที่สามารถอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลประเภท Block Device เช่น ดิสก์ต่างๆ แล้วส่งผลลัพธ์ไปเป็นแฟ้มข้อมูล (หรือที่เราเรียกกันว่าไฟล์อิมเมจในเรื่องของการโคลนนิ่งดิสก์) หรืออาจจะทำงานในทางกลับกันก็ได้ เนื่องจากในระหว่างที่อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบ Rescue Mode จะมีคำสั่ง dd นี้ให้ใช้งานได้ เราจึงสามารถนำคำสั่งนี้มาใช้เพื่อการโคลนนิ่งข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ไปเป็นไฟล์อิมเมจได้เช่นเดียวกับการใช้โปรแกรม Norton Ghost


8. Du แสดงการเนื้อที่ใช้งาน ของแต่ละ directory โดยละเอียด ช่วยให้ผู้ดูแลระบบรู้ว่า directory ใด ใช้เนื้อที่ใด หรือใช้ดูรวม ๆ ว่า ผู้ใช้แต่ละคนใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลกันเท่าใด เพราะผู้ใช้ปกติจะใช้กันไม่เยอะ แต่ถ้าตรวจสอบแล้วเยอะผิดปกติ ก็จะเข้าไปดูว่า เยอะเพราะอะไร จะได้แก้ไขได้
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :

du :: เพื่อแสดงรายชื่อ directory และเนื้อที่ที่ใช้ไป
du -all :: เพื่อแสดงโดยละเอียดว่าแต่ละแฟ้มมีขนาดเท่าใด ใน directory ปัจจุบัน
du sort -g :: แสดงการใช้พื้นที่ของแต่ละ directory พร้อม sort จากน้อยไปมาก มีหน่วยเป็น Kb
du -b :: แสดงหน่วยเป็น byte ของแต่ละ directory

9. Dirname ใช้แสดง path ของไดเร็กทอรีที่เราสนใจ

10. Ln (link) เป็นคำสั่งไว้สร้าง link ไปยังที่ ที่ต้องการ คล้ายกับ shortcut ใน windows

11. Env แสดงค่า environment ปัจจุบัน
: run a program in a modified environment
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน :
env
HISTSIZE=1000
SSH_CLIENT=202.29.78.100 1091 22
OLDPWD=/usr/sbin
QTDIR=/usr/lib/qt3-gcc3.2
SSH_TTY=/dev/pts/0
USER=burin
LS_COLORS=no=00:fi=00:di=00;34:ln=00;36:pi=40;33:so=00;35:bd=40;.... :
PATH=/usr/local/bin:/bin:/usr/bin:/usr/X11R6/bin
MAIL=/var/spool/mail/burin
PWD=/etc
INPUTRC=/etc/inputrc
LANG=en_US.UTF-8
HOME=/root
SHLVL=2
LOGNAME=burin
LESSOPEN=/usr/bin/lesspipe.sh %s
G_BROKEN_FILENAMES=1
_=/bin/env

12. Eject เป็นคำสั่งให้นำคำสั่งที่ตามหลังคำสั่ง EJECT ไปขึ้นหน้าใหม่ ทั้งนี้ เพื่อให้แต่ละส่วนของโปรแกรมใหญ่ๆ ขึ้นหน้าใหม่ ส่วนคำสั่ง EJECT จะไม่ปรากฏใน Assembly Listing

13. Exee ที่ใช้ในการแทนค่าตัวแปรแล้วรันคำสั่งแบบพลวัต (dynamicly) บันทึกพฤติกรรมของ exec ไว้

14. Free แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ
โครงสร้างคำสั่ง : free [-b-k-m]
โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ
-b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte
-k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte
-m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte
ตัวอย่าง : free free -b free -k

15. Groups เป็นคำสั่งที่อยู่ภายใต้คำสั่ง sudo บน debian คำสั่ง groups จะสามารถทำให้ทราบได้ว่าเราอยู่ Group ไหน
ตัวอย่าง : $ groups boat
boat : boat dialout cdrom floppy audio video plugdev
ตัวหลัง ':' จะเป็นชื่อ groups แค่นี้เราก็สามารถใช้งาน คำสั่ง sudo ได้

คำสั่ง groupadd ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเพิ่มรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน : groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง : groupadd staff สร้างกลุ่มของ User ชื่อ Staff เพิ่มให้ระบบ

คำสั่ง groupdel ของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน : groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง : groupdel staff ลบกลุ่มของ User ชื่อ Staffออกจากระบบ


16. Hostname คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่
ตัวอย่าง : $ hostname

17. Lp จะใช้บน SystemV
คำสั่งที่เกี่ยวข้องได้แก่
- lpr เป็นการส่งงานพิมพ์จากเครื่องลูกข่าย Lpr /et/passwd
- lpq ดูงานที่พิมพ์
- lprm เป็นการลบงานพิมพ์ออก Lprm 155 หมายเลข 155 คือชื่องานที่พิมพ์
- lpc เป็นการสั่งควบคุมเครื่องพิมพ์

18. Mount คำสั่ง mount ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบ)
รูบแบบการใช้งาน : mount (-t type) DeviceDriver MountPoint
ตัวอย่าง : การ Mount แบบที่1 CdRom mount -t iso9660 /dev/cdrom /mnt/cdromหรือ# mkdir /mnt/cdrom# mount_cd9660 /dev/cd0a /mnt/cdrom#
การ Mount CdRom แบบที่2 mount /dev/cdrom (เมื่อmountแล้วCDจะอยู่ที่ /mnt/CdRom ยกเลิกดูคำสั่ง Unmount)

19. Mt คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User ของระบบ Unix,Linux ... คำสั่งกำหนดคำสั่งย่อ ของระบบ Unix,Linux

20. Nice คำสั่งหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่อง .... ติดต่อ nice หรือ ติดต่อผู้บริหารเว็บไซต์ + Powered by KnowledgeVolution

21. Nohup โดยปกติหากผู้ใช้เรียกใช้งานโปรแกรมใดๆ ก็ตามหาก Process นั้นยังคงทำงานค้างอยู่ แต่ผู้ใช้ Logout จากระบบก่อนที่ Process จะประมวลผลเสร็จ Process ที่ทำงานค้างอยู่นั้นจะถูก kill โดยอัตโนมัติ เพราะระบบจะไม่ยอมให้ Process ทั่วไปทำงานได้โดยไม่มีหน้าจอ ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาวิธีการที่จะ run process ที่มีความทนทานต่อการ hangup หรือสามารถทำงานต่อไปได้แม้ว่าผู้ใช้จะออกจากระบบไปแล้ว ซึ่งเราะจะเรียกการใช้งาน Process ในลักษณะนี้ว่า NOHUP
เมื่อคุณ logout ออกจากระบบ ทุก process ทั้ง foreground และ background จะหยุดทำงานทั้งหมด คุณสามารถใช้คำสั่ง nohup เพื่อให้ process ทำงานใน background เมื่อคุณ logout แล้วได้ โดยใช้คำสั่ง
$ nohup command &
ตัวอย่างเช่น : เมื่อคุณต้องการใช้คำสั่ง tar เพื่อ backup ไดเร็กทอรี ~/doc ไปไว้ที่ floopy disk
โครงสร้างคำสั่ง : nohup COMMAND [ARG]...
ทั้งนี้หากไม่มีการ Redirection ผลลัพธ์แล้ว ผลลัพธ์จะแสดงออกมายังfile ชื่อ "nohup.out"

22. Netstat เป็นคำสั่งที่มีอยู่ทั้งบน Unix และ Windows ใช้เพื่อตรวจดูสถานะทาง TCP และ UDP บนเครื่องของเรา เป็นคำสั่งพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายอีกคำสั่งหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเฝ้ามองระบบได้ตั้งแต่การแสดงสถานะทั่วไป จนถึงการจับตาดูความเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่อง
# netstat -lnt หรือ # netstat -lnu แสดงหมายเลขพอร์ตที่เปิดให้บริการอยู่
# netstat -rn แสดง Kernel routing table
# netstat -rC แสดง routing cached table
# netstat -ac แสดงความเคลื่อนไหวของ connection จากภายนอก
# netstat -s แสดงข้อมูลสถิติแบ่งตาม packet ชนิดต่างๆ
# netstat -i แสดงข้อมูลสถิติแบ่งตาม interface


23. Od แสดงเนื้อหาในไฟล์ไบนารี่

24. Pr คือส่วนหนึ่งของภาษา HTML. คุณสามารถใช้ BBCode ในข้อความที่คุณพิมพ์. และคุณสามารถยกเลิกการใช้ BBCode ในแต่ละข้อความได้ในแบบฟอร์มกรอกข้อความ. BBCode มีรูปแบบคล้ายๆกับภาษา HTML

25. Df คำสั่ง df ของระบบ Unix,Linux เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์ แสดง partition พร้อมขนาดที่ใช้ไป
รูบแบบการใช้งาน : df [option] [file]
ตัวอย่าง : df [Enter]

26. Printf ให้ผลลัพธ์ออกทางหน้าจอ หรือ Standard Output อื่นๆ
รับค่าตัวแรกเป็นข้อความที่จัดรูปแบบการแสดงผล และรับรายการของข้อมูลที่ต้องการแสดงผลถัดไป. รูปแบบการแสดงผลจะถูกระบุโดยเครื่องหมาย % ตามด้วยอักษรแสดงรูปแบบ. ในกรณีนี้ %d ระบุว่าเราจะพิมพ์ตัวเลขฐานสิบ

27. Df คำสั่ง df ของระบบ Unix,Linux เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์ แสดง partition พร้อมขนาดที่ใช้ไป
รูบแบบการใช้งาน : df [option] [file]
ตัวอย่าง : df [Enter]

28. Printenv คำสั่งนี้จะแสดงค่าตัวแปลสภาพ แวดล้อม.
ตัวอย่าง : เซ็ตค่าตัวแปรสภาพแวดล้อม. จะใช้คำสั่ง ‘setenv’

29. Pg เป็นคำสั่งใช้แสดง content ของไฟล์ ทั้งหมดทีละจอภาพ ถ้าต้องการแสดงหน้า ถัดไป ต้องกด แป้น enter;
รูปแบบ : pg filename

30. Quota เป็นคำสั่งตรวจสอบการใช้เนื้อที่
การใช้งาน : quota [-v] [username]
ตัวอย่าง : $ quota -v

31. rlogin ใช้เพื่อเปิดการเชื่อมต่อ ด้วย rlogin. rsh. ใช้เพื่อ execute คำสั่งแบบ Remote (การใช้คำสั่งทำงานบน Host อื่นแบบ Remote)




No comments: